ตำรวจหันใช้สื่อออนไลน์ รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย

ทาง บก.ปอศ. กำลังใช้ความพยายามอีกขั้นเพื่อลดจำนวนการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยสร้างช่องทางแจ้งเบาะแสการใช้งาน ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ในองค์กรธุรกิจ ผ่านสายด่วน เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ โดยตั้งแต่ช่วงต้นปี เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจมากกว่า 50 แห่ง พบหลักฐานยืนยันการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตและใช้สำเนาซอฟต์แวร์ที่ทำขึ้นอย่างผิดกฎหมาย และหลายคดีสืบเนื่องมาจากข้อมูลที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งผ่านสื่อดิจิทัลทั้งสิ้น

ทั้งนี้ตำรวจเริ่มหันมาใช้สื่อดิจิทัล อย่างเว็บไซต์และสังคมออนไลน์เข้ามาช่วยในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงกำลังเพิ่มมากขึ้นโดยข้อมูลได้รับบางครั้งมาจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม แต่มีรายละเอียดเพียงพอเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจเหล่านี้ไม่มีนโยบาย กระบวนการ และขั้นตอนที่จำเป็นที่ทำให้แน่ใจว่าใช้แต่ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเท่านั้น ในบางกรณีผู้บริหารตั้งใจทำผิดโดยการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายด้วย

โดยสื่อสังคมออนไลน์นี้ ช่วยให้ตำรวจสามารถดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจ 4 แห่ง ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น

บริษัทแรกเป็นผู้จำหน่ายวัสดุตกแต่งในห้องน้ำ มีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีรายได้ราว 600 ล้านบาทต่อปี พบซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบนเครื่องคอม 46เครื่อง รวมมูลค่าราว2.5 ล้านบาท บริษัทที่สองให้บริการด้านวิศวกรรมและออกแบบกราฟิก มีรายได้ราว267ล้านบาทต่อปี มูลค่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ที่ราว 3.4ล้านบาท นับจากซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ถูกติดตั้งบนเครื่องคอม35 เครื่อง บริษัทที่สามมีผู้ถือหุ้นชาวไทย ถูกพบว่าใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมูลค่าราว18 ล้านบาท เป็นคดีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในปีนี้ บริษัทสุดท้ายคือบริษัทออกแบบในกรุงเทพฯ พบว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดโดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมูลค่าราว4.5 ล้านบาท
บริษัททั้งหมดนี้ถูกพบว่ามีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 136เครื่อง
การเข้าตรวจค้นในบริษัทดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการตรวจค้นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนสูงถึงหนึ่งพันล้านบาทในจังหวัดฉะเชิงเทราเมื่อเดือนที่แล้ว
“ผู้แจ้งเบาะแสกำลังให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย แก่บก.ปอศ. และเจ้าของลิขสิทธิ์ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้ตรวจพิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปอศ. จะดำเนินการเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจเหล่านั้น องค์กรธุรกิจตระหนักดีว่าการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คือการทำผิด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปีพ.ศ. 2537 อีกทั้งยังก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ แต่องค์กรธุรกิจหลายแห่งยังคงทำผิดกฎหมายโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและใช้สำเนาซอฟต์แวร์ที่ทำขึ้นอย่างผิดกฎหมาย เจ้าของธุรกิจควรตระหนักว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลในปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในองค์กรธุรกิจ เป็นเรื่องง่ายมากสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อเทียบกับวิธีการในอดีตที่ผ่านมา” พ.ต.อ.สรรักษ์ จูสนิท รองผบก.ปอศ. รักษาราชการแทน ผบก.ปอศ. กล่าว

“ตำรวจมีการพัฒนาวิธีการจัดการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลา เราเห็นว่าช่องทางการแจ้งเบาะแสในปัจจุบันสร้างข้อได้เปรียบในการต่อสู้เพื่อป้องปรามการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในองค์กรธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ตำรวจขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือโดยแจ้งเบาะแสเข้ามา ท่านคือส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาหลักนิติธรรมในประเทศไทยและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์” พ.ต.อ.สรรักษ์ กล่าวเพิ่มเติม “มีความเสี่ยงมากมายจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและใช้สำเนาซอฟต์แวร์ที่ทำขึ้นอย่างผิดกฎหมายต่อระบบความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข และเราต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการแจ้งเบาะแส”

หากพบผู้ใช้งาน หรือบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจด้วย สามารถแจ้งเบาะแสผ่านหลายช่องทางเช่น สายด่วน 0-7141010 และ รายงานผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยผู้สามารรถแจ้งเบาะแสแล้วจับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ผู้แจ้งมีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้แจ้งเบาะแสจะถูกปิดไว้เป็นความลับ

ที่มา : ict.in.th

 

 

บก.ปอศ. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ช่องทางแจ้งเบาะแสออนไลน์ ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย องค์กรธุรกิจ เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ การใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาต ใช้สำเนาซอฟต์แวร์ที่ทำขึ้นอย่างผิดกฎหมาย ตำรวจหันใช้สื่อออนไลน์รวบรวมหลักฐาน

Related articles

Extreme History: ATi เคยชนะ NVIDIA ด้วยนะ รู้หรือไม่ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น !!

ตลอดเวลา 20 ปี การ์ดจอ NVIDIA ครองส่วนแบ่งการตลาดการ์ดจอมาโดยตลอด เราเห็นจากกราฟได้เลยว่าค่ายแดง AMD/ATi ไม่สามารถสู้ได้เลย แต่ถ้าย้อนกลับไปช่วงต้นปี...

รีวิวสอบ CompTIA CySA+ เกือบหลับแต่กลับมาได้ พร้อมแชร์แหล่งเรียนรู้ ใครอยากสอบต้องดู

ก่อนหน้านี้ผมเคยสอบ CompTIA Security+ ไปแล้ว (ย้อนอ่านได้ที่ ลิงก์นี้) ด้วยความที่สนใจสาย Blue Team...

การเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองสำหรับ iPhone 16

การใช้งาน iPhone 16 ที่หลากหลาย ทั้งการเดินทางไกล เที่ยวต่างประเทศ วิ่งเทรล เดินป่า หรือใช้งานในออฟฟิศและชีวิตประจำวัน...

ADATA และ XPG ร่วมมือกันขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Unite for Victory รวมใจเพื่อชัยชนะ”

บริษัท ADATA เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำแบรนด์ด้านหน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล พร้อมด้วยแบรนด์เกมมิ่ง XPG ยินดีประกาศการจัดสัมมนาคู่ค้า...

[HOW TO] เช็กก่อนใช้ไฟล์น่าสงสัยติดไวรัส ฟรี! ด้วยเว็บไซต์ Virustotal

เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยประสบพบเจอกับการถูกแฮ็ก Facebook หรืออีเมล โดยมีต้นตอมาจากการโหลดโปรแกรมเถื่อน หรือมีไฟล์ติดไวรัสแถมมาในเครื่อง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเช็กไฟล์นั้นได้ และรู้ด้วยว่าไฟล์ติดไวรัสพวกนั้นทำอันตรายอะไรกับคอมเราได้บ้าง วันนี้แอดมีเว็บไซต์เช็กไฟล์ไวรัสมาแนะนำ นั่นคือ www.virustotal.com...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า