ผู้นำไอทีระบุตรงกัน “หนี้ทางเทคนิค”  เป็นหนึ่งในภัยคุกคามใหญ่สุดต่อการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต

ผลสำรวจล่าสุดของ OutSystems
เผยองค์กรธุรกิจสูญเสียงบไอทีมากถึง 1 ใน 3 กับหนี้ทางเทคนิค
                ประเทศไทย – 17 มิถุนายน 2564 – OutSystems ผู้นำด้านแพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชั่น รายงานว่า 69% ของผู้นำด้านไอทีระบุว่าหนี้ทางเทคนิคจัดเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กร ตามที่ระบุในรายงานล่าสุด “The Growing Threat of Technical Debt.” โดยการระบาดของ COVID-19 เผยให้เห็นถึงช่องโหว่ในองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งผลสำรวจทางด้านอุตสาหกรรมของ OutSystems ชิ้นนี้ แสดงให้เห็นถึงต้นทุนของหนี้ทางเทคนิคที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ในอุตสาหกรรมและภูมิภาคต่าง ๆ
                 นาย เปาโล โรซาโด ประธานบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท OutSystems กล่าวว่า “การผสมผสานของการเขียนโปรแกรมแบบเก่าร่วมกับโมบายล์แอปพลิเคชั่นยุคใหม่, Stack Applications และ SaaS Sprawl ล้วนเป็นการขโมยเวลา ทรัพยากร รวมถึงความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร รายงานฉบับนี้เผยให้เห็นว่าหนี้ทางเทคนิคยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และองค์กรต้องการแนวทางใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างแท้จริง”
ขณะที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ กำลังพยายามฟื้นตัวท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา หนี้ทางเทคนิคกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการฟื้นตัวของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่เน้นในการสร้างการเติบโต โดยหนี้ทางเทคนิคเกิดจากการออกแบบหรือการพัฒนาทางเทคนิคที่หวังให้เกิดประโยชน์ในระยะสั้นแต่สร้างผลกระทบในระยะยาว ในอุตสาหกรรมทั่วไปกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจากการเร่งขั้นตอนการพัฒนาและใช้งานโซลูชั่นให้เร็วที่สุด แทนที่จะเป็นการวางแผนใช้งานอย่างเหมาะสมในอนาคต จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้นำด้านไอที 500 รายทั่วโลก รายงานฉบับนี้ของ OutSystems ได้เน้นย้ำถึงให้เห็นถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่องค์กรต้องเผชิญมีสาเหตุมาจากหนี้ทางเทคนิค รวมถึงความกดดันจากการทำงานให้แล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลา การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างต่อเนื่องและเทคโนโลยีที่ล้าสมัย
สาระสำคัญในรายงานประกอบด้วย:
  • ผู้นำด้านไอทีส่วนใหญ่ (69%) กล่าวว่าหนี้ทางเทคนิคเป็นข้อจำกัดขั้นพื้นฐานของความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ขณะที่ 61% กล่าวว่าหนี้ทางเทคนิคฉุดรั้งประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร และ 64% เห็นด้วยว่าหนี้ทางเทคนิคจะยังคงส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อไปในอนาคต
  • จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสอย่างมหาศาลสำหรับธุรกิจทุกขนาด ในทุกอุตสาหกรรม ทั้งการทุ่มเวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากรอื่น ๆ ไปกับหนี้ทางเทคนิค แทนที่จะนำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยถึงหนึ่งในสามของงบประมาณด้านไอทีเพื่อจัดการกับหนี้ทางเทคนิค และเพิ่มขึ้นถึง 41% ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่
  • ปัญหาหนี้ทางเทคนิคเกิดจากหลายปัจจัย ผู้นำด้านไอทีกล่าวว่าเกิดจากการใช้ภาษาและเฟรมเวิร์คในการพัฒนาที่หลากหลายเกินไป (52%) เกิดจากการเปลี่ยนตัวผู้พัฒนาภายในทีมพัฒนา (49%) และการปล่อยผ่านข้อบกพร่องที่ทราบอยู่แล้วเพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้ทันตามกำหนด(43%)
  • องค์กรต่าง ๆ ยังคงชะลอการจัดการหนี้ทางเทคนิค ซึ่งจะทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น มีเพียง 20% เท่านั้นที่บอกว่าสามารถจัดการปัญหาหนี้ทางเทคนิคได้เป็นอย่างดี และมีเพียง 36% ระบุว่าจะสามารถจัดการหนี้ทางเทคนิคเหล่านี้ได้ในอนาคต
  • โดยภาระหนี้ทางเทคนิคขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จะใช้งบประมาณด้านไอทีประมาณ 41% ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กใช้งบประมาณที่ 27%
               นาย ไอแซค จูเบิร์ต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ JTC Group กล่าวว่า “หนี้ทางเทคนิคอาจมีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผู้บริการทางด้านการเงิน ที่เติบโตจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่เน้นการบริการอย่างรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ เราทำงานร่วมกับ OutSystems มาหลายปีเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำให้บริการธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ามีความคล่องตัว ซึ่งช่วยเราก้าวผ่านความกังวลเกี่ยวกับหนี้ทางเทคนิคและมุ่งเน้นในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยตลอดจนการอัปเดตง่ายดายและรวดเร็ว”
               นาย รุย กอนซาเวส พาร์ทเนอร์ของ KPMG ในโปรตุเกส กล่าวและเสริมว่า “หลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นผลกระทบของหนี้ทางเทคนิคที่มีต่อความสามารถทางธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างความยืดหยุ่นในองค์กร ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและสามารถรักษาความได้เปรียบนี้ได้ ด้วยความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานระหว่าง KPMG และ OutSystems ทำให้เราได้เข้าใจถึงความสามารถและความสำคัญของการพัฒนา Modern Application  สามารถช่วยกำจัดปัญหาหนี้ทางด้านเทคนิค อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถใช้ทรัพยากรไปพัฒนานวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จอย่างมีนัยยะ”
ระเบียบและกระบวนการจัดทำผลวิจัย
ผลการวิจัย “The Growing Threat of Technical Debt” มาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำด้านไอทีทั่วโลกจำนวน 500 ราย ครอบคลุมองค์กร บริษัทและธุรกิจขนาดใหญ่ บริษัทการค้าและธุรกิจขนาดเล็กทั่วโลก ด้วยความร่วมมือกับ Lucid การสำรวจออนไลน์ได้ดำเนินการในเดือนพฤษภาคม 2564 ทั่วทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส อินเดีย บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสิงคโปร์ ผู้ตอบแบบสอบถามครอบคลุมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การเงิน ค้าปลีก การดูแลสุขภาพ การศึกษา การให้บริการทางธุรกิจ รัฐบาลและการบริหารภาครัฐ สื่อและโทรคมนาคม สาธารณูปโภค และอสังหาริมทรัพย์
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากหนี้ทางเทคนิคต่อธุรกิจและผู้นำด้านไอทีทั่วโลกอย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ stoptechdebt.com หรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
онлайн кредит на карту круглосуточно zaymi-bistro.ru займы которые дают абсолютно всем на карту круглосуточно

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า