รีวิว (Review) OPPO R9s กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล f/1.7 ถ่ายสวยทุกสภาวะแสง จอแสดงผล AMOLED 5.5 นิ้ว

กราบสวัสดีเพื่อนๆชาว Extreme pc ทุกๆท่านครับผม รอบนี้ผม ลุงยาม มาพร้อมกับสมาร์ทโฟนจากค่าย oppo ตัวใหม่ของค่าย เป็นอีกรุ่นที่ลงตัวสุดๆ ทั้งขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว เลือกใช้จอ AMOLED ความละเอียด Full HD ที่แสดงผลได้สวยงาม และกล้องหลังที่ถือว่าดีมากๆ ใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX398 ตัวใหม่ล่าสุด ค่ารูรับแสง f/1.7 คมชัดทุกรายละเอียด ถ่ายสวยงามทุกสภาวะแสงจริงๆ  กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ค่ารุรับแสง f/2.0 มาพร้อมกับโหมดถ่ายภาพแบบ Beautify 4.0 ถ้าดูจากสเปคที่ให้มา รอบนี้ทาง oppo จัดเต็มเรื่องการถ่ายภาพทั้งกล้องหน้าและกล้องหลังจริงๆ ภายใต้สโลแกน ‘Now, It’s Clear’ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือ oppo R9s นั้นเองครับ ตัวที่ผมจะรีวิวให้ชมในรอบนี้ เดี๋ยวเราไปดูรายละเอียดต่างๆพร้อมกันเลย

spec oppo R9s

  • หน้าจอ 5.5 นิ้ว Full HD (1080 x 1920 pixels) พร้อมกระจกขอบโค้ง 2.5D Corning Gorilla Glass 5
  • CPU Qualcomm MSM8953  Snapdragon 625 (Cortex-A53) ความเร็วในการประมวลผล 2.0 GHz
  • GPU Adreno 506
  • RAM 4GB
  • OM 64GB รองรับ microSD สูงสุด 256GB และ OTG(USB On-the-Go)
  • Android 6.0.1 Marshmallow ครอบทับด้วย ColorOS 3.0
  • กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ Sony IMX398 f/1.7  เซ็นเซอร์ขนาด 1/2.8″ เลนส์ 6 ชิ้น พร้อมระบบกันสั่นแบบ EIS .ระบบโฟกัสภาพแบบ Dual PDAF ถ่ายภาพวิดีโอความละเอียดสูงสุดระดับ 4K UHD
  • กล้องหน้า 16MP f/2.0  เลนส์ 5 ชิ้น Beautify 4.0
  • สายรับสัญญาณ 6 เส้น (Ultra-Fine Six-String) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับสัญญาณให้ดีขึ้น
  • เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้ว สามารถอ่านลายนิ้วมือ ภายในเวลา 0.2 วินาที
  • ระบบเสียง Dirac
  • แบตเตอรี่ 3010mAh พร้อมเทคโนโลยี VOOC Flash Charge
  • ขนาดตัวเครื่อง 153×74.3×6.58 มม. หนัก 145 กรัม
  • ราคาเปิดตัว 14,990 บาท

แกะกล่องเช็คของ

ตัวกล่องของ oppo R9s จะมาโทนสีขาว ด้านหน้าจะแจ้งชื่อรุ่นไว้ชัดเจน ส่วนด้านหลังจะเป็นสเปคของเครื่องแบบคร่าวๆ ตัวกล่องทำออกมาได้สวยครับ แข็งแรงดี

OPPO R9s

อุปกรณ์ภายในกล่องทั้งหมดจะมีตามนี้ครับ

  1. ตัวเครื่อง oppo R9s
  2. อะแดปเตอร์ชาร์จแบตเตอรี่แบบ VOOC Flash Charge
  3. สาย microUSB รองรับเทคโนโลยี VOOC Flash Charge
  4. หูฟัง
  5. เคสซิลิโคนใส
  6. เข็มจิ้มถาดซิม
  7. คู่มือการใช้งานพร้อมใบรับประกัน

สาย microUSB รองรับเทคโนโลยี VOOC Flash Charge เขี้ยวจะยาวกว่าปกตินิดหน่อยครับ

อะแดปเตอร์ชาร์จแบตเตอรี่แบบ VOOC Flash Charge ชาร์จเพียง 5 นาที คุยได้นานถึง 2 ชั่วโมง

หูฟังแบบสเตอริโอ เสียงอยุ่ในเกณฑ์ดีครับ แต่ผมดันชอบแบบอินเอียร์มากกว่าซะงั้น

เคสซิลิโคนแบบใส แถมมาในกล่องพร้อมใช้งาน

วัสดุและการออกแบบดีไซน์

oppo R9s ถูกออกแบบดีไซน์มาในรูปทรงเพรียวบางเพียง 6.58 มิลลิเมตร หน้าจอ 5.5 นิ้ว กระจกขอบโค้งแบบ 2.5 D Gorilla Glass 5  ด้านหลังจะเป็นโลหะ All Metal Unibody ขึ้นรุปชิ้นเดียว พร้อมเสารับสัญญาณแบบใหม่ 6 เส้น (Ultra-Fine Six-String) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรับสัญญาณ wifi ที่ดีขึ้น

ปุ่มสแกนลายนิ้วมือแบบสัมผัส (Solid-State)ใช้งานได้หลากหลายขึ้น เป็นทั้งปุ่มปลดล็อคหรือปุ่มย้อนกลับก็ได้ ความสามารถในการอ่านลายนิ้วมือ อยุ่ที่ 0.02 วินาที จดจำได้ 5 ลายนิ้วมือ . ปุ่ม Recent Apps และปุ่มย้อนกลับข้างๆ มี Backlight แสดงผล

ด้านบนหน้าจอ ไล่มาจากฝั่งด้านซ้าย จะมีไฟแจ้งเตือน กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.0 ตำแหน่งลำโพงสนทนา และขวาสุดเซ็นเซอร์วัดแสง (ถ้าสังเกตุ จะเห้นว่าหน้าจอของ oppo R9s ได้ติดฟิมล์กันรอยแบบเต็มจอมาให้พร้อมใช้งานแล้วนะครับ และในกล่องก็ยังมีเคสใสมาด้วย แกะกล่องพร้อมใช้งานได้เลย ไม่ต้องกลัวรอยขีดข่วน)

ด้านหลังตัวเครื่องประกอบไปด้วยกล้องหลังความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX398 พร้อมรูรับแสงขนาด f/1.7 และมีไฟแฟลช LED ถัดลงมาจะเป็นแถบเสาสัญญาณแบบใหม่ (Ultra-Fine Six-String) ด้วยขนาดเพียง 0.3 มิลลิเมตร ด้านบนแถบ 3 เส้นและด้านล่างอีก 3 เส้นเช่นกัน รวมเป็น 6 แถบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรับสัญญาณ WiFi ให้ดีขึ้น พร้อมโลโก้ของทางค่ายครับผม

ด้านล่างของตัวเครื่อง ฝั่งซ้ายจะเป็นลำโพงตัวเครื่อง ตรงกลางช่องเชื่อมต่อแบบ microUSB และรูไมค์สนทนา พร้อมช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม.

ฝั่งขวาจะเป็นตำแหน่งปุ่ม power เปิด-ปิดเครื่องหรือล็อกหน้าจอ และช่องใส่ถาดซิม

ถาดซิมแบบ Hybrid Slot เลือกใช้งานแบบ (nanoSIM+nanoSIM) หรือ (nanoSIM+microSD Card) แบบใดแบบหนึ่ง

ด้านบนของตัวเครื่องมีรูไมโครโฟนตัวที่สอง สำหรับตัดเสียงรบกวน

ฝั่งซ้ายจะเป็นตำแหน่งปุ่ม ปรับระดับเสียง

ขนาดตัวเครื่องมือถือใช้งาน ขนาดกำลังดี หยิบจับง่าย

ระบบปฎิบัติการ

oppo R9s มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Android 6.0.1 Marshmallow ครอบทับด้วย ColorOS 3.0 เปิดเครื่องมาครั้งแรก User Interface สดใส สวยงามครับ หรือถ้าใครไม่ชอบก็ยังมีแหล่งโหลดธีมฟรีๆมาให้ใช้งานอีก เมนูทางลัดสำหรับเปิด-ปิดการทำงานต่างๆ  การปรับระดับความสว่างของหน้าจอ หน้ารวมการแจ้งเตือน ก็ยังใช้งานตามพื้นฐาน Marshmallow การแจ้งเตือนแบบตัวเลขบนไอคอน มีแจ้งเตือนนะครับ สำหรับสมาชิกที่กังวลเรื่องการแจ้งเตือน และยังมีโหมดการใช้งานง่ายมาให้ด้วยนะ เผื่อใครต้องการใช้งาน (หน้าจอขณะติดล็อค ถ้าชาร์ทแบตจะขึ้น VOOC แจ้งให้ทราบ)

 

แหล่งโหลดธีมฟรี ธีมสวยๆมีเพรียบแบ่งประเภทให้ง่ายในการเลือกใช้งาน พร้อมภาพพักหน้าจอก้แยกหมวดหมุ่เช่นกัน

ประสิทธิภาพการทำงาน

oppo R9s มาพร้อมกับ CPU Qualcomm MSM8953  Snapdragon 625 (Cortex-A53) ความเร็วในการประมวลผล 2.0 GHz / GPU Adreno 506 เท่าที่ผมใช้งานมาหลายๆค่ายที่เลือกใช้ CPU/GPU ชุดนี้ ข้อดีหลักๆคือประหยัดพลังงานมากๆ แถมใช้งานนานๆตัวเครื่องไม่ร้อนครับ ส่วนการนำไปใช้งานทั่วไป ทั้งเล่นเกมส์และเน้นใช้โซเชียล ผ่านสบายๆครับ ไม่ต้องกังวล

RAM 4 GB เปิดเครื่องรันระบบเสร็จจะเหลือให้ใช้งานราวๆ 2.5 GB

ROM 64 GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 53 GB และยังสามารถเพิ่มหน่วยความจำแบบ micro SD ได้สุงถึง 256GB และรองรับ OTG(USB On-the-Go) ได้อีกด้วย

เซ็นเซอร์ต่างๆที่จำเป็นมีมาให้ใช้งานครบครันเช่นเดิม Distance Sensor / Light Sensor / G-Sensor / E-Compass และ Gyro-Sensor

ทดสอบประสิทธิภาพของการทำงานโดยรวมด้วยแอปพลิเคชัน AnTuTu Benchmark คะแนน 66,619 คะแนน

ทดสอบประสิทธิภาพของการทำงานในด้านต่างๆ ด้วยแอปพลิเคชัน Geekbench 4 / PCMark ผลคะแนนที่ได้จะอยู่ประมาณนี้ครับ

หน้าจอ ขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว AMOLED ความละเอียด 1920×1080 พิกเซล รองรับมัลติทัช 10 จุด การแสดงผลที่สวยงาม มีโหมดถนอมสายตามาให้ใช้งานด้วย

ระบบเสียง ลำโพงตัวเครื่องอยุ่ในเกณฑ์ทั่วไปครับ ไม่ได้เสียงดีมากนัก และก็ไม่ได้แย่จนเกินไป เสียงดังฟังชัด เสียงผ่านหูฟัง มีโหมด Dirac มาให้ใช้งาน มีโหมดการปรับแต่ง EQ มาให้ (ต้องเข้าไปเลือกปรับในเมนูการตั้งค่า/เสียง ไม่สามารถปรับได้โดยตรงผ่านแอ๊พนะครับ) เสียงผ่านหูฟังถือว่าดีมาก และถ้าอยากให้ดียิ่งขึ้น แนะนำเปลี่ยนหุฟัง ตัวที่แถมมาเสียงบางไปนิด

กล้อง

กล้องหน้า กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ 1/3 นิ้ว f/2.0 เลนส์ 5 ชิ้น มาพร้อมกับโหมด Beautify 4.0 ปรับ Beautify ได้ 0-7 ระดับและสามารถถ่ายพาโนรามาจากกล้องหน้าได้ด้วยเช่นกัน

กล้องหลัง กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์ Sony IMX398 f/1.7  เซ็นเซอร์ขนาด 1/2.8″ เลนส์ 6 ชิ้น พร้อมระบบกันสั่นแบบ EIS .ระบบโฟกัสภาพแบบ Dual PDAF ถ่ายภาพวิดีโอความละเอียดสูงสุดระดับ 4K UHD

โหมดถ่ายภาพพิเศษมีทั้งหมด 5 โหมด ได้แก่ Ultra HD / Various Filters / GIF Animation / Double Exposure และ Expert Mode

หน้าตาเมนูการถ่ายภาพทั้งหมด

ภาพถ่ายจากกล้องหลัง oppo R9s

คุณสมบัติพิเศษ

ระบบสแกนนิ้วที่รวดเร็ว ปุ่มแบบสัมผัส (Solid-State)ใช้งานได้หลากหลายขึ้น เป็นทั้งปุ่มปลดล็อคหรือปุ่มย้อนกลับก็ได้ ความสามารถในการอ่านลายนิ้วมือ อยุ่ที่ 0.02 วินาที จดจำได้ 5 ลายนิ้วมือ . ปุ่ม Recent Apps และปุ่มย้อนกลับข้างๆ มี Backlight แสดงผล 

การปรับแต่งตัวอักษร ทั้งขนาด รูปแบบฟร้อน มีมาให้ใช้งานเช่นกัน พร้อมแหล่งโหลดจาก play store

ฟีเจอร์การใช้ท่าทาง และ การเคลื่อนไหว

VOOC Flash Charge ชาร์จเพียง 5 นาที คุยได้นานถึง 2 ชั่วโมง ขนาดแบต 3,010 mAh ใช้เวลาชาร์ท จาก 10-100% ใช้เวลาเพียงราวๆชั่วโมงเศษ ชาร์ทเร็วมากและตัวเครื่องไม่ร้อน การใช้งานทั่วไป ผมใช้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น oppo R9s เอาอยู่สบายเลย แบตถือว่าอึดมากครับ

สรุป

ถ้ากำลังมองหาสมาร์ทโฟนที่เน้นการใช้งานทั้งกล้อง หน้า/หลัง รวมไปถึงจอแสดงผลที่สวยงาม oppo R9s ตอบโจทน์ตรงนี้ได้แน่นอน โดยเฉพาะกล้องหลังถือว่าทำได้ดีมากๆ ถ่ายออกมาสวยแม้แสงน้อย จอแสดงผลที่สวยงามทำให้ตัวเครื่อง่นาใช้งานยิ่งขึ้น แถมแบตที่อึดพร้อมมีระบบชาร์ทเร็วอีก น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีเลยครับ

ข้อดี
  1. กล้องหลัง สวยมาก
  2. จอแสดงผล สวย ทัชลื่น
  3. บอร์ดี้สวยงาม ดูดี มีคลาส
  4. แบตอึดมาก ชาร์ทเร็วมากตามแบบฉบับ oppo
ข้อสังเกตุ
  1. ถาดซิมแบบ Hybrid Slot
  2. ไม่รองรับ 4G+3G พร้อมกันได้ จะเป็น 4+2 แทน (หรือต้องรออัพเดทอีกที)

สุดท้าย ต้องกราบขอบคุณงามๆที่ติดตาม ลุงยาม ครับผม ขอบคุณมากๆ จะพยายามหาสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆมารีวิวให้ชมเรื่อยๆแล้วกัน รอบนี้ขอลาเพียงเท่านี้นะครับ รอบหน้าเจอกันใหม่กับ รีวิว oppo R9s Plus ครับผม … ไปแล้วจ้า บาย

манимен займ онлайн zaymi-bistro.ru займ на киви без привязки карты

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า