“CPU overheating/ซีพียูของคุณร้อนเกินไป?” หาก PC ของคุณอยู่ดีๆก็ปิดไปเอง, กดอะไรก็ไม่ติด, หรือเริ่มมีการไอตอนเล่นเกมส์/กระตุกหรือช้าแบบไม่มีเหตุผล, นี้อาจจะเป็นคำถามแรกเลยที่คุณอาจจะถามกับตัวเอง. สิ่งแรกและง่ายที่สุดสำหรับจะตอบคำถามนี้ได้คือ: หาซอร์ฟแวร์ที่สามารถตรวจหรือแสดงอุณภูมิได้มาติดตั้ง, เช่น HWMonitor, และเปิดมันขึ้นมาระหว่างกำลังเล่นเกมส์. (หากต้องการรู้มากกว่า HWMonitor จงขยับไปหาซอร์ฟแวร์ HWiNFO 64.) และสังเกตุให้ดีๆว่าอุณภูมิน่ะเป็นผู้ร้ายตัวจริงหรือเปล่า.
ตัวต่อไปที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน, ดูว่า CPU socket นั้นกลายเป็นห้องอบซาวน์น่าหรือเปล่า หากใช่: “มันจะทำให้ overheating CPU/ ซีพียูของคุณร้อนไปหรือเปล่า?”
คำตอบที่จะให้คือ – ไม่. เวลาที่คุณใช้คอมแบบปรกติหรือ stock speeds, โดยเฉพาะกับ desktops, ความร้อนของตัว CPU นั้นจะไม่ใช่ปัญหา—หากคืดว่าอุปกรณ์ทุกตัวทำงานอย่างเป็นปรกติ. และหากอุปกรณ์ต่างๆทำงานได้ไม่ดีพอและ CPU ของคุณนั้นเริ่มที่จะอุ่นๆจนร้อน ระบบป้องกันความร้อนหรือ thermal protection ก็จะเริ่มทำงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายให้เกิดขึ้น. Laptops นั้นอีกเรื่องเพราะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่า, เพราะการทำความเย็นให้กับ CPU และ GPU ในเคสที่เล็กกระทัดรัดกว่าแคบกว่านั้นทำได้ยากกว่าตัว desktop. และแน่นอน, ตัวระบบจะเข้ามาดูแลทันทีก่อนที่จะมีอะไรเสียหายเกิดขึ้น, แต่คุณอาจจะประสบกับเหตุการ์ณเช่นประสิทธิภาพการทำงานเริ่มถดถอยหากมันเริ่มถูกย่างไปที่ละช้า.
และหากซีพียูของคุณอยู่ในโหมด stock และอุณภูมิ CPU ของคุณเริ่มแตะ 80°C หรือมากกว่า, นั้นแหละคือการเตือนถึงอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเริ่มทำงานไม่เป็นปรกติ. อาจจะเป็นเพราะพัดลม-เน่าไปแล้ว, หรือสารเคมี/thermal paste ที่ป้ายเอาไว้ไม่ถูกวิธี, หรือตัวตะแกรงความร้อน/heatsink มีฝุ่นหนาเต่อะ. desktop CPUs ทั้วไปมักมีอุณภูมิประมาณ 50-70°C ในขณะทำงานปรกติ, หากอุณภูมิมันแตะที่ 80s และไม่ได้ทำ overclocking, อันนี้แหละที่มีปัญหา.
การทำ Overclocking นั้นผลลัพท์ที่ได้ออกมามีหลายลักษณะ. การฆ่า CPU โดยการทำ overclocking โดยไม่ไปแตะต้องหรือใส่พลังงานเพิ่ม/voltage อันนี้เป็นไปไม่ได้แน่นอน, แต่บางครั้ง ระบบ auto-overclocking ที่มีอยู่ใน motherboard BIOSes บางรุ่นหวังดีใส่พลังงาน/voltage เพิ่มให้เสร็จ. เมื่อใดที่คุณพยายามผลักดัน CPU ให้ทำความเร็ว clock speeds ให้เร็วขึ้น, มันจะน๊อคทุกครั้งเมื่ออุณภูมิสูงเกินไป. แต่หากคุณใส่พลังงานหรือ voltages มากจนเกินไปและผสมเข้าไปในการทำ overclocking, ใช่เลย, คุณกำลังจะฆ่า CPU.
ในทางทฤษฏีแล้ว อุณภูมิที่เกิดจากการทำ Overclocking จะสูงขึ้นจนแตะ 90°C นั้นถือว่ายังปลอดภัยอยู่, และส่วนใหญ่แล้วอุณภูมิที่ CPUs ที่ทนได้มากที่สุดจะตกอยู่ที่ 105-110°C เท่านั้น. แต่หากอยากจะคบหาซีพียูไปนานๆก็ควรจะต่ำกว่า 80°C ในโหมดปรกติและอยากสนุกก็ไม่ควรเลย 85°C ดีที่สุด. อีกด้าน, การที่จะบีบเอาซัก 100-200MHz จากตัว CPU ส่วนใหญ่แล้วต้องการพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นหรือ voltage และสิ่งที่จะได้กลับมาก็แค่ 1-3 เปอร์เซ็นต์ทางด้านประสิทธิภาพที่จะสูงขึ้นมา. และสมมุติว่าประสิทธิภาพทางด้านกราฟฟิกของคุณจะไม่เหมือนคอขวด (แบนวิดซ์ต่ำ) การทำ CPU overclock ไม่ได้เกี่ยวกันเลย.
โชคดีว่าสมัยนี้มีอุปกรณ์มาช่วยทางด้านอุปกรณ์ทำความเย็นเกิดขึ้นมากมาย. ตัวตะแกรงความร้อน/stock heatsink/fan/พัดลมที่ติดมากับเครื่อง อันนี้ดีอยู่แล้วหากการใช้งานแบบปรกติ, อาจจะไม่ค่อยเงียบเท่าไหร่สำหรับใครบางคนที่ต้องการความสงบในการทำงาน. หากเป็นเช่นนั้นความคิดที่จะทำ overclocking ควรเก็บเอาไว้.
หากนึกอยากสนุก, ระบบทำความเย็นด้วยอากาศ/air-cooling ที่มีราคาตั้งแต่ $40-$50 นั้นจะเพียงพอสำหรับการทำ overclocking ให้เสถียรได้(เอาที่ 4.6GHz บน Skylake CPUs). ระบบทำความเย็นด้วยของเหลว/Liquid-cooling (น่าจะไปที่~$100 ) สามารถทำให้อุณภูมิลดลงได้หลายองศา—และอาจจะขยับไปได้อีก 100-200Mhz (4.7-4.8GHz บน Skylake).
หากการทำความสะอาดตัวพัดลมยังไม่ช่วยให้อุณภูมินั้นลดลงได้, ควรคิดถึงสารเคมีหรือ thermal paste ป้ายใหม่เสียเถอะ. ให้คิดถึงครีมป้องกันแดดเป็นตัวอย่าง: หาก CPU ของคุณถูกใช้มาเป็นเวลานานหลายปี, จะมีบางส่วนที่เป็นสารเคมีเหลวๆหนืดๆ/thermal paste เริ่มเสื่อมสภาพลงและอาจจะไม่สื่อความร้อนได้ดีเพราะจากความร้อน.
ที่มาเครดิต
http://www.pcgamer.com/cpu-temperature-overheat/?utm_content=buffer85ed6&utm_medium=social&utm_source=facebook&utm_campaign=buffer-maxpcfb
You must be logged in to post a comment.