การเติบโตของ ‘Digital Life & Commerce’ ต้องการนวัตกรรมมากขึ้นในปีนี้ โดยนายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์

การระบาดใหญ่ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะใช้เพื่อทำงานหรือเพื่อความบันเทิงหรือในเรื่องอื่น ๆ ล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ ซึ่งได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะผู้อยู่ในวงการเทคโนโลยี ข้อมูลจาก Gartner ระบุภายในปี 2567 ราว 65% ของการพัฒนาแอปพลิเคชันจะถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Low-Code และเริ่มเห็นได้ชัดเจนว่าการพัฒนาบริการต่าง ๆ วันนี้นั้นกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ Low-Code
เราเห็นความท้าทายมากมายที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญในปีที่ผ่านมา รวมถึงวิธีการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่ปรากฎมาก่อน โดยธุรกิจจะยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรม Digital Commerce ตามรายงานจาก Google คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2573 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และยังเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ประเทศ
เอาท์ซิสเต็มส์ ผู้นำด้านแพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชั่นระดับโลก เผยแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2565 ที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีทีมไอทีเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญ ดังนี้
• องค์กรธุรกิจจะปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา ทุกวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสามารถดึงดูดนักพัฒนาที่มีความรู้ความสามารถซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยให้เข้าไปทำงานได้มากกว่าบริษัทอื่น ๆ ดังนั้นองค์กรธุรกิจทั่วไปจึงจำเป็นต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันโดยอาศัยบุคลากรที่มีอยู่ และหลาย ๆ องค์กรก็เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับทีมงานฝ่ายพัฒนา เพื่อให้สามารถทุ่มเทเวลาและความพยายามไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ แทนที่จะต้องวุ่นวายกับแง่มุมที่ซ้ำซากจำเจของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเทคโนโลยีที่ว่านี้จะรองรับงานทั่วไปที่สำคัญสำหรับการพัฒนา และมีการอัพเดตอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีคลาวด์รุ่นล่าสุด ทั้งยังสามารถปรับขนาดโดยอัตโนมัติ และใช้ประโยชน์จากคอนเทนเนอร์และ Kubernetes เพื่อให้ทีมงานฝ่ายพัฒนาสามารถนำเสนอสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่นระดับโลก พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น รวมไปถึงงานบำรุงรักษาที่เปล่าประโยชน์ และงานจุกจิกอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt)
• นักพัฒนาจะมีความต้องการระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่ายและไว้ใจได้มากขึ้น
o แม้ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย แต่กลับอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นในการสร้างโปรแกรมที่ปราศจากช่องโหว่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต่าง ๆ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) อย่างกว้างขวางในช่วงปี 2564 แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้กระบวนการพัฒนาช้าลงอย่างมาก ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการเขียนโปรแกรมที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ต้องการให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองมีระดับความปลอดภัยและความสอดคล้องตามกฎระเบียบเทียบเท่ากับ SaaS ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงต้องการเครื่องมือด้านการพัฒนาที่ไว้ใจได้เพื่อรับมือกับช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มการพัฒนาที่รวมความปลอดภัยไว้ภายในสแต็กของเทคโนโลยีแอปพลิเคชั่น และปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
• มุ่งเน้นความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการอยู่ร่วมกัน (Diversity, Equity and Inclusion – DEI) มากขึ้นสำหรับนักพัฒนา
o องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเทคโนโลยี มีการพูดถึงประเด็นเรื่องความหลากหลายตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา และมีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในระดับที่แตกต่างกันไป และในช่วงปี 2565 ผู้บริหารฝ่ายไอทีมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่เป็นนักพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากนักพัฒนามีหน้าที่แก้ไขปัญหาบางอย่างที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ดังนั้นบริษัทจึงต้องตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการสรรหาบุคลากรเพื่อให้มีการรับสมัครและว่าจ้างบุคลากรที่มีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับฝ่ายไอที เอาต์ซิสเต็มส์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาจากชุมชนที่หลากหลายสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยได้ร่วมมือกับหลาย ๆ องค์กร เช่น Women Who Code, Blacks in Technology Foundation และ Australian Computer Society
• ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ DevSecOps ในการกระตุ้นการปรับใช้แพลตฟอร์มพัฒนาแอปพลิเคชั่น
o ข้อกังวลใจหลักสำหรับผู้บริหารที่กำกับดูแลทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะยังคงเป็นเรื่องความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรในการรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เพิ่มมากขึ้น การปราศจากขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับข้อมูลขององค์กร และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเขียนโปรแกรมโดยผู้ใช้งานทั่วไป (Citizen Developer) ส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ถูกคุกคามอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (CISO) และผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIO) จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่บนแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการทุกขั้นตอนของการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชั่นอย่างเป็นระบบ แทนที่จะพึ่งพาการทำงานที่ไม่เป็นระบบของทีมงานต่าง ๆ ซึ่งมีระดับความรู้และทักษะที่แตกต่างกันสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย
• การใช้ DesignOps และระบบตรวจสอบเพิ่มขึ้นสำหรับแอปพลิเคชั่นที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
o ปี 2565 นับเป็นครั้งแรกที่งบประมาณด้านไอทีและการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจะสะท้อนการทำงานในรูปแบบไฮบริด เนื่องจากประสบการณ์ของพนักงานและคู่ค้ามีความสำคัญเทียบเท่ากับประสบการณ์ของลูกค้าสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชั่นในเชิงลึก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้สามารถทำการบูรณาการในระดับที่ลึกขึ้นระหว่างการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการพัฒนาแอปพลิเคชั่นส่วนหน้า (Front End) จึงมีแนวทางใหม่ ๆ สำหรับ DesignOps ซึ่งจะช่วยผลักดันการใช้แอปพลิเคชั่นอย่างแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมไปถึงการรองรับมาตรฐานเปิด เช่น Open Telemetry ซึ่งช่วยให้ทีมงานฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิทัลสามารถยกระดับการใช้งานของผู้ใช้ได้ง่ายดายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
• การจัดการทีมงานฝ่ายพัฒนาที่แยกกระจัดกระจายโดยใช้โมเดิร์นแพลตฟอร์ม
o ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น เช่น การลาออกของพนักงานจำนวนมาก ขณะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ต้องทำงานในลักษณะที่แยกกระจัดกระจายมากขึ้น และมีการหลบเลี่ยงมาตรการควบคุมในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นในการแนะแนว ฝึกสอน กำกับดูแล หรือแม้กระทั่งตรวจสอบคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของทีมงานและพนักงานแต่ละคน ผู้บริหารฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต้องรับมือกับปัญหาท้าทายในเรื่องของความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแลบุคลากรที่ไม่เคยพบปะกันเป็นการส่วนตัว หน่วยงาน ผู้จัดการ และแม้กระทั่งพนักงานในฝ่าย CI/CD จึงต้องการที่จะทำงานบนแพลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทุกแง่มุมและทุกขั้นตอนของการพัฒนาอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่งานที่ทำเสร็จไปจนถึงเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่ถูกนำมาใช้ เนื่องจากฟีเจอร์จำนวนมากเหล่านี้พร้อมใช้งานอยู่แล้วในแพลตฟอร์มการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชั่น ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการพัฒนาแบบเดิม ๆ โดยใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาที่แยกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ซึ่งมักจะประกอบด้วยเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่ไม่เชื่อมต่อกัน และขาดแนวทางการจัดการองค์รวมอย่างรอบด้าน
• การใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟในระดับที่ลึกขึ้นสำหรับระบบงานที่องค์กรพัฒนาเอง
o การตัดสินใจเลือกระหว่าง “สร้างหรือซื้อ” กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่องค์กร “ปล่อยให้ผู้ใช้ซื้อบริการซอฟต์แวร์ SaaS ที่ตนเองต้องการ” ทั้งนี้เพราะการใช้ SaaS เพิ่มมากขึ้นนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณทางด้านธุรกิจแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิคในอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณาการระบบต่าง ๆ หลายร้อยระบบเข้าด้วยกัน ในการฟื้นฟูความคล่องตัวให้กับธุรกิจด้วยระบบที่เหมาะกับงานที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะรองรับการใช้งานของพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า จำเป็นที่จะต้องปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟที่ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม รองรับการใช้งานในลักษณะกระจัดกระจาย และช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นประดับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน
บริการคลาวด์คอมพิวติ้งจากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เมื่อก่อนนี้ประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีการนำเสนอบริการเพียงแค่ 20 บริการเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการ IaaS หนึ่งรายนำเสนอบริการเว็บและบริการที่แปลกใหม่เกือบ 250 บริการเลยทีเดียว ซึ่งสร้างความหนักใจให้กับนักพัฒนาในองค์กรธุรกิจทั่วไปที่จะต้องสร้างแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ ด้วยเหตุนี้ เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายดังกล่าว จึงต้องมีการปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบคลาวด์เนทีฟ และ IDE ที่ใช้เบราว์เซอร์ ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถโฟกัสไปที่การจัดการผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่า แทนที่จะต้องวุ่นวายอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว

Related articles

AIS เผยข้อมูลการใช้งาน สงกรานต์ 67 คึกคัก เย็นฉ่ำทั่วไทย ถนนข้าวหลามครองแชมป์คนใช้งานเน็ตสูงสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติปักหมุดเล่นน้ำยอดโตพุ่ง 38%

AIS เปิดพฤติกรรมการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ของลูกค้าและคนไทย โดยได้จัดเต็มโครงข่าย ทั้งมือถือและเน็ตบ้านสาดสัญญาณฉ่ำตลอดเทศกาล ครอบคลุมโมเมนต์ความสุขทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปีนี้พฤติกรรมการใช้งานของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่ามีการกระจายตัวของการใช้งานในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ...

OPPO เปิดตัวนวัตกรรม AI ที่งาน Google Cloud Next ’24 นำเสนอโมเดล Gemini ของ Google บนโทรศัพท์ AI

l OPPO และ OnePlus ร่วมมือกันเพื่อนำประสบการณ์โทรศัพท์ AI ใหม่มาสู่ผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน l...

โปรแกรมสมนาคุณ Genius ช่วยประหยัดงบได้! Booking.com แชร์เคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณได้รับข้อเสนอสุดพิเศษ ยกระดับการเดินทางให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น

จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เดินทางเพื่อคาดการณ์เทรนด์การเดินทางท่องเที่ยวในปี 2567 ของ Booking.com พบว่าเทรนด์ ‘ขอให้ได้ลุ้น’ หรือ ‘Surrender Seekers’ เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้เดินทางชาวไทยที่ต้องการปล่อยใจไปกับความเซอร์ไพรส์...

ป้องกัน: ร่วมรักษ์โลกด้วยกันกับ “HP Planer Partners โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี”

HP Planer Partners โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี HP Planer Partners หรือ โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี คือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า