ข่าวเพิ่มเติม AMD Ryzen Threadripper 1950X – 3.4 GHz 16 Core CPU และรายละเอียด

หลุดออกมาเพิ่มอีกถึงประสิทธิภาพรุ่นท๊อปสุดของ AMD Ryzen Threadripper processor. ข่าวเรื่องประสิทธิภาพมาด้วยกันหลายแหล่ง-ผลลัพท์มีมาจากทาง AMD ทดลองกันเองก็มีและก็จากทาง ASUS.

เปิดเผยเพิ่มเติมประสิทธิภาพ AMD ชิปรุ่นท๊อปสุด Ryzen Threadripper 1950X 16 Core CPU เทียบกับทาง 10 Core Intel CPU

ผลลัพท์การทดสอบของทั้งสองถูกโพสไว้ที่ SiSoftware และ Geekbench databases. ข้อมูลทั้งสองถูกบันทึกเอาไว้และปรากฏรายชื่อชิปหลายรุ่นด้วยกันและถูกทดสอบโดยกลุ่มสมาชิกในบริษัทเองและผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ก่อนที่จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ. รายชื่อเดียวกันนี้ก็ถูกจับได้/spotted ในเดือนมิถุนายนและเดือนถัดมาเช่นกัน, คาดว่าจะได้เห็นประสิทธิภาพที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นทางด้านไดรฟเวอร์หรือตัวซอร์ฟแวร์ที่จะส่งผลให้ตัวฮาร์ดแวร์ที่กำลังจะเปิดตัวทำงานได้ดียิ่งขึ้น.

ตัวชิปที่ถูกนำทดสอบเป็น AMD Ryzen Threadripper 1950X. มาพร้อมจำนวนแกน 16 cores, 32 threads และทำ base clock ที่ 3.4 GHz. อ้างอิงจากแหล่งข่าวทางด้านสเป็ค, ตัวชิปน่าจะทำความเร็ว boost clocks ที่ 3.6 GHz และเสริมด้วย XFR boost clocks ที่ 3.7 – 3.8 GHz. ตัวชิปมาพร้อม 32 MB ที่เป็น L3 cache และ 8 MB ที่เป็น L2 cache ทั้งหมดก็เป็น 40 MB.

ทดสอบประสิทธิภาพระหว่าง AMD Ryzen Threadripper 1950X vs Intel Core i9-7900X

ในด้านประสิทะิภาพ, Ryzen Threadripper 1950X ทำคะแนนได้ 4074 points ในรูปแบบการทดสอบ single core test. ตามสเป็คเป็นหรือมี 3933 Integer, 3869 Floating point และทำคะแนนได้ 4245 memory benchmark scores. มาดูทางด้านประสิทธิภาพแบบ multi-core performance, ตัวชิปทำคะแนนได้ 26768 points. ตามสเป็คเป็นหรือมี 31567 Integer, 34794 Floating point และทำคะแนนได้ 5206 memory benchmark scores. ตัวเลขที่เห็นแสดงว่านี้คือชิประดับ high-end performance จากสาย Ryzen Threadripper series. หากดูทางด้านคะแนน multi-core scores, จะเห็นได้ว่าดีขึ้นนิดหน่อยสรุปว่ามีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น.

ครั้งที่แล้ว, เรานำเอา Intel Xeon E5-2697A V4 processor มาร่วมขบวนด้วยในการเปรียบเทียบ. ตัวชิปมาพร้อมจำนวนแกน 16 cores, 32 threads และทำ base clock ที่ 2.6 GHz และ boosts ไปถึง 3.6 GHz. จะเห็นได้ว่าตัวชิปไม่สามารถเทียบเคียงในระดับ base clock frequency ได้แต่ตรงส่วนที่ boost clock สามารถมาเคียงบ่าเคียงไหล่ Threadripper ได้. สำหรับ Xeon เพียงตัวเดียวที่มี 16 core chip ทำคะแนนได้ 3651 points ในรุปแบบ single core performance และ 30450 points ในรูปแบบ multi-core performance. จะเห็นได้ว่าหากเป็นแบบ single core คะแนนจะต่ำกว่าหากเทียบกับ 1950X, แต่ในส่วน multi-core ประสิทธิภาพนั้นจะดีขึ้นมาก. (เป็นการเปรียบเทียบแบบไม่ตรงรุ่นหรือน้ำหนักของคู่ชก)

นอกเหนือไปจากนั้น, ตั้งแต่มีการปรากฏตัว 1950X ครั้งล่าสุด, ทาง Intel ก็ได้ปล่อย Core-X series CPUsและครั้งนี้เป็นการนำมาเปรียบเทียบโดยทั้งสองนั้นตรงรุ่นและน้ำหนักในระดับ AMD HEDT processors อีกมุมก็เป็น Intel HEDT เช่นกัน. เรานำเอา Intel Core i9-7900X, ที่มีจำนวนแกน 10 core รุ่นท็อปสุด ณ ปัจจุบันเปรียบเทียบกับ 1950X. Intel Core i9-7900X สามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้ที่ 5000-5300 points ในรูปแบบ single-core และ 32000-34000 points รูปแบบ multi-core performance tests.

ประสิทธิภาพของ AMD Ryzen Threadripper 1950X CPU:

ทั้งสองรูปแบบไม่ว่าจะเป็น single และ multi-core ทำคะแนนได้ดีกว่า Ryzen Threadripper 1950X ซึ่งพกอาวุธมามากกว่าไม่ว่าจำนวนแกนที่มากกว่าถึง 6 cores และ 12 threads ซึ่งทาง Intel นั้นให้มาน้อยกว่ามาก. แต่ดูเหมือนทาง AMD จะยังไม่สุดอาจจะมีการปรับปรุงให้ดีกว่าที่เป็นก็อาจเป็นได้ในส่วนของ multi-core หรือ single core ที่จะมาเทียบกับทาง 10 core Intel CPU. ส่วนทาง Intel ก็คาดว่าจะปล่อยออกมาให้มันแรงขึ้นไปอีกไม่ว่าจะเป็น 12, 14, 16 และ 18 core ในเดือนถัดไปที่จะถึงนี้. Ryzen Threadripper จะปล่อยออกมาประมาณต้นเดือนกรกฏาคมนี้ แต่ดูเหมือนอาจจะต้องสู้กันทางด้านราคาแทนพร้อมต้นทุนที่มากกว่าในด้านจำนวนแกน กับ Intel Core-X processors.

มาดูทางด้าน Geekbench, 1950X ถูกทดสอบในด้าน SiSoftware Arithmetic/ด้านคำนวณและ Multimedia workloads ซึ่งทำคะแนนได้ 434.32 GOPS และ 821.64 Mpix/s. ส่วน Intel Core i9-7900X ทำคะแนนได้ 336.20 GOPS (Arithmetic) และ 1262.68 Mpix/s (Multimedia) points. ซึ่งดูแล้วน่าตื่นเต้นมว๊าก แต่อย่าลืมว่า AMD ชิปทำ overclocked ที่ 3.9-4.0 GHz ความเร็ว clock speeds ระหว่างการทดสอบ.

รวมรุ่นย่อยทั้งหมด AMD Ryzen Threadripper  – มาแน่ช่วงฤดูร้อนที่จะถึงนี้ 2017

นอกเหนือไปจากนั้น, มีข่าวเกี่ยวข้องกับรุ่นย่อยต่างๆของทาง AMD Ryzen Threadripper เรียกว่าครบชุด. ซึ่งรวมแล้วก็มีมาทั้งหมด 9 SKUs ด้วยกัน.  ประกอบไปด้วย 16, 14, 10 core อย่างละสองรุ่นและ 12 core อีกสามรุ่นย่อย.อันนี้ยังไม่ยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่ทางด้านราคาสำหรับ 16 core น่าจะ $800+ US.

ตัวท็อปสุดก็เป็น Ryzen Threadripper 1950X ซึ่งจะมีจำนวนแกนทั้งสิ้น 16 core  ทำ base clock ที่ 3400 MHz และเรท TDP ที่ 155W. สามารถหารายละเอียดได้จากตารางด้านล่างนี้ กล่าวตรงนี้ไว้ก่อนว่ายังไม่ยืนยันออกมาอย่างเป็นทางการ.

ตระกูล AMD Ryzen Threadripper HEDT CPU( คาดว่า):

ที่มาเครดิต/Sources:

http://wccftech.com/amd-ryzen-threadripper-1950x-cpu-performance-benchmarks-leak/

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า