ทีเอ็มฟอรั่มและหัวเว่ย เทคโนโลยี่ เผยเทรนด์ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นในภาคโทรคมนาคม แนะผู้ให้บริการเครือข่ายควรปรับตัวหากต้องการได้ประโยชน์สูงสุด จากการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

(กรุงเทพฯ, 8 เมษายน 2563) –  เมื่อเร็วๆ นี้ ทีเอ็มฟอรั่ม (TM Forum) และหัวเว่ยเทคโนโลยี่ได้จัดงานสัมมนาผ่านทางออนไลน์โดยถ่ายทอดสดทั่วโลก ในหัวข้อ “เผยรายงานสมุดปกขาว – ปลดปล่อยพลังของดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น” เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการดำเนินธุรกิจในสองเรื่องโดยอิงจากโมเดล eTOM ของผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อรองรับเทรนด์ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น ได้แก่ เรื่อง SIP (กลยุทธ์, โครงสร้างพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์) และเรื่องกระบวนการดำเนินงาน OPS (ดึงดูดผู้ใช้รายใหม่และการสร้างรายได้)

ในงานสัมมนาครั้งนี้ นายมาร์ค นิวแมน (Mark Newman) หัวหน้าทีมวิเคราะห์จากทีเอ็มฟอรั่มซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือ             ปกขาวเรื่องทรานสฟอร์เมชั่นและผู้ดำเนินงานสัมมนา พร้อมด้วยนายเจมส์ ครอว์ชอว์ (James Crawshaw) นักวิเคราะห์อาวุโสจากออมเดีย (Omdia) นายอารอน บอสแมน พาเทล (Aaron Boasman-Patel) รองประธานด้านปัญญาประดิษฐ์และประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าจากทีเอ็มฟอรั่ม และนายแดนนี่ แยป ก๊ก ฮอ (Danny Yap Kok Ho) หัวหน้าทีมสถาปนิกด้านโซลูชันจากหัวเว่ย เทคโนโลยี่  ร่วมพูดคุยในประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือปกขาว รวมถึงวิสัยทัศน์จากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในด้านดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น

ทั้งนี้ พวกเขามองว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมส่วนใหญ่รับรู้ถึงประโยชน์ของเทรนด์ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น อยู่แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการปรับกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ให้บริการเครือข่ายยังคงให้ความสำคัญกับการปรับฟังก์ชั่นต่างๆ ที่สนับสนุนระบบดิจิทัลและการบริหารจัดการในองค์กรเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม อัตราการแข่งขันที่สูงขึ้นและสภาพเศรษฐกิจที่ท้าทายยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องหันมาเร่งกระบวนการปรับตัวสู่ความเป็นดิจิทัลในสองด้านหลัก อันเป็นหัวใจสำคัญแก่การ

สร้างมูลค่าธุรกิจ ได้แก่ ด้าน SIP (กลยุทธ์, โครงสร้างพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์) และด้าน OPS (ดึงดูดผู้ใช้รายใหม่และการสร้างรายได้ ในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร)

วัฒนธรรมองค์กร การขาดการประสานงานให้ไปในทิศทางเดียวกันระหว่างเครือข่ายและสายธุรกิจ รวมถึงการขาดความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่างส่งผลให้เกิดการชะลอตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัล อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจึงควรเปิดรับวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้างและทำงานอย่างประสานกัน รวมถึงเร่งลงทุนในด้านระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล โดยผ่านการปรับเปลี่ยนกระบวนการ SIP และ OPS จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการประสานงานและการทำงานร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวให้แก่กลยุทธ์ ธุรกิจ และเครือข่ายของ ผู้ให้บริการ นอกจากนี้ สายป่านธุรกิจทั้งสายจะต้องมีอีโคซิสเต็มที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ (vendor) ผู้รับเหมารายย่อย (sub-contractor) และช่องทาง (channel) ต่างๆ รวมอยู่ด้วย อันจะส่งผลให้เกิดโมเดลอีโคซิสเต็มความร่วมมือแบบใหม่ที่ทั้งเปิดกว้างและสามารถทำงานร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่าง ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ก็จะเปลี่ยนไปและมีความคล่องตัวสูงขึ้น

เพื่อเป็นการค้นหาคำตอบว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมส่วนใหญ่อยู่ในสถานะใดบนเส้นทางสู่ดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชั่น ทางทีมงานจึงได้ทำการสำรวจผู้ให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีเพียงแค่ 36% จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานประสานกันอย่างแข็งแกร่งระหว่างกระบวนการทำงานของ SIP และ OPS โดยมีเพียง 29% เท่านั้นที่ตอบว่าสามารถใช้ประโยชน์และการทำงานโดยอิงจากข้อมูลระดับพื้นฐานที่มีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจในแต่ละวัน สิ่งที่น่าสนใจคือ OPS ยังมีบทบาทค่อนข้างจำกัด (36%) ต่อการวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาช่องทางรายได้ หากเทียบกับ SIP (57%) ผลสำรวจเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่าโมเดลการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังขาดความเท่าเทียมกัน เพราะ SIP ยังเป็นตัวผลักดันหลักในด้านการจัดลำดับความสำคัญของธุรกิจและการจัดสรรงบประมาณ โดยไม่ได้อิงกับด้าน OPS เลย ซึ่งผลลัพธ์สำคัญที่ต้องทำให้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัลก็คือการประสานกระบวนการปฏิบัติงานทางธุรกิจระหว่าง SIP และ OPS ให้ไปในทิศทางเดียวกันให้ได้

โดยสรุปแล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมจะต้องดำเนินการสำคัญในสามเรื่องเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดจากพลังของดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น เรื่องแรกคือต้องพัฒนาแผนการใช้ข้อมูลในระยะยาวซึ่งได้รับการผลักดันด้วยแพลตฟอร์มข้อมูลที่สามารถมองเห็นภาพแบบเป็นองก์รวม เพื่อนำไปยกระดับส่วนธุรกิจในทุกด้าน เรื่องที่สองคือต้องลงทุนอย่างเต็มที่ เพื่อเร่งการประสานงานกันระหว่างกระบวนการปฏิบัติงานทางธุรกิจด้าน SIP และ OPS ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างอัตโนมัติในรูปแบบดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อแก้ปัญหาที่ลูกค้าและธุรกิจกำลังเผชิญ เรื่องที่สามคือต้องสนับสนุนวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้างและทำงานแบบประสานกัน เพื่อผลักดันอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยไม่เพียงแค่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเท่านั้นที่ทำงานร่วมกัน แต่ผู้จำหน่ายและผู้จัดหาอุปกรณ์ต่างก็ต้องทำงานร่วมกันเพื่อนำเสนอคุณค่าที่จะกระตุ้นความสนใจให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคและลูกค้าระดับองค์กรได้

ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ได้ที่นี่: LINK และดาวน์โหลดหนังสือปกขาวฉบับเต็มได้จากเว็บไซต์นี้: LINK

быстрый кредит онлайн на карту zaymi-bistro.ru займ на карту срочно круглосуточно

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า