บีเอสเอจัดโครงการรณรงค์ประโยชน์ของซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายให้กับองค์กรธุรกิจ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 13 มีนาคม 2562 – บีเอสเอสนับสนุนองค์กรธุรกิจแก้ไขปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) โดยโครงการที่เปิดตัวในวันนี้จะสื่อสารกับองค์กรธุรกิจหลายพันแห่ง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ทั้งทางกฎหมาย การดำเนินธุรกิจ และความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมุ่งหวังให้องค์กรธุรกิจปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน

“วันนี้เราให้ความสำคัญในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์)  เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจลดความเสี่ยงจากการใช้งานซอฟต์แวร์” นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าว “เป้าหมายของเราคือการเห็นองค์กรธุรกิจจำนวนมากเข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน และเข้าใจว่าการลงทุนในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายนั้นส่งผลดีต่อความปลอดภัย ชื่อเสียงองค์กร การดำเนินธุรกิจขององค์กร และผลกำไรของพวกเขาด้วยเช่นกัน”

บีเอสเอทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐของหลายประเทศในอาเซียน เพื่อช่วยให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ เข้าใจถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน ข้อมูลจากไอดีซี (IDC) ประเมินว่าองค์กรธุรกิจจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 จากการเปลี่ยนมาใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์)  รวมถึงมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้การใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

“บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกครบถ้วน จะมีประสิทธิภาพในการการปฏิบัติงานที่สูงกว่า ลดความเสี่ยงที่ข้อมูลองค์กรจะรั่วไหล และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ” นายดรุณ กล่าว “องค์กรที่ดีและสามารถสร้างกำไรได้ควรใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า ตลอดจนข้อมูลทางธุรกิจของตน ยิ่งไปกว่านั้นคือการป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กรเอง”

สัปดาห์นี้ บีเอสเอเปิดตัวโครงการ “Legalize & Protect” ในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  ซึ่งบีเอสเอเคยเปิดตัวโครงการที่คล้ายกันนี้มาก่อนแล้วในประเทศเวียดนาม และผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง บริษัทเป้าหมายสำหรับโครงการนี้ล้วนอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไอที การเงิน การบริการ การก่อสร้าง การดูแลสุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภค วิศวกรรม สถาปัตยกรรมและการออกแบบ

ในเดือนต่อๆ ไป บีเอสเอจะจัดกิจกรรมในการให้ความรู้แก่ผู้นำองค์กรธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มนักธุรกิจต่างตระหนักถึงความเสี่ยงของการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางการตลาด การสื่อสาร บทความบนโซเชียลมีเดีย และในบางกรณีอาจมีการติดต่อโดยตรงไปยังองค์กรธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่นั้นมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ถูกต้องครบถ้วน ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค มีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) สูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 57

การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ส่งผลเสียต่อธุรกิจ

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ (CIO) ทั่วโลกต่างพบว่าซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) มีความเสี่ยงมากและส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามมา

ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจจำนวนมากมีความเสี่ยงสูงถึงหนึ่งในสามที่จะเผชิญกับการจู่โจมของมัลแวร์ ในเวลาที่ใช้งานหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) รวมถึงใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ด้วย การจู่โจมของมัลแวร์ในแต่ละครั้งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรธุรกิจ โดยเฉลี่ยถึง 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาจใช้เวลาในการแก้ปัญหาดังกล่าวนานถึง 50 วัน นอกจากนี้ หากการจู่โจมของมัลแวร์ดังกล่าวทำให้องค์กรธุรกิจไม่สามารถให้บริการหรือดำเนินงานได้ หรือสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจ ย่อมส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับมัลแวร์ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพิ่มสูงขึ้น โดยสูงกว่า 10,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 320,000 ล้านบาท) ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่ถูกมัลแวร์จู่โจม  และสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรธุรกิจทั่วโลกเกือบ 359,000 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 114.88 แสนล้านบาท)

บีเอสเอทำงานร่วมงานกับรัฐบาลในประเทศต่างๆ มาอย่างยาวนาน เพื่อให้ความรู้แก่องค์กรธุรกิจเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) และความร่วมมือดังกล่าวนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่ายินดี ดังจะเห็นได้จากอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) ที่ลดลงในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของบีเอสเอเองยังคงแสดงให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในอัตราที่สูง

“ภูมิภาคอาเซียนเป็นพื้นที่ที่มีพลวัตรทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และองค์กรธุรกิจของท้องถิ่นและข้ามชาติต่างกำลังเติบโตและได้รับประโยชน์จากโอกาสอันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายดรุณ กล่าว “แต่สำหรับบริษัทในภูมิภาคอาเซียนที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างแท้จริง พวกเขาจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ การทำธุรกิจด้วยซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ไลเซ่นส์) แสดงให้เห็นการขาดธรรมภิบาลในด้านการบริหารจัดการ และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับการทำธุรกิจในระดับสากลและมืออาชีพ

займ онлайн заявка zaymi-bistro.ru взять займ на банковскую карту

Related articles

วิธีตั้งค่าไบออส แก้ปัญหา Intel Gen 13 และ Gen 14 ทำเกมแครช/เล่นไม่ได้

สำหรับใครที่มีปัญหาเกมแครช, คอมดับตอนเล่นเกม หรือเกมเปิดไม่ได้พร้อมแจ้งแรมการ์ดจอไม่พอ "Out of video memory" ซึ่งเกิดในคนที่ใช้ซีพียู Intel...

หลุด!! ผลทดสอบ AMD Strix Halo มาพร้อม iGPU ใหญ่มาก 40 CUs แรงใกล้เคียง RTX 4060-4070 Mobile

หากใครได้ตามข่าวสารซีพียูน่าจะเคยได้ยินเรื่อง AMD Ryzen ตัวหนึ่งที่ใช้โค้ดเนม Strix Halo ซึ่งมาพร้อมชิปกราฟิกออนบอร์ด หรือ iGPU...

realme เสริมทัพ Portrait Master! เตรียมนำเข้ารุ่นเล็กสเปกคุ้ม ทั้ง “realme 12 5G” และ “realme 12X 5G” กับ Lossless 3X Zoom รุ่นแรกในระดับราคาเดียวกันพร้อมรองรับ 5G ในราคาหลักพัน

กรุงเทพฯ 18 เมษายน 2567 – หลังสร้างปรากฏการณ์The New Portrait Masterที่มาพร้อมแคมเปญกิจกรรมการถ่ายภาพสุดปังแห่งปี Make It Real!สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการสมาร์ตโฟนเมืองไทยไปตามคาด...

AIS เผยข้อมูลการใช้งาน สงกรานต์ 67 คึกคัก เย็นฉ่ำทั่วไทย ถนนข้าวหลามครองแชมป์คนใช้งานเน็ตสูงสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติปักหมุดเล่นน้ำยอดโตพุ่ง 38%

AIS เปิดพฤติกรรมการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ของลูกค้าและคนไทย โดยได้จัดเต็มโครงข่าย ทั้งมือถือและเน็ตบ้านสาดสัญญาณฉ่ำตลอดเทศกาล ครอบคลุมโมเมนต์ความสุขทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปีนี้พฤติกรรมการใช้งานของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่ามีการกระจายตัวของการใช้งานในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า