ถ้าจะหาคำไหนมาเปรียบเปรยความเดือดของงานในช่วงปลายปีละก็ คงไม่มีคำไหนเหมาะไปกว่าการบอกว่า “ถนนทุกสายมุ่งสู่ไตรมาส 4” ไม่ว่างานเล็ก งานใหญ่ งานรูทีน หรืองานเซอร์ไพรส์ปุ๊บปั๊บรับโชค ทั้งหมดต้องมากองรวมกันอยู่ในช่วงนี้โดยมิได้นัดหมาย แถมยังเป็นช่วงชี้ชะตากับโบนัสปลายปีอีกต่างหาก หรือสำหรับนักศึกษาที่เพิ่งเปิดเทอมมาหมาดๆ ก็เผชิญชะตากรรมที่ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเรียนออนไลน์ ควิซย่อยหรือสอบใหญ่ เชื่อว่าทุกคนต้องไม่ยอมให้ performance และผลการเรียนตกแน่ และหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยกับชีวิต remote working และ remote learning ตอนนี้ (และน่าจะอีกยาวๆ) ก็คือแล็ปท็อปคู่ใจที่เป็นทุกอย่างให้เราแล้ว วันนี้เราเลยขอแนะนำจุดสังเกตต่างๆ ไว้เป็นเกณฑ์ในใจให้ไปเลือกแล็ปท็อปเครื่องใหม่แสนคุ้มไว้ลุยงานรับปลายปี แบบที่เครื่องเดียวครบจบด้วยงบไม่ถึง 18,000 บาท ลองไปดูกันเลย
1.ใช้งานหน้าจอได้ทุกพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปั่นงานโหดไม่เสียสายตา การันตีด้วยมาตรฐานระดับโลก
เชื่อได้เลยว่า สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักตัดสินใจก่อนจะไปเลือกสเปกอื่นๆ ของแล็ปท็อป ก็คือดูว่าเราชอบใช้งานหน้าจอขนาดเท่าไหร่ เพราะประเด็นนี้จะไปเกี่ยวพันกับคุณสมบัติอีกหลายประการ เช่น น้ำหนัก ความสะดวกในการพกพา และลักษณะการใช้งาน ซึ่งขนาดที่กำลังดีเพราะไม่ใหญ่ไม่เล็กจนเกินไปก็คือหน้าจอขนาด 14 นิ้ว โดยควรจะใช้งานทุกพื้นที่บนหน้าจอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นก็มาจากการออกแบบให้ขอบจอบางเป็นพิเศษนั่นเอง นอกจากนี้ ยังควรดูให้ละเอียดลงไปถึงการรับรองมาตรฐานต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งคอบ่าไหล่และสายตา เพราะในหนึ่งวันเราต้องอยู่หน้าแล็ปท็อปกันยาวๆ 
และแล็ปท็อปรุ่นหนึ่งที่โดดเด่นเตะตาในปีที่ผ่านมาก็คือ HUAWEI MateBook D 14 ที่มาพร้อมขอบจอบางเป็นพิเศษ 4.8 มม. เพราะออกแบบให้กล้องความละเอียด 1MP ไปซ่อนอยู่บนแป้นคีย์บอร์ด จึงได้หน้าจอขนาด 14 นิ้วแบบ HUAWEI FullView Display ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแล็ปท็อปหัวเว่ย ใช้งานพื้นที่บนหน้าจอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยสัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องที่ 84% แถมรับรองด้วยมาตรฐานระดับโลกจาก TÜV Rheinland ว่าสามารถลดแสงสีฟ้าและลดการกะพริบของหน้าจอได้ ถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี
-
ดีไซน์เฉียบ ใช้สะดวก ทนไม้ทนมือเหมาะกับคนใช้งานคอมฯ หนักๆ
ดีไซน์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่ดูสวยดูดีเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความใส่ใจและความละเอียดในศาสตร์แห่งการออกแบบ เพราะแล็ปท็อปที่ดีไม่ใช่แล็ปท็อปที่มี แต่ควรเป็นแล็ปท็อปที่เข้ากันได้ดีกับลักษณะการใช้งานของเรามากที่สุด ยิ่งถ้าต้องปั่นงานหนักๆ ต้องพกคอมฯ ไม่ห่างมือ จะทำงานมุมไหนของบ้าน หรือจำเป็นต้องหอบหิ้วออกไปทำงานออนไซต์ข้างนอก ดีไซน์และความทนทานนั้นก็มีความสำคัญมากๆ ดังนั้นจึงต้องดูการออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งาน ควรเลือกที่ใช้วัสดุอลูมิเนียมเพื่อให้ได้บอดี้โลหะที่บางและน้ำหนักเบา แถมทนทาน ไม่เป็นรอยขีดข่วนหรือเกิดตำหนิได้ง่ายๆ รวมถึงเลือกตรงรายละเอียดการออกแบบให้ใช้งานสะดวก รวดเร็ว ฉับไว สอดคล้องกับความเร็วของงานที่เพิ่มเข้ามาไม่หยุดหย่อน
ซึ่งในประเด็นนี้ก็ยังเห็นได้ว่า HUAWEI MateBook D 14 เป็นโมเดลที่ทำได้ดีพอสมควรเลยทีเดียว บอดี้อลูมิเนียมทำให้ตัวแล็ปท็อปน้ำหนักแค่ 1.38 กก. และบางเพียง 15.9 มม. ประกอบกับจอขนาด 14 นิ้วทำให้พกพาง่าย ถนัดมือ และทนทานต่อการใช้งาน หน้าจอสามารถปรับกางได้สูงสุด 180 องศา เรียกได้ว่าแทบจะราบไปกับโต๊ะ แถมยังสะดวกและ
คล่องตัวสุดๆ กับไอเดียการใส่ Fingerprint Power Button หรือจุดสแกนนิ้วไว้ที่ปุ่มเปิด-ปิด ปลดล็อกใช้งานพร้อมเปิดเครื่องรวบตึงได้ในเวลาเดียวกัน ดีไซน์ปุ่มเดียวได้ทั้งความคล่องตัวและความปลอดภัย
-
ผู้ช่วยชั้นดี ทำงานสะดวก แชร์ไฟล์ ชอปปิง แช็ตกับเพื่อน ได้ทุกมิติผ่านอีโคซิสเต็มที่ไหลลื่น
อีโคซิสเต็มก็คือการที่แบรนด์หนึ่งๆ ออกผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท แต่ทุกดีไวซ์สามารถใช้งานร่วมกันและเชื่อมต่อถึงกันได้ เพื่อให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ได้รับความสะดวก ดังนั้นการเลือกแล็ปท็อปแบรนด์ที่ทำทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มอนิเตอร์ และสมาร์ทดีไวซ์อื่นๆ ด้วย ชีวิตเราก็จะยิ่งเหมือนได้ผู้ช่วยที่ทั้งฉลาดและรู้ใจ อะไรก็ง่ายไปหมด
แบรนด์ไอทีระดับโลกอย่างหัวเว่ยก็เน้นย้ำความสำคัญของอีโคซิสเต็มมาตลอด ดังจะเห็นได้จากฟีเจอร์ HUAWEI Share ที่ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 3.0 ซึ่งสามารถใช้งานได้บนแล็ปท็อปของหัวเว่ยรุ่นที่ใช้ PC Manager 11.0 ขึ้นไป โดยเมื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหัวเว่ย EMUI 11.0 ขึ้นไป จะสามารถแคสหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตขึ้นไปใช้งานบนแล็ปท็อปได้แบบเรียลไทม์ เปิดใช้แอปพลิเคชันต่างๆ บนมือถือได้พร้อมกัน 3 แอปฯ (โดยแสดงผลบนจอคอมฯ) ดังนั้นจะแชร์ไฟล์ไปมาระหว่างดีไวซ์ เปิดหน้าต่างแช็ตไปด้วย ชมคอนเทนต์บันเทิงไปด้วย หรือชอปปิงไปด้วย ก็ทำได้อย่างไหลลื่น จบบนหน้าจอเดียว
-
รองรับการใช้งานตั้งแต่ตื่นยันนอน ชาร์จสะดวกด้วยพอร์ตมาตรฐานสากล
You must be logged in to post a comment.