เทคโนโลยี 5G กับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิต เอดิสัน สวี, กรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด 5G จะยกระดับศักยภาพการทำงานขึ้นไปอีกขั้น 

เทคโนโลยี 5G ขจัดปัญหาด้านการเชื่อมต่อ โดยนำการประมวลผลจากคลาวด์ (cloud computing) และปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภาคการผลิต นำความเป็นไปได้ใหม่ๆ มาสู่ภาคอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตร 5G ในประเทศไทย ผนึกกำลังเปลี่ยนแปลงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G สู่การใช้งานจริง โดยมีเป้าหมายเปิดตัว 10 โครงการในปีนี้ โดยเครือข่ายพันธมิตรก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยี 5G ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ผู้จำหน่ายและลูกค้าองค์กรเพื่อขับเคลื่อนอีโคซิสเต็ม 5G ให้รุดหน้า

ในปัจจุบัน เครือข่ายพันธมิตร 5G ในประเทศไทยมีโครงการพัฒนาการใช้งาน 5G ถึง 20 โครงการซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายนปีนี้ ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ขึ้นกล่าวในงาน ‘Thailand 5G Summit 2022’ ว่า “นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในหลายภาคส่วน เทคโนโลยี 5G ถือเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต”

เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะในปัจจุบันและอนาคต

อุตสาหกรรมภาคการผลิตทั่วโลกได้เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่โดยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจะพลิกโฉมอุปกรณ์และกระบวนการผลิตตลอดจนกระบวนการจัดหาผลิตภัณฑ์ หลากหลายประเทศเปิดตัวแผนยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ เช่น กลยุทธ์สู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวกลยุทธ์ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียนของประเทศไทย ประเทศเยอรมนีเปิดตัวกลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และประเทศจีนประกาศแผน ‘Made in China 2025’ ซึ่งล้วนเป็นกลยุทธ์ที่จะนำเทคโนโลยีไอซีทีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถหลักของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กลยุทธ์ ‘ดิจิทัลไทยแลนด์’ ของประเทศไทยเริ่มมีความคืบหน้าหน้าด้วยโครงการสำคัญต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ ‘เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม’ หรือ ‘Value–Based Economy’ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้พร้อมกับก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน

การประยุกต์ใช้ 5G กับการออกแบบ ระบบการวิจัยและพัฒนา ระบบควบคุมการผลิตและระบบการจัดการบริการจะพลิกโฉมกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมแนวดิ่งที่ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนา การออกแบบ การผลิต การจัดการและบริการ สิ่งนี้จะเปลี่ยนภาคการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่ยืดหยุ่น มุ่งเน้นการบริการที่เหนือไปอีกขั้น

อิทธิพลของเทคโนโลยี 5G ในภาคการผลิต

มีการคาดการณ์ว่า 5G จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของภาคการผลิตคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปีพ.ศ. 2573 โดยสมมติฐานและการวิเคราะห์นี้ได้มาจากการสัมภาษณ์ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและโทรคมนาคม และการสำรวจผู้ผลิตกว่า 100 รายทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G

ในปีพ.ศ. 2573 เทคโนโลยี 5G จะมีศักยภาพในการผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของการผลิตทั่วโลกให้เติบโตถึง 4% หรือต่ำกว่า 7.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพียงเล็กน้อย โดยคาดการณ์จากการใช้งานใหม่ และการปรับปรุงการใช้งานเดิมที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ รวมทั้งคำนึงว่าการปรับปรุงพัฒนาเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร

5G เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ภาคการผลิตใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักร โรงงาน ตลอดจนข้อมูลผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม โดยข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G ที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตมี 5 ประการได้แก่:

  1. เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่ดีที่สุด เพื่อทำให้เกิดบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่ออย่างเต็มรูปแบบ
  2. มีการรับประกันการเชื่อมต่อให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
  3. ลดค่าความหน่วงให้เหลือระดับต่ำกว่า 15 มิลลิวินาที เพื่อการบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์
  4. มีการถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงสำหรับการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยเครื่องจักร (Machine Vision) โดยใช้วิดีโอความละเอียดสูง
  5. นำเสนอฟังก์ชันใหม่ๆ นอกเหนือจากการเชื่อมต่อ เช่น ระบุตำแหน่งได้แม่นยำมากขึ้นผ่านเครือข่าย 5G (5G position) และ 5G_LAN

ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

เทคโนโลยี 5G มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตในสองด้าน คือการเพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบเชื่อมต่อของภาคอุตสาหกรรมและการเพิ่มกรณีการใช้งานแอปพลิเคชันใหม่ๆ

การเพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบเชื่อมต่อของภาคอุตสาหกรรม

ในอดีตโรงงานต่างๆ ใช้เครือข่ายอีเทอร์เน็ต (Ethernet) แบบตายตัวในการเชื่อมต่อ ซึ่งใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายมหาศาลในการประยุกต์ใช้งาน ส่งผลให้ผู้ผลิตที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยจะไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี 5G จะมาแทนที่เครือข่ายแบบเดิม เอื้อประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตในประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบตายตัวที่จำกัด แต่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึง 5G ไร้สายแบบคงที่และบรอดแบนด์โดยไม่ต้องติดตั้งสายเคเบิล ส่งผลให้ผู้ผลิตที่นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการผลิตได้ช้ากว่าที่อื่นก็สามารถก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้

การใช้งานใหม่และแอปพลิเคชันใหม่ๆ

เทคโนโลยี 5G จะปลดล็อกการใช้งานในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยความเห็นจากตัวแทนภาคอุตสาหกรรมได้ตอกย้ำถึงข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยี 5G ซึ่งก็คือการเชื่อมค่อจำนวนอุปกรณ์และปริมาณข้อมูล (ครอบคุลมเรื่องการเชื่อมโยงกับความสามารถและความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล, ความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยและอัตราความหน่วงต่ำ)

เทคโนโลยี 5G เพิ่มปริมาณการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องใช้ในโรงงาน โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันตลอดจนเพิ่มจำนวนข้อมูลที่ผ่านเครือข่ายได้แบบทวีคูณ ผู้ปฏิบัติงานสามารถติตดามดูสถานะของเครื่องจักร กระบวนการและระบบทั้งหมดได้ละเอียดยิ่งขึ้นและระบุปัญหาได้อย่างแม่นยำ

5G เหนือกว่าการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi ในด้านความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของข้อมูล เมื่อผู้ผลิตใช้ข้อมูลในการควบคุมกระบวนการและระบบการผลิตโดยอัตโนมัติก็จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกต้องและถูกจัดเก็บตลอดเวลา รวมทั้งป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้

อัตราค่าความหน่วงต่ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ 5G เพื่อผลักดันการใช้งานใหม่ เพราะมีการใช้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และทำให้ระบบดำเนินการแบบเรียลไทม์ การใช้งานในจุดสำคัญของกระบวนการทางอุตสาหกรรมต้องการอัตราความหน่วงที่ต่ำมากถึงสิบมิลลิวินาทีหรือน้อยกว่า

 

ศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่ทำให้เกิดการใช้งานใหม่และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น

ประเทศจีนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำในการติดตั้งเครือข่าย 5G อันทรงพลังในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระบบอัตโนมัติในกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานหนักหรือเป็นอันตราย รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สถานการณ์เหล่านี้รวมถึงเหมืองถ่านหิน 5G ที่ใช้เครื่องจักรขุดเจาะจากระยะไกล ซึ่งเรียกว่าโรงงานอัจฉริยะที่ควบคุมการผลิตและคุณภาพด้วยระบบอัตโนมัติ รวมถึงท่าเรือที่นับและประมวลผลตู้สินค้าผ่านกล้องที่เชื่อมต่อบนเว็บไซต์

เครือข่าย 5G เหล่านี้ต่างจากเครือข่ายสาธารณะของผู้บริโภคในเมืองต่าง ๆ เพราะมีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งสำหรับรองรับสถานการณ์เฉพาะขององค์กร แยกออกจากเครือข่ายสาธารณะและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะด้านเพื่อจัดการกับเป้าหมายองค์กรและกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น

ในสายการผลิตอัจฉริยะ การควบคุมระยะไกลโดยใช้ 5G และคลาวด์ ช่วยเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คนโดยสิ้นเชิง การผลิตรถยนต์ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นำข้อได้เปรียบของ 5G ที่มีแบนด์วิดท์สูง ความหน่วงต่ำและมีความคล่องตัวมาใช้ และการทำงานจากระยะไกลทำให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมและประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ในอดีต ผู้ปฏิบัติงานต้องควบคุมอุปกรณ์ในห้องควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นงานที่อันตรายและไม่ดึงดูดผู้สมัครที่มีทักษะสูง เทคโนโลยี 5G และการประมวลผลบนคลาวด์ (cloud computing) ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องปรับอากาศได้อย่างสะดวกสบาย ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวสามารถควบคุมเครนสะพานได้หลายตัวผ่านวิดีโอความละเอียดสูง ทำให้ต้นทุนแรงงานลดลงอย่างมหาศาล

ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังในประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการควบคุมรถคานเคลื่อนที่ในการยกตู้สินค้า (Rubber tyred gantry crane – RTG) ด้วยแผงควบคุมผ่าน 5G ความเร็วสูง ที่มีความหน่วงต่ำและความเสถียร นำมูลค่ามหาศาลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมมายังท่าเรือ ช่วยลดจำนวนบุคลากรที่ต้องทำงานภายใต้ความเสี่ยงสูงลงถึง 80% และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ RTG เพราะทำงานร่วมกับรถบรรทุกไฟฟ้าอัตโนมัติแบบไร้คนขับ (Yard EV autonomous Trucks) ที่ควบคุมผ่าน 5G จากศูนย์กระจายเพื่อส่งฉลากสินค้า โดยรถบรรทุกเหล่านี้ทำงานอย่างต่อเนื่องได้ทั้งกลางวันกลางคืนอีกด้วย

สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ องค์กรต้องพบกับความท้าทายด้านการจ้างงานเพราะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันสูงเนื่องจากขาดการติดตามด้านเทคนิคและการจัดส่งอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์แข่งขันได้น้อยลง ด้วยเทคโนโลยีที่รุดหน้าทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมต่อ 5G คลาวด์คอมพิวติ้งและการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ช่วยขับเคลื่อนโมเดลการทำงานผ่านแผงควบคุม ส่งผลให้พนักงานปฏิบัติการในเหมืองกลับมาทำงานในสำนักงานได้มากขึ้น เทคโนโลยีต่างๆ เช่น การประมวลผลด้วยคลาวด์ บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัลทวิน (Digital Twin) เปลี่ยนอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินเข้าสู่ระบบดิจิทัลและปรับใช้แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยด้านการผลิตในปัจจุบันกับอุตสาหกรรมเหมืองทั้งหมด ปัจจุบันบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทพลังงานเปลี่ยนจากการใช้รถบรรทุกดีเซลเป็นรถบรรทุกไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยแพลตฟอร์มอัจฉริยะ 5G+

ในอนาคตคนงานเหมืองอาจจะไม่ต้องทำงานในเหมืองใต้ดินอีกต่อไป แต่จะสวมชุดสูทและเน็กไทมาควบคุมอุปกรณ์ขณะดื่มกาแฟแทน

หัวเว่ย ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านไอซีที มุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถยกระดับวงจรการผลิตให้ทันสมัย เราจับมือพันธมิตรชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศจีน ได้แก่ เซี่ยซัน ยูตง Watyous และไชน่า ซอฟท์ทีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตธุรกิจ E2E ของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0

# # #

Related articles

AIS เผยข้อมูลการใช้งาน สงกรานต์ 67 คึกคัก เย็นฉ่ำทั่วไทย ถนนข้าวหลามครองแชมป์คนใช้งานเน็ตสูงสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติปักหมุดเล่นน้ำยอดโตพุ่ง 38%

AIS เปิดพฤติกรรมการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ของลูกค้าและคนไทย โดยได้จัดเต็มโครงข่าย ทั้งมือถือและเน็ตบ้านสาดสัญญาณฉ่ำตลอดเทศกาล ครอบคลุมโมเมนต์ความสุขทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปีนี้พฤติกรรมการใช้งานของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่ามีการกระจายตัวของการใช้งานในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ...

OPPO เปิดตัวนวัตกรรม AI ที่งาน Google Cloud Next ’24 นำเสนอโมเดล Gemini ของ Google บนโทรศัพท์ AI

l OPPO และ OnePlus ร่วมมือกันเพื่อนำประสบการณ์โทรศัพท์ AI ใหม่มาสู่ผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน l...

โปรแกรมสมนาคุณ Genius ช่วยประหยัดงบได้! Booking.com แชร์เคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณได้รับข้อเสนอสุดพิเศษ ยกระดับการเดินทางให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น

จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เดินทางเพื่อคาดการณ์เทรนด์การเดินทางท่องเที่ยวในปี 2567 ของ Booking.com พบว่าเทรนด์ ‘ขอให้ได้ลุ้น’ หรือ ‘Surrender Seekers’ เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้เดินทางชาวไทยที่ต้องการปล่อยใจไปกับความเซอร์ไพรส์...

ป้องกัน: ร่วมรักษ์โลกด้วยกันกับ “HP Planer Partners โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี”

HP Planer Partners โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี HP Planer Partners หรือ โครงการรีไซเคิลตลับหมึกเอชพี คือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า