- เกี่ยวกับ Thailand 5G summit 2022?
จำนวนวิทยากรที่เข้าร่วมงานจากทุกประเทศทั่วโลก ?
- 53 ท่าน
จำนวนผู้เข้าร่วมงาน ?
- จำนวน 1,120 คน (ข้อมูลวันที่ 9 มิถุนายน)
จำนวนบูธภายในงาน ?
- จำนวน 28 บูธ
จำนวนเซสชันทั้งหมดภายในงาน
- 3 เซสชัน
- พันธมิตร 5G คืออะไร ?
- พันธมิตร 5G ของประเทศไทย ประกอบไปด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีพันธมิตรได้แก่ ผู้ให้บริการโซลูชัน 5G ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน นักพัฒนาแอปพลิเคชัน และมหาวิทยาลัยต่างๆ
- โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบ 5G ของไทย และมุ่งสร้างเวทีเปิดสําหรับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรม 5G และส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนผลักดันขีดจํากัดของ 5G ในการขับเคลื่อนการใช้งานเชิงพาณิชย์ 5G ให้ประเทศไทยเป็นผู้นําที่แท้จริงในภูมิภาคอาเซียน
- นอกจากนี้ การก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G ของประเทศไทยถือเป็นพันธมิตรรายแรกในอาเซียนที่มุ่งพัฒนาระบบนิเวศ 5G ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการดำเนินการด้าน 5G ของประเทศไทยได้เข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว และยังคงขับเคลื่อนตลาดวิสาหกิจ รวมทั้งการพลิกโฉมอุตสาหกรรมแนวดิ่งไปอีกขั้น
- สมาชิกของเครือข่ายพันธมิตร 5G มีใครบ้าง และความรับผิดชอบคืออะไร?
ประธาน:
- ให้โอกาสที่เท่าเทียมกันสําหรับสมาชิกทุกคนที่จะได้รับประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ส่งเสริมความเป็นดิจิทัลในแต่ละอุตสาหกรรมโดยใช้5GUCและรูปแบบธุรกิจ
- สนับสนุนให้สตาร์ทอัพและSMEsให้มีส่วนร่วมในโครงการและการเข้าถึงการใช้ประโยชน์
ผู้ปฏิบัติการ:
- ให้การรับประกันเครือข่าย 5G เพื่อรองรับการทดสอบ 5G UC POC และการปรับใช้เพิ่มเติม
- ร่วมมือกับพันธมิตรด้าน System Integrator และผู้ใช้เพื่อระบุความต้องการที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน
ผู้ค้า:
- ทํางานร่วมกับผู้ให้บริการและให้การสนับสนุนด้านเทคนิคสําหรับการรับประกันเครือข่าย 5G
- ร่วมพัฒนาความร่วมมือกับพันธมิตรและ System Integrator เพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน 5G
พันธมิตรในอีโคซิสเต็ม 5G:
- พัฒนาแอปพลิเคชัน 5G และกรณีตัวอย่างในการใช้งาน
- ให้บริการซอฟต์แวร์และบูรณาการภายในโครงการ
พันธมิตรอุตสาหกรรม:
- ระบุจุดปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป รวมถึงความต้องการของอุตสากรรมดิจิทัล
- สนับสนุนโครงการทดลองและประเมินคุณประโยชน์
สมาคม:
- ระบุความต้องการ และการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ
- ส่งเสริมการทดลอง และการปรับการใช้งานของ 5G UC (Ultra Capacity) และแอปพลิเคชัน
- มีสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตร 5G ทั้งหมดเท่าไร ?
ปัจจุบันมีสมาชิกริเริ่มโครงการทั้งหมด 10 องค์กร
- ใครคือผู้ริเริ่มพันธมิตร ?
สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)
- เหตุผลและที่มาในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร ?
เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในการพัฒนา 5G ดังต่อไปนี้
- ความตระหนักรู้ และความรู้ด้าน 5G: ภาคธุรกิจยังไม่ตะหนักถึงความสำคัญและศักยภาพที่แท้จริงของ 5G เนื่องจากยังขาดทิศทางนโยบาย 5G ที่ชัดเจน รวมถึงการรู้เท่าทันเทคโนโลยี 5G และการสนับสนุนทางการเงินโดยเฉพาะกับธุรกิจเอสเอ็มอี
- เครือข่าย 5G: เครือข่ายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในพื้นที่ชนบท หรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่สนใจการลงทุนเงินจำนวนมากในการดำเนินการเพื่อเกิดการใช้งาน
- กฎหมายและข้อบังคับการแก้ไขเพิ่มเติม: ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายรวมถึงข้อบังคับเพื่ออำนวนความสะดวกในการใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการการแพทย์ทางไกล และระบบอากาศยานไร้คนขับ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ครอบคลุมแอปพลิเคชัน 5G ทั้งหมด
- การทำให้การใช้งานสัมฤทธิ์ผล: ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่งของไทยค่อนข้างน้อย และการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์วิจัย ไม่มีการใช้งานในการทดสอบจริงที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า นอกจากนี้ตัวอย่างการใช้งานยังไม่มีการกระจายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ที่อยู่ภายใต้สภาวะความท้าทายและลักษณะเฉพาะของประเทศไทย
- แรงงานดิจิทัล 5G: จำนวนพนักงานดิจิทัลและไอซีทีคิดเป็นเพียง 1% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในปีพ.ศ. 2561 ถือเป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอในการตอบสนองความต้องการแรงงานดิจิทัลและไอซีทีในปัจจุบัน
- ประโยชน์ของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร ?
- มิติภูมิภาค: กำหนดเกณฑ์มาตรฐานและการอ้างอิงในระดับภูมิภาคเพื่อผลักดันและกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค
- มิติประเทศ: เกิดการเร่งพัฒนา 5G และยกระดับสู่ประเทศไทย 0
- มิติอุตสาหกรรม:ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G และบรรลุการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล
- มิติอีโคซิสเต็ม:เกิดการบ่มเพาะอีโคซิสเต็ม 5G และให้โอกาสทางธุรกิจแก่พันธมิตร
- มิติขององค์กร:ใช้ประโยชน์จากความสามารถ 5G เพื่อสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
- มิติสังคม: ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับโลกดิจิทัลที่เปิดใช้งานโดย 5G ได้
- ความท้าทายและโอกาสของพันธมิตรเครือข่าย 5G
- 1)โอกาส:
ผู้นำเครือข่าย 5G ชั้นนำในภูมิภาค
การสนับสนุนจากรัฐบาล
ความต้องการของอุตสาหกรรมเกี่ยวกับดิจิทัล
- 2)ความท้าทาย:
โครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้น: เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI 5G คลาวด์ กำลังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอุตสาหกรรม
ระบบนิเวศ 5G: ไม่เกิดการสร้างอีโคซิสเต็มที่มีอิทธิพล และไม่มีการนำโอกาสทางธุรกิจมาสู่พันธมิตรในอุตสาหกรรมโดยตรง
ศักยภาพ 5G: โรคระบาดได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล และทำให้ตะหนักชัดเจนว่าเราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะดิจิทัลในกลุ่มเปราะบาง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในโลกดิจิทัล สำหรับประเทศไทยซึ่งกลายเป็นผู้นำอาเซียนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G และการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีความจำเป็นเพิ่มขึ้นในการลงทุนเพื่อปลูกฝังความสามารถทางดิจิทัล ที่ต้องเผชิญกับอุตสาหกรรม S-Curve ที่กำลังจะมาถึง เมื่อประเทศไทยกลายเป็นผู้บุกเบิกการเปิดตัว 5G และแอปพลิเคชันในภูมิภาค สิ่งจำเป็นที่ตามมาคือการเพิ่มการลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล และทักษะไอซีทีแก่บุคคลากร
- ก่อนหน้านี้ สมาชิกในเครือข่ายพันธมิตร 5G มีความร่วมมือในรูปแบบใดกันมาก่อน? ประวัติในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G มีอะไรบ้าง? มีหมุดหมายสำคัญในเรื่องใดบ้าง?
- 1)ความร่วมมือก่อนหน้านี้: สมาชิกทำงานร่วมกันเพื่อสร้างโครงการนำร่องบางโครงการในภาคอุตสหากรรมเฉพาะกลุ่ม แต่ยังไม่ได้เป็นโครงการขนาดใหญ่ระดับที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
- 2)ประวัติและหมุดหมายสำคัญ:
จุดเริ่มต้น: ริเริ่มคอนเซ็ปต์และการพูดคุยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2563
เปิดศูนย์ EIC: เริ่มจากการฟูมฟักให้เกิดอีโคซิสเต็มของ 5G ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2563
แผนปฏิบัติงาน: ดึงดูดพาร์ทเนอร์ด้าน 5G และพัฒนากรณีศึกษาต่างๆ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2564
ออกแบบโครงสร้างเครือข่าย: ก่อตั้งคอนเซ็ปต์ของโครงสร้างเครือข่ายพันธมิตรในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564
การร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมต่างๆ: ในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2565 ดีป้าและสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมถึงเรื่องการขยายความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย
แผนปฏิบัติงาน: ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ยและดีป้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อสรุปแผนปฏิบัติการและกลุ่มสมาชิกชุดแรก
เปิดตัว: เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตร 5G อย่างเป็นทางการภายในงาน Thailand 5G Summit 2022
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- 1)วิสัยทัศน์: สร้างแพลตฟอร์มสำหรับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกันในภาคอุตสาหกรรม 5G ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล
- 2)ภารกิจ:
- สร้างนวัตกรรมร่วมกัน: ร่วมมือกันสำรวจศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจด้วยโครงการนำร่อง และเร่งทำให้เกิดตลาดของแอปพลิเคชัน 5G ที่เหมาะกับความต้องการของตลาด
- รองรับอีโคซิสเต็ม: สร้างศูนย์กลางเทคโนโลยี 5G ซึ่งมีฐานอยู่ที่ศูนย์ EIC จัดเตรียมบริการด้านการทดสอบให้แก่สมาชิกรายต่างๆ และเร่งให้เกิดกรณีการใช้งาน 5G ในเชิงพาณิชย์
- การแลกเปลี่ยนในภาคอุตสาหกรรม: ตั้งดัชนีชี้วัดด้าน 5G จัดแสดงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันระหว่างภาคอุตสาหกรรม
- ผลักดันสตาร์ทอัพ: จัดเตรียมเทคโนโลยี 5G และคลาวด์ รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันและเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจต่างๆ เข้าด้วยกันสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี
- แผนการปฏิบัติงานของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร? สมาชิกต่างๆ ในเครือข่ายจะร่วมมือกันอย่างไรบ้าง?
- 1)แผนปฏิบัติงาน
- โครงการนำร่อง: ค้นหาภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เชื่อมโยงอีโคซิสเต็มด้านพาร์ทเนอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และตั้งดัชนีชี้วัด
- การทำให้เกิดกรณีการใช้งานในเชิงพาณิชย์: จับคู่และสนับสนุนโครงการนำร่อง ปรับปรุงศักยภาพของพาร์ทเนอร์ รวมั้งฟูมฟักผู้สนับสนุนระดับคุณภาพให้มากขึ้น
- การแลกเปลี่ยนระหว่างภาคอุตสาหกรรม: เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาองค์ความรู้ล่าสุดของภาคอุตสาหกรรม
- ผลักดันด้านทักษะ: ช่วยเหลือสมาชิกในเครือข่ายให้เข้าถึงเทรนด์ไอซีทีใหม่ล่าสุด รวมถึงจัดคอร์สฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้าน 5G
- ประชุมภายใน: เรียบเรียงข้อมูลให้ไปในทิศทางเดียวกัน และวางแผนการปฏิบัติงาน
- หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวเว่ยในฐานะหนึ่งในสมาชิกของเครือข่ายพันธมิตร 5G คืออะไร?
- 1)จัดเตรียมวิสัยทัศน์ระดับโลกและกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมหรือระหว่างประเทศในด้านต่างๆ
- 2) จัดเตรียมทรัพยากรด้านผลิตภัณฑ์ โซลูชัน พาร์ทเนอร์ และกรณีตัวอย่างการใช้งานชั้นนำ เพื่อรองรับเรื่องการทำโครงการนำร่อง
- 3) จัดเตรียมคอร์สการฝึกอบรมเพื่อผลักดันทักษะไอซีที
- หัวเว่ยมีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องการเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตร 5G ในครั้งนี้อย่างไร?
- 1)หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นสักขีพยานในการก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตร 5G ขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากมันจะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G และทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นไปอย่างสำเร็จลุล่วง
- 2)การจัดตั้งพันธมิตรในครั้งนี้ถือเป็นนโยบายแบบเปิดกว้าง เพื่อสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัล รองรับการประสานทรัพยากรจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ภาคองค์กร ภาคมหาวิทยาลัย องค์กรทางอุตสาหกรรม และอื่นๆ เข้าด้วยกัน