3 เครื่องมือจาก Windows ซ่อมแซมไฟล์เสีย แก้จอฟ้า BSOD

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาไฟล์โปรแกรมหรือ Windows เสียหาย เป็นเหตุให้เปิดโปรแกรมไม่ได้ ไปจนถึงเกิดจอฟ้า BSOD กันเลย วันนี้แอดมีเครื่องมือช่วยแก้ไขไฟล์เสียหาย 3 ชนิดจาก Windows 10 จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยครับ

CHKDSK (Check Disk)

ตัวแรกสุดที่หลายคนน่าจะเคยใช้กัน นั่นคือ Check Disk จะมีคุณสมบัติในการเช็คไฟล์ที่เสียหายในแต่ละไดรฟ์ รวมถึงการเช็ค Bad sector ในฮาร์ดดิสก์และซ่อมแซมไฟล์ให้ด้วย

วิธีการเปิดใช้งานสามารถเปิดผ่าน File Explorer ได้ดังนี้

วิธีการนี้จะง่ายกว่าหน่อย ด้วยการเข้าไปใน This PC (My Computer) แล้วคลิกขวาในไดรฟ์ที่ต้องการซ่อม เช่น จะซ่อมไดรฟ์ C: ก็คลิกขวาแล้วเลือก Properties เลยครับ

ในหน้าต่าง Properties จะมีแท็บ Tools ให้กดเข้าไปดู จะพบว่ามีส่วนของ Error Checking ให้เรากดไปที่ปุ่ม Check  จากนั้นตัวโปรแกรมจะตรวจเช็คและซ่อมไฟล์เสียหายให้เลยครับ

 

SFC (System File Checker)

ในขณะที่ CHKDSK เน้นการซ่อมแซมไฟล์ใน HDD แต่ SFC จะเน้นการซ่อมแซมไฟล์ระบบของ Windows โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าไฟล์ Windows เสียหาย ที่เจอได้บ่อยก็เป็นพวกไฟล์ DLL สูญหาย (เวลาเปิดโปรแกรม หรือใช้งานบางฟีเจอร์แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นว่า Missing DLL) แต่ถ้าเสียหายมากจะทำให้เกิดจอฟ้าได้

วิธีการใช้งานจะต้องเข้า Command Prompt (CMD) โดยค้นหา CMD ในช่อง Search แล้วคลิกขวาเลือก Run as administrator แล้วพิมพ์ sfc /scannow ลงไปใน CMD กด Enter

SFC จะค้นหาและซ่อมแซมไฟล์ให้ เมื่อเสร็จแล้วมันจะขึ้นข้อความ 1 ใน 3 อย่าง ดังนี้

  • Windows Resource Protection did not find any integrity violations. หมายความว่า ไม่เจอไฟล์เสียหาย
  •  Windows Resource Protection found corrupt files and successfully repaired them. หมายความว่า ไฟล์ที่เสียหายได้รับการซ่อมแซมแล้ว
  • Windows Resource Protection found corrupt files but was unable to fix some of them. หมายความว่า เจอไฟล์เสียหายแต่ซ่อมไม่ได้ ถ้าขึ้นแบบอาจจะลองรัน SFC ใน Safe Mode อีกที แต่ถ้ายังขึ้นอยู่ คงต้องขยับไปใช้ DISM ครับ

 

DISM (Deployment Image Servicing and Management)

DISM คือเครื่องมือซ่อมแซมไฟล์เสียที่ดีที่สุดในนี้ แต่ผมแนะนำให้ใช้หลังจาก CHKDSK และ SFC ไม่ได้ผลแล้ว ค่อยขยับมาใช้ไม้แข็งอย่าง DISM นะครับ

ก่อนอื่นให้เปิด CMD แบบ Administrator ขึ้นมาเหมือนเดิม แล้วตามด้วยคำสั่ง Dism /Online /Cleanup-Image /CheckHealth ซึ่งอันนี้จะเป็นการเช็คหาไฟล์เสีย โดยยังไม่มีการซ่อมแซมไฟล์ จากนั้น…

– ถ้าเจอไฟล์เสียหาย ให้พิมพ์ Dism /Online /Cleanup-Image /RestoreHealth ซึ่งตัว DISM จะดาวน์โหลดไฟล์ที่ปกติมาแทนไฟล์ที่เสียหายจาก Microsoft

– ถ้ายังไม่เจอไฟล์เสียหายให้สแกนลึกลงไปอีก Dism /Online /Cleanup-Image /ScanHealth ถ้าเจอแล้วก็ค่อยใช้คำสั่ง Dism /Online /Cleanup-Image /RestoreHealth

และนี่คือ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมไฟล์ของ Windows เริ่มจากการซ่อมไฟล์ในไดรฟ์ด้วย CHKDSK แล้วตามด้วยการซ่อมแซมไฟล์ระบบ SFC สุดท้ายคือการดาวน์โหลดไฟล์ปกติมาแทนที่ไฟล์เสียด้วย DISM เท่านี้ก็ถือว่าน่าจะเพียงพอในระดับหนึ่งแล้วล่ะ แต่ถ้ายังซ่อมแซมไม่ได้จริง ๆ ผมขอแนะนำให้ทำการติดตั้ง Windows ใหม่อีกครั้งครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Makeuseof

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า