4 เสียงเจ้าปัญหา ในเครื่อง PC และวิธีแก้ไขเบื้องต้น สำหรับเหล่าเกมเมอร์มือใหม่

เหล่าเกมเมอร์หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหากับเสียงแปลก ๆ ในเครื่อง PC มาบ้างแล้วนะครับ วันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดูว่าเสียงเหล่านี้มันเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

เสียงคลิกและขูดขีด

ฮาร์ดดิสก์ (HDD) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอันเก่าแก่บน PC จุดเด่นของมันคือความจุที่มากกว่าในราคาที่ถูกกว่า แต่เนื่องจากว่าการทำงานของมัน จะอาศัยจานหมุนและหัวอ่านในการอ่านเขียนข้อมูลต่าง ๆ และด้วยมันเป็นอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหว จึงทำให้เราได้ยินเสียงออกมาเหมือนเสียงหมุนแผ่นจากเครื่องอ่าน CD/DVD

อย่างไรก็ตาม เวลาที่ HDD เสีย เราอาจจะได้ยินเสียงคลิก หรือเสียงแผ่นแม่เหล็กที่ถูกขูดขีด ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า HDD กำลังจะพังแล้ว ให้รีบสำรองข้อมูลไว้โดยด่วนครับ

 

เสียงจี่

เสียงจี่นับว่าเป็นเสียงยอดฮิตสำหรับเกมเมอร์มือใหม่เกือบทุกราย ซึ่งเสียงดังกล่าวเกิดจากการที่พลังงานไฟฟ้าไหลเข้าสู่ขดลวดแม่เหล็กใน PSU หรือการ์ดจอ พลังงานนี้ทำให้ขดลวดสั่นและส่งเสียงจี่ออกมา ความดังของเสียงจี่จึงขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ยิ่งไหลผ่านมากเสียงจะยิ่งดัง เพราะฉะนั้นเราจะได้ยินเสียงจี่ชัดมากเวลาเล่นเกมครับ

แล้วมันเป็นปัญหาหรือเปล่า ? จากที่อธิบายมาทั้งหมด เสียงนี่คือกลไกการทำงานตามปกติของ PSU และการ์ดจอ ดังนั้นมันไม่ใช่อาการที่ผิดปกติแต่อย่างใด ยกเว้นถ้าเรารู้สึกรำคาญมากและยังอยู่ในช่วงเวลาที่เคลมได้ ก็ลองติดต่อไปยังศูนย์ของแบรนด์อุปกรณ์นั้น เขาอาจจะเปลี่ยนอุปกรณ์ตัวใหม่มาให้เราก็ได้นะ

 

เสียงโรงงาน

ชื่อนี้ผมตั้งเอง มันคือเสียงของพัดลมในเคสที่ดังจนเกินไป ราวกับว่าเราอยู่ในโรงงานที่มีเครื่องจักรทำงานตลอดเวลา โดยปกติแล้วถ้าเราปล่อยให้พัดลมทำงานอัตโนมัติ มันจะปรับเพิ่มรอบตามความร้อนภายในเครื่อง ยิ่งเครื่องร้อนมาก พัดลมจะหมุนแรงขึ้นและดังขึ้น

เพราะฉะนั้น หากจู่ ๆ ได้ยินเสียงพัดลมดังขึ้นเรื่อย ๆ ให้ลองเช็คความร้อนภายในเคสและอุปกรณ์อื่น ๆ ดู นอกจากนี้ อาจจะลองเช็คซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานของพัดลม เพราะมันอาจจะเอ๋อ ๆ อ๊อง ๆ ทำงานผิดปกติได้

อีกหนึ่งทางเลือกคือการเลือกตั้งค่ารอบพัดลมด้วยตัวเอง จะช่วยให้เราควบคุมรอบพัดลมได้ดีขึ้น รวมไปถึงการเลือกใช้พัดลมที่ผู้ผลิตเคลมว่าให้เสียงการทำงานที่เบากว่ารุ่นทั่วไป ก็ช่วยลดเสียงโรงงานนี้ได้ครับ

 

เสียงบี๊ป

กระบวนการนี้เรียกว่า Power-on self-test (POST) แปลง่าย ๆ คือ การทดสอบระบบด้วยตนเองหลังเปิดเครื่อง ซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานก่อนเข้าสู่ Windows หากพบอาการผิดปกติ จะแสดงขึ้นเป็นเสียงบี๊ปหรือโค้ดบนเมนบอร์ด ** ยกเว้นบางคนประกอบคอมเอง แล้วลืมใส่ลำโพงเล็ก ๆ เข้าไปบนเมนบอร์ด ก็จะไม่ได้ยินเสียงบี๊ปเวลาเกิดข้อผิดพลาด **

เสียงบี๊ปแต่ละตัวจะบ่งบอกถึงปัญหาที่แตกต่างกันโดยดูจาก ลิ้งก์นี้ ครับ เมื่อทราบปัญหาแล้วก็ตามแก้ไข้ให้เรียบร้อยครับ

และนี่คือเสียงทั้ง 4 ที่เกมเมอร์หลายคนน่าจะเคยประสบพบเจอมานะครับ คิดว่าในบทความนี้น่าจะช่วยอธิบายถึงที่มาและวิธีการแก้ไขเบื้องต้นได้ หากใครมีเสียงแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมก็สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.makeuseof.com/tag/noise-inside-computer/

Related articles

HOW TO: เข้าไบออสง่าย ๆ ไม่ต้องกดคีย์ลัด ด้วย Shortcut บน Windows !!

สำหรับใครที่กดคีย์ลัดเข้าไบออสไม่เคยจะทัน หรือโน้ตบุ๊กบางรุ่นเราก็ไม่รู้ปุ่มคีย์ลัดของมัน วันนี้แอดมีวิธีเข้าไบออสผ่านชอร์ตคัตบน Windows ง่าย ๆ ถ้าเผลอหลุดเข้ามาใน Windows ก็กดชอร์ตคัตไปได้เลยครับ เริ่มแรกบนหน้าเดสก์ท็อป...

Black Myth: Wukong การ์ดจอต้องแรงแค่ไหนถึงเอาอยู่

เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์แห่งปีอย่าง Black Myth: Wukong โดยตัวเกมจะมาในแนว RPG ที่ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่เราทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี...

MSI โชว์แรม DDR5 CAMM2 ปฏิวัติวงการคอม – แรงกว่า, ประหยัดไฟกว่า, ซ่อมง่ายกว่า ไม่ขวางทางลม !!

จากการเปิดตัวไปในงาน Computex 2024 แรมชนิดใหม่ DDR5 CAMM2 กำลังเข้ามาปฏิวัติวงการประกอบคอม ซึ่งทาง MSI...

Windows ติดบั๊ก ทำให้ AMD Ryzen แรงลดลง หากไม่เข้าถึงสิทธิ์ Admin

พักหลังที่ Windows 11 เริ่มเสถียร ก็ไม่ค่อยมีบั๊กที่ทำให้ซีพียูหรือการ์ดจอแรงลดลงแล้วนะครับ แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะมีการค้นพบบั๊กใหม่ ที่กระทบต่อความแรงของซีพียู AMD Ryzen...

6 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ AMD Ryzen 9000 Series – จัดเลยไหมหรือรอต่อไป ??

ก่อนหน้านี้เราน่าจะได้เห็นผลทดสอบของ Ryzen 9000 Series กันไปบ้างแล้ว และน่าจะมีแผนอัปเกรดในอนาคต เดี๋ยววันนี้แอดจะพาไปดูเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อซีพียูรุ่นใหม่จากค่าย AMD กันครับ Single-Core...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า