PR : โครงการได้ยึดสินค้าปลอมแปลงในประเทศอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม

โครงการได้ยึดสินค้าปลอมแปลงในประเทศอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม

มูลค่ากว่า 7.177 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 220.48 ล้านบาท ในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา

 

ประเทศไทย, กรกฎาคม 2562 — เอชพี รายงานการปฏิบัติงานในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมาของโครงการป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบของ HP (ACF) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ปลอมแปลงรวมมูลค่ากว่า 7.177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 220.48 ล้านบาท) โครงการนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อต่อต้านการผลิต การจำหน่ายหมึกปลอมและอุปกรณ์การพิมพ์อื่นๆ ตลอดจนสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในภูมิภาคนี้

 

ในปี 2560 ยอดขายสินค้าลอกเลียนแบบจากทั่วโลกสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37.2 ล้านล้านบาท) และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.82 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 56.4 ล้านล้านบาท) ในปี 2563[1] เอชพีได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐดำเนินการตรวจค้นมากกว่า 17 ครั้งและจับกุมได้ทั้งสิ้น 5 รายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สินค้าปลอมแปลงที่ถูกยึดประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ตลับหมึกพิมพ์ทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์และ  ชุดฉลากต่างๆ

ตลับหมึกพิมพ์ปลอมเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผู้บริโภคและธุรกิจ การใช้หมึกปลอมสามารถทำให้เครื่องพิมพ์เกิดความเสียหาย ทำงานผิดปกติและส่งผลให้การรับประกันเครื่องพิมพ์เป็นโมฆะ และที่สำคัญยังสามารถทำให้ธุรกิจสูญเสียรายได้และการทำงานสะดุดโดยที่ไม่จำเป็น

 

เอชพี ดำเนินการตรวจสอบและตรวจค้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดห่วงโซ่ของการปลอมแปลง และเพิ่มการปกป้องลูกค้าและผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์ของเอชพี โครงการนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงให้ลูกค้าและคู่ค้าที่อาจจะซื้อผลิตภัณฑ์ตลับหมึกพิมพ์และหมึกปลอมโดยไม่ตั้งใจ และยังป้องกันและลดจำนวนสินค้าปลอมเข้าสู่ตลาด

 

นอกเหนือจากการบังคับใช้ด้านกฎหมายและการตรวจค้นแล้ว ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางที่เป็นลูกค้าเอชพียังสามารถขอให้มีการตรวจสอบสินค้าที่จัดส่งให้ลูกค้า (Customer Delivery Inspection หรือ CDI) หากสงสัยว่ามีผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบรวมอยู่ในการจัดส่ง

 

เอชพี ยังดำเนินการอย่างเคร่งครัดในการปกป้องคู่ค้า ตัวแทน และลูกค้าจากผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต ผ่าน Channel Partner Protection Audits (CPAA) ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบคู่ค้าของเอชพี โดยคู่ค้าที่ผ่าน CPAA สามารถนำไปยืนยันกับลูกค้า เป็นการสร้างความมั่นใจทั้งกับคู่ค้าและลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์และโทนเนอร์ ที่ได้รับเป็นของแท้ 100 เปอร์เซ็นต์

 

โครงการ ACF ของเอชพี มีเป้าหมายเพื่อปกป้องธุรกิจจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อผลิตภัณฑ์ของปลอม และเพื่อให้มั่นใจว่า การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์เป็นของแท้ ผู้ประกอบการและลูกค้า สามารถปฏิบัติดังนี้

  • ระวังวิธีการขายที่น่าสงสัย เช่น การขายจำนวนมากในเว็บไซต์ การประมูลออนไลน์และการลดราคาอย่างผิดปกติ
  • สั่งซื้อจากคู่ค้าที่ได้รับอนุญาตของเอชพีเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ
  • ระบุขอผลิตภัณฑ์เอชพีของแท้เท่านั้น เมื่อทำการสั่งซื้อหรือประมูล

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์หรือโทนเนอร์ HP ของแท้ หรือต้องการรายงานของปลอม และช่วยกันป้องกันการโกง สามารถคลิกไปที่: https://ssl.www8.hp.com/h22234/auth/ok

[1]การวิจัยและการตลาด, รายงานการปลอมแปลงแบรนด์ระดับโลก, 2018, ธันวาคม 2017

Related articles

realme เสริมทัพ Portrait Master! เตรียมนำเข้ารุ่นเล็กสเปกคุ้ม ทั้ง “realme 12 5G” และ “realme 12X 5G” กับ Lossless 3X Zoom รุ่นแรกในระดับราคาเดียวกันพร้อมรองรับ 5G ในราคาหลักพัน

กรุงเทพฯ 18 เมษายน 2567 – หลังสร้างปรากฏการณ์The New Portrait Masterที่มาพร้อมแคมเปญกิจกรรมการถ่ายภาพสุดปังแห่งปี Make It Real!สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการสมาร์ตโฟนเมืองไทยไปตามคาด...

AIS เผยข้อมูลการใช้งาน สงกรานต์ 67 คึกคัก เย็นฉ่ำทั่วไทย ถนนข้าวหลามครองแชมป์คนใช้งานเน็ตสูงสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติปักหมุดเล่นน้ำยอดโตพุ่ง 38%

AIS เปิดพฤติกรรมการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ของลูกค้าและคนไทย โดยได้จัดเต็มโครงข่าย ทั้งมือถือและเน็ตบ้านสาดสัญญาณฉ่ำตลอดเทศกาล ครอบคลุมโมเมนต์ความสุขทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปีนี้พฤติกรรมการใช้งานของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่ามีการกระจายตัวของการใช้งานในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ...

OPPO เปิดตัวนวัตกรรม AI ที่งาน Google Cloud Next ’24 นำเสนอโมเดล Gemini ของ Google บนโทรศัพท์ AI

l OPPO และ OnePlus ร่วมมือกันเพื่อนำประสบการณ์โทรศัพท์ AI ใหม่มาสู่ผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน l...

โปรแกรมสมนาคุณ Genius ช่วยประหยัดงบได้! Booking.com แชร์เคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณได้รับข้อเสนอสุดพิเศษ ยกระดับการเดินทางให้น่าประทับใจยิ่งขึ้น

จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เดินทางเพื่อคาดการณ์เทรนด์การเดินทางท่องเที่ยวในปี 2567 ของ Booking.com พบว่าเทรนด์ ‘ขอให้ได้ลุ้น’ หรือ ‘Surrender Seekers’ เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้เดินทางชาวไทยที่ต้องการปล่อยใจไปกับความเซอร์ไพรส์...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า