[เรื่องน่ารู้] 3 เทคโนโลยีทางเลือก สำหรับการผลิตซีพียูในอนาคต

หลังจากที่การผลิตซีพียูด้วยซิลิคอนถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่สุดท้ายก็ต้องถึงเวลาปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ ด้วยข้อจำกัดของขนาดทรานซิสเตอร์ ที่ไม่อาจเล็กลงไปได้มากกว่านี้ (ว่ากันว่าถ้าเล็กกว่า 5 นาโนเมตรจะเริ่มไม่เสถียร หรือไม่สามารถใช้งานได้จริง) จึงต้องหาเทคโนโลยีอื่นมาใช้แทนครับ

ทีนี้เรามาดูเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแทนที่ซิลิคอนกันครับ

1. ควอนตัม

เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับการเสนอชื่อให้นำมาใช้แทนที่ซิลิคอนมากที่สุด เทคโนโลยีควอนตัมจะอาศัยกฎของฟิสิกส์ในการประมวลผลข้อมูลที่เราเรียกว่า Qubit ซึ่งมีศักยภาพสูงกว่าชิปซิลิคอนมากเลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดยังมีค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเสถียร หรือการพัฒนามาใช้ในระดับ Consumer ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้ ชิปควอนตัมจึงยังไม่น่าจะถูกนำมาใช้ในคอมทั่วๆ ไปครับ

 

2. กราฟีน

กราฟีนเป็นคาร์บอนรูปแบบหนึ่งที่มีการจัดเรียงตัวแบบโครงสร้างแลคทิซหก ที่มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดียิ่งกว่าซิลิคอน แถมยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย

แต่ปัญหาหลักของกราฟีนคือเรื่อง Binary information เพราะปกติแล้วทรานซิสเตอร์ในชิปซิลิคอน จะสามารถเปิดและปิดสวิตช์ได้ เป็นเลข 0 และ 1 แต่ในกราฟีนไม่สามารถทำแบบนั้นได้ กราฟีนจึงอาจจะยังไม่เหมาะนำมาใช้ผลิตชิป อย่างน้อยก็ในตอนนี้

 

3. แม่เหล็กไฟฟ้า

Nanomagnetic Logic เป็นการทำชิปที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า มันจะสามารถทำงานได้ไม่ต่างจากิปซิลิคอน คือสามารถเปิดและปิดสวิตช์ เป็นเลข 0 และ 1 ได้ ผ่านการสับเปลี่ยนขั้วแม่เหล็ก แถมการทำงานของมันยังไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า จึงใช้พลังงานค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจึงเหมาะที่สุดในตอนนี้ครับ

ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ Intel เองก็เป็นหัวหอกในการพัฒนาชิปควอนตัมเสียด้วย เราอาจจะได้เห็นชิปควอนตัมในคอมบ้านในไม่ช้า หรืออาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้ Nanomagnetic Logic ก่อนก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Make Use of

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า