AMD เปิดตัวซีพียู EPYC Rome “7002” สถาปัตยกรรม 7nm แกนประมวลผลสูงสุดที่ 64C/128T

ล่าสุดวันนี้ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู EPYC Rome “7nm” เพื่อแข่งขันกับซีพียู Intel Xeon 14nm ในตลาดเซิร์ฟเวอร์ ประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลย

สำหรับเรื่องโครงสร้างของสถปัตยกรรมผมจะขอข้ามไปนะครับ เราไปดูที่ฟีเจอร์ของซีพียูกันดีกว่า ตัวท็อปในนี้คือรุ่น EPYC 7742 มีแกนประมวลผลอยู่ที่ 64 Cores/128 Threads 2.25/3.4 GHz ค่า TDP 225W ส่วนรุ่นเริ่มต้น จะอยู่ที่ 8 Cores/16 Threads

ทาง AMD เคลมว่าประสิทธิภาพของมันจะแรงกว่ารุ่นเก่าอยู่ประมาณ 1.8-2 เท่า และให้ประสิทธิภาพต่อราคามากกว่า 2 เท่าเสียอีก แถมยังลดความล่าช้าในการประมวลผลคำสั่งลงได้ถึง 40-50% รองรับแรม 8 Cahnnel 3200MHz และมี PCIe gen 4 มาให้มากถึง 128 เลน

นอกจากนี้ ยังมีผลทดสอบจาก Anandtech ทาง AMD ก็ได้คะแนนมากกว่าเกือบทุกส่วนเลยครับ

ส่วนเรื่องของราคา ตามตารางด้านล่างนี้ เมื่อเทียบตัวท็อปอย่าง EPYC 7742 ที่มีราคา 6950 ดอลลาร์แล้ว ยังถูกกว่า Intel Xeon Platinum 8180 28-Core ที่มีราคาแพงกว่าถึง 3,000 ดอลลาร์ และไม่ต้องพูดถึง Cascade Lake 56-Core อันนั้นเปิดที่ 20,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว

CPU Name Cores / Threads Base Clock Max Boost Clock Cache TDP Stepping OPN US Price
EPYC 7742 64 / 128 2.25 GHz 3.40 GHz 256 MB 225W SSP-B0 100-000000053 $6950
EPYC 7702 64 / 128 2.00 GHz 3.35 GHz 256 MB 180W SSP-B0 100-000000038 $6450
EPYC 7702P 64 / 128 2.00 GHz 3.35 GHz 256 MB 200W SSP-B0 100-000000047 $4425
EPYC 7642 48 / 96 2.40 GHz 3.40 GHz 256 MB 225W SSP-B0 100-000000074 $4775
EPYC 7552 48 / 96 2.20 GHz 3.35 GHz 192 MB 180W SSP-B0 100-000000076 $4025
EPYC 7542 32 / 64 2.90 GHz 3.40 GHz 128 MB 225W SSP-B0 100-000000075 $3400
EPYC 7502 32 / 64 2.50 GHz 3.35 GHz 128 MB 180W SSP-B0 100-000000054 $2600
EPYC 7502P 32 / 64 2.50 GHz 3.35 GHz 128 MB 180W SSP-B0 100-000000045 $2300
EPYC 7452 32 / 64 2.35 GHz 3.35 GHz 128 MB 155W SSP-B0 100-000000057 $2025
EPYC 7402 24 / 48 2.80 GHz 3.35 GHz 128 MB 180W SSP-B0 100-000000046 $1783
EPYC 7402P 24 / 48 2.80 GHz 3.35 GHz 128 MB 180W SSP-B0 100-000000048 $1250
EPYC 7352 24 / 48 2.30 GHz 3.20 GHz 128 MB 155W SSP-B0 100-000000077 $1350
EPYC 7302 16 / 32 2.80 GHz 3.30 GHz 128 MB 155W SSP-B0 100-000000043 $978
EPYC 7302P 16 / 32 2.80 GHz 3.30 GHz 128 MB 155W SSP-B0 100-000000049 $825
EPYC 7282 16 / 32 2.00 GHz 3.20 GHz 64 MB 120W SSP-B0 100-000000078 $650
EPYC 7272 12 / 24 2.60 GHz 3.20 GHz 64 MB 120W SSP-B0 100-000000079 $625
EPYC 7262 8 / 16 3.20 GHz 3.40 GHz 128 MB 155W SSP-B0 100-000000041 $575
EPYC 7252 8 / 16 2.80 GHz 3.20 GHz 64 MB 120W SSP-B0 100-000000080 $475
EPYC 7252P 8 / 16 2.80 GHz 3.20 GHz 64 MB 120W SSP-B0 100-000000081 $450

นับว่าทำการบ้านมาได้ดีมาก สำหรับ AMD EPYC 7nm ได้ยินมาว่ามีหลายเจ้าที่ดีลนำ EPYC ไปใช้งานกันเยอะเลยทีเดียว หวังว่าปีนี้ AMD จะสามารถทำกำไรได้จากตลาดเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเยอะๆ นะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wccftech

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า