ทำไม AMD FreeSync ถึงเหนือกว่า Nvidia G-Sync ในด้านการเลือกมอนิเตอร์และราคา

ทำไม AMD FreeSync ถึงเหนือกว่า Nvidia G-Sync ในด้านการเลือกมอนิเตอร์และราคา

 

หากคุณพึ่งซื้อการ์ดจอจากทาง Nvidia จากสายพันธ์ Pascal-based GeForce graphics cards เช่นรุ่น GTX 1070, และกำลังมองหามอนิเตอร์ที่ต้องรองรับ G-Sync ด้วย.

มาดูกันว่ามันมีรุ่นไหนบ้าง, บรรดา PC gamers ทั้งหลายคงอิจฉาทางฝั่งแดงถึงเรื่องนี้. หากเทียบกับ G-Sync monitors, และที่รองรับ AMD’s FreeSync adaptive sync tech นั้นดันมีราคาที่ถูกกว่า, แถมมีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกเต็มไปหมดและจะเอาแบบขั้นธรรมดายันขั้นเทพก็มีมาให้เลือกเต็มที่ ใน website 144HzMonitors นั้นมี G-Sync monitors มาให้เลือกถึง 20 รุ่นเทียบกับ FreeSync monitors ที่มีมากกว่าถึง 85 รุ่น, ทั้งยังหลากหลายไปด้วยขนาดของหน้าจอ, refresh rate, และค่าความละเอียด/resolution.

ทำไมถึงแตกต่างกันมากขนาดนั้น? เหตุเพราะว่าตัวต้นแบบหรือ hardware module ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของทาง Nvidia ต้องขึ้นราคามอนิเตอร์เพราะว่าค่า licensing fees หรือลิขสิทธิ์, แต่นั้นก็ยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด. Nvidia นั้นหากมองให้ดียังไม่ใช่เจ้าตลาดการ์ดจอเสียทีเดียว, คุณอาจจะคิดว่าผู้ผลิตมอนิเตอร์จะทำสายพันธ์ G-Sync ไว้ใน มอนิเตอร์ FreeSync และให้ผู้ใช้ GeForce เป็นผู้รับภาระในส่วนของ module cost. เราได้คุยกับผู้ผลิตมอนิเตอร์ทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะมันเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น. เหตุผลหลักที่ทำให้ระบบหรือสินค้า G-Sync นั้นมีจำนวนจำกัดเป็นเพราะว่า ทางด้าานการออกแบบ และการพัฒนา นั้นมันมีข้อจำกัดมากเทียบเท่ากับต้นทุนทางด้านราคาของตัว module นั้นเอง หรือจะกล่าวให้ชัดอีกทีก็คือทางด้านต้นทุน.

G-Sync vs. FreeSync สำหรับ refresher

ทาง PCWorld เคยได้ตีบทความทางด้านรายละเอียดเกี่ยวกับ G-Sync และ FreeSync, แต่ในส่วนสำคัญทางด้านเทคโนโลจีของทั้งสองนั้นคือการให้ตัวการ์ดจอนั้นสามารถให้มอนิเตอร์ได้ปรับปรุงหรือปรุงแต่งทางด้าน refresh rate ของตัวมันเองให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้, และต้องควบคู่หรือสามารถรองรับการประมวลผลของ PC’s framerate ณ ปัจจุบันด้วยเช่นกัน. ด้วยวิธีนี้สามารถป้องกันการเกิด screen tearing effect หรือภาพขาด หากตัว refresh rate และ framerate นั้นไม่เข้าขากันใน sync, และส่วนใหญ่ก็ป้องกันการเกิดภาพกระตุก/eliminates stutter, ทั้งหมดนี้จะทำให้ภาพเคลื่อนไหวในจอทำได้ลื่นไหลในเกมส์เพลย์.

qz2

G-Sync นั้นต้องอาศัย hardware module เพื่อการรองรับหรือกระทำต่อ refresh rates เพื่อการรองรับการทำงานร่วมกับทุกๆรุ่นมอนิเตอร์. ด้วยระบบ FreeSync, ตัว module หรือตัวต้นแบบหรือตัวแปรไม่ต้องการ, เป็นเพราะมันใช้ variable refresh rate tech/แบบปรับตัวเองหรืออิสระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานของ DisplayPort standard (และ HDMI ). แต่ว่าไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตัวฮาร์ดแวร์เพียงอย่างเดียวที่ทำให้ FreeSync monitors นั้นถูกกว่าและมีตัวเลือกที่พร้อมมากกว่า.

Design costs

ผู้ผลิตบางรายออกมากล่าวว่า Nvidia’s module นั้นต้องการพื้นที่ในตัวมอนิเตอร์มากกว่า. แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง, การที่จะออกแบบหรือทำสินค้าที่เป็นเวอร์ชั่นแบบ custom design นั้นสำหรับมอนิเตอร์รุ่นหนึ่งเฉพาะย่อมที่จะมีต้นทุนที่มากกว่าแน่นอน, กล่าวโดยนาย Minhee Kim, หัวหน้าฝ่าย LG’s PC และการตลาดทางด้านมอนิเตอร์และสื่อสาร. หากต้องเปรียบเทียบ, กล่าวโดย Kim, แนวทางของ AMD ดูเหมือนจะเปิดกว้างกว่า, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ผลิตมอนิเตอร์สามารถนำเทคโนโลจีที่ตัวเองมีอยู่นำมาใช้ได้.

“เป็นเพราะว่าผู้ผลิตนั้นสามารถนำเทคดนโลจีของเค้าที่มีอยู่มาปรับใช้เพื่อให้ต้นทุนการผลิตนั้นได้ถูกลงโดยที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนหรือออกแบบใหม่ทั้งหมด,” กล่าวโดย Kim. “สิ่งนี้เป็นอะไรที่ง่ายและสะดวกต่อการขยายไลน์สินค้าแต่ละรุ่นต่อบรรดาเกมส์เมอร์ที่ซีเรียสแถมยังส่งผลดีให้กับผู้ที่มีงบประมาณที่จำกัดในระดับตลาดปานกลางอีกด้วย.”

LG’s FreeSync monitor ได้ออกมาเปิดเผยว่า: ทางบริษัทนั้นได้นำเสนอมอนิเตอร์ระดับ 1080p ที่มีขนาดจอไม่เกิน 30 นิ้วออกมาหลากหลายรุ่นพร้อมด้วยระบบ ultrawide 21:9 aspect ratio, โดยทำราคาได้ที่ $279. แต่หากเป็น G-Sync, จะมีเพียงรุ่นเดียวที่เป็น 1080p ultrawide monitor มีขนาดจอ 35 นิ้วจอโค้งจากทาง Acer ที่มี refresh rate มากกว่าแต่ด้านราคาก็แรงไปถึง $900.

qz3

หรือกล่าวให้ถูกก็คือในรุ่น ultrawide 1080p G-Sync monitor ที่มีราคาถูกที่สุดราคาเกือบจะแตะ $1000.

ไม่ว่าทางผู้ผลิตจะร่วมกันพัฒนาและคิดค้นอย่างไร, สุดท้ายตัวสินค้าก็แพงกว่าอยู่ดี, ซึ่งก็จะทำให้ขายได้น้อยกว่าในจำนวน. ซึ่งแน่นอนทำให้ผู้ผลิตมอนิเตอร์ทั้งหลายต้องทำราคาออกมาเพื่อครอบคลุมต้นทุน กล่าวโดย Jeffry Pettinga, ผู้บริหารทางด้านตลาดและผลิตจาก Iiyama.

“คุณอาจจะคิดว่ายอดขายมีจำนวนถึง 10,000 ชุด แต่ในทางกลับกันหากจะให้ครอบคลุมด้านต้นทุนนั้นอย่างน้อยต้องเป็น 100,000 ชุดขึ้นไป,” กล่าวโดย Pettinga.

เค้ายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า, ตัวมอนิเตอร์นั้นมีการปรับปรุงและพัฒนาตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลา เช่นจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านขอบจอซึ่งสมัยนี้จะแคบลงๆเรื่อยจนกระทั้งแตะขอบหรือไม่มีขอบเอาเลยก็เป็นได้ แต่หากมาทำกับระบบ G-Sync ซึ่งการทำตลาดหรือขายนั้นช้ามาก กว่าคุณจะขายมันได้หมดก็อาจจะทำให้สินค้าที่มีอยู่นั้นตกรุ่นหรือล้าสมัยไปเลยกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน.

“ยกตัวอย่างเช่น คุณนำเสนอรุ่นใหม่ไปเมื่อปีที่แล้วสำหรับสินค้ารูปแบบ G-Sync. ด้านพัฒนากินเวลาไปแล้ว 6 เดือน, และเมื่อเสร็จดันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยน panel หรือจอใหม่เพราะต้องตามยุค. อันนี้ยังไม่ได้เริ่มที่จะขยับไปไหนเลยและยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนด้านพัฒนาเสียด้วยซ้ำ,” กล่าวโดย Pettinga. “มันมีตัวแปรหลายอย่างทางด้านจอหรือ panel.”

Limited flexibility/มีข้อจำกัด

ต้นทุนนั้นก็เรื่องหนึ่ง, ทางผู้ผลิตมอนิเตอร์นั้นรู้สึกได้ถึงข้อจำกัดในการทำสินค้าของตัวเองให้แตกต่างจากคนอื่นสำหรับ G-Sync monitors.

ผู้ผลิตจาก Eizo ก็เป็นอีกเจ้าที่พยายามนำเสนอความแตกต่างในตัว gaming monitors ด้วยรูปแบบ Smart Insight ที่สามารถปรับแต่งค่า gamma/น้อย-สว่าง–มากสว่างน้อน ที่สามารถทำให้ความสว่าวนั้นดีขึ้น, ระบบนี้มาช่วยตรงส่วนที่ภาพเห็นไม่ชัดหรือรายละเอียดน้อยลงเนื่องจาก สว่างมากไปหรือมืดเกินไป. ตรงส่วนนี้หากไม่สามารถทำได้เลยกับระบบ G-Sync, กล่าวโดย Keisuke Akiba, Eizo’s ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสินค้า, เหตุเป็นเพราะว่าด้วยรูปแบบหรือมาตรฐานของ Nvidia’s module นั้นจะจัดการเรื่องการปรับปรุงสีของมันเอง.

“ตัว G-Sync module นั้นจะยอมรับเฉพาะในส่วนของมันเองในด้านการปรับแต่ง แต่ไม่ใช่จากภายนอกของตัวชิปมัน,” กล่าวโดย Akiba. “ระบบแต่งสีของทางเรานั้นต้องการการปรับแต่งที่อิสระไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เราหันไปคบ FreeSync.”

qz4

G-Sync ไม่แนะนำให้ผู้ผลิตมอนิเตอร์นำเสนอระบบปรับแต่งสี ซึ่งจะไม่เหมือนในมอนิเตอร์ของ Eizo.

ผู้ผลิตมอนิเตอร์ยังถูกจำกัดทางด้านช่องเสียบหรือ video inputs ของตัวเองอีกต่างหาก. G-Sync monitors ทั้งหมดจะมี DisplayPort input เพียงหนึ่งชุดเท่านั้น, แต่ในบางกรณีก็มีแถม HDMI แต่จะไม่รองรับการทำ variable refresh rate. คุณจะไม่สามารถหา G-Sync monitors ที่มี inputs มากไปกว่าสอง (หรือการรองรับ DVI). และ G-Sync ยังไม่รองรับ variable refresh rate กับตัว HDMI. สรุปได้ว่า G-Sync monitor ทุกรุ่นจะมี DisplayPort—และนี้ก็ไปเพิ่มต้นทุนให้กับทางผู้ผลิต.

“DisplayPort นั้นมีต้นทุนสูงพอสมควรสำหรับมอนิเตอร์ เหตุเพราะตัวเคเบิ้ล—ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงหากทางผู้ผลิตต้องแถมให้มาพร้อมมอนิเตอร์และต้องออกแบบในส่วนที่เป็นบอร์ดอีกด้วย. หากเทียบแล้ว DisplayPort นั้นยังแพงกว่า HDMI เสียด้วยซ้ำ,” กล่าวโดย Pettinga.

Nvidia กล่าวว่า: ทางเราเห็นว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่าต้นทุน

ในบทสัมพาทย์, Tom Petersen, กรรมการบริหากจากทาง Nvidia’s ด้านการตลาดและเทคนิค, ได้ออกมากล่าวว่า ไม่ได้มีข้อโต้แย้งใดๆสำหรับสิ่งที่บ่นๆกันมาสำหรับการพัฒนาและทำระบบ G-Sync monitors นั้นจะมีต้นทุนที่แพงขึ้น.

แต่ทาง G-Sync นั้นได้วางการตลาดของตัวสินค้าเอาไว้ในระดับ premium. ทางบริษัทได้ยกตัวอย่างออกมาหลายอย่างถึงตัว G-Sync นั้นมันดีกว่า FreeSync, เช่นสามารถรองรับและแก้ไขหากเกิดการตกหรือลดค่าลงมาของ refresh rate—แต่ FreeSync นั้นทำได้ไม่เทียบเท่าแบบเราและทำได้แค่เฉพาะหน้าเท่านั้น—และด้วยระบบนี้จากทาง Nvidia ที่สามารถรองรับและควบคุมการปรับแต่งทางด้านสีหรือภาพมัว เป็นต้น, ซึ่งนาย Petersen ได้ให้ข้อโต้แย้งกับผู้ผลิตที่นำเสนอในส่วนที่ปรุงแต่งสีหรือรายละเอียดให้ดีขึ้นนอกเหนือไปจากตัว module แต่ก็ไม่เทียบเท่าจากทางบริษัทที่นำเสอให้มา.

หากกล่าวถึงทางด้านราคาที่แตกต่างกันระหว่างมอนิเตอร์ที่ใช้ระบบ G-Sync และ FreeSync monitors ตัว module นั้นไม่ใช่ปัญหาแท้จริงสำหรับราคาหรือกระทบน้อยมาก แต่หากเป็นเพราะทางผู้ผลิตตัดสินใจที่จะเพิ่มราคาเข้าไปกันเอง.

“หากให้ทางเรากล่าว ที่เห็น G-Sync monitors นั้นราคาสูงกว่า, สิ่งเดียวที่ทางเราเห็นก็คือ ความคุ้มค่าที่จะมากกว่าราคาที่ทุกคนกลัว. “หรือจะกล่าวได้อีกแนวว่า มอนิเตอร์ที่ถูกวางตัวเอาไว้ในตลาดบน ชิ้นส่วน อุปกรณ์ที่อยู่ด้านใน ไม่ใช่ตัวแปรที่จะทำให้มันมีราคาสูงขึ้นอย่างโดยตรง

qz5

Nvidia กล่าวเอาไว้ว่าตัว module นั้นไม่ใช่เป็นต้นเหตุให้ G-Sync monitors นั้นแพงขึ้น, แถมมันยังมาทดแทนสิ่งที่เคยต้องมีอยู่นั้นออกไปเสียด้วยซ้ำ.

บางที นี้ก็อาจจะฟังขึ้นก็ได้ว่าทำไมราคาถึงได้สูง, แต่ผู้ผลิตมอนิเตอร์ก็ยังให้เหตุผลมาอีกว่า เป็นเพราะต้องมีตัว module นี้และมันไม่สามารถที่จะทำราคาที่ต่ำได้หากยังต้องใช้มันอยู่. G-Sync หากคุณไม่สามารถหามอนิเตอร์ที่มีค่ารีเฟรชเรทที่ 60Hz และค่าความละเอียดน้อยกว่า 4K resolution, ส่วน FreeSync มีมาให้เลือกมากมายในระดับ 1440p และ1080p.

นาย Petersen ยังกล่าวอีกว่า ทางเราไม่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้กับตลาดปานกลางหรือ mid-tier markets. “คุณจะเห็นมอนิเตอร์ที่มีราคาที่ถูกแต่สิ่งที่คุณได้มาก็ไม่ใช่จะดีหรือมีฟังค์ชั่นมากขนาดนี้ หรือ ไม่มีของดีและถูกในโลกใบนี้นั้นเอง มันไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเรา,” กล่าวโดย Petersen. “สิ่งที่เราตั้งเป้าเอาไว้ก็คือ ตลาดระดับพรีเมี่ยม สินค้าที่ผลิตออกมาก็เป็นพรีเมี่ยมเกรด ฉนั้นสิ่งที่คุณได้กลับไป แน่นอนไม่มีอะไรมาแทนที่ได้.”

แน่นนอว่า, ผู้ผลิตบางรายย่อมพอใจหากทาง Nvidia สามารถเพิ่มตัว DisplayPort’s adaptive sync มาใส่ไว้ให้เป็นมาตรฐานอีกตัวหนึ่ง, หากผู้ใช้นั้นไม่ได้ใช้ G-Sync monitor เพื่อที่จะได้ประโยชน์ทางด้าน anti-tearing. สำหรับอันนี้ทาง Petersen กล่าวว่า “ยังไม่ใช่เวลา,” แต่ไม่ได้บอกว่าจะไม่ทำ.

“และทางเราก็ยังยืนยันว่าด้วยระบบ G-Sync นี้สามารถกล่าวได้เต็มที่ว่า มันเยี่ยมและเด่นกว่าระบบ FreeSync ที่นำเสนอให้กับลูกค้าอยู่แล้ว และทางเราก็ไม่มีกลยุทธ์เช่นนั้นเหมือนกัน.”

สำหรับแฟนๆของ Nvidia, คงจะชัดเจนว่าคุณนั้นจ่ายเงินไปให้กับอะไร: หากคุณคือ G-Sync, ก็เตรียมตัวได้เลยสำหรับมอนิเตอร์ระดับพรีเมี่ยมหรือ luxury gaming monitors, เหตุเพราะเทคโนโลจี ณ ขณะนี้มันจะไม่มีทางถูกลงอย่างแน่นอน

ที่มาเครดิต

http://www.pcworld.com/article/3129276/components-graphics/why-amd-freesync-is-beating-nvidia-g-sync-on-monitor-selection-and-price.html

Related articles

[HOW TO] ย้ายเกม Steam จากไดรฟ์ C ไปไดรฟ์ D ง่าย ๆ ไม่เสียเวลาโหลดเกมใหม่ !!

ปัญหาหนึ่งหลายคนอาจจะเคยเจอ คือ ไดรฟ์ C ใกล้เต็มจากการลงเกม Steam แต่ไดรฟ์ D เหลือเยอะมาก...

เคลียร์ชัด! ความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน VS. ข้างนอก

ในปัจจุบันเริ่มมีการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทำให้เราต้องปรับตัวและทำความรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ใครที่เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกไอเทมที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือ ‘ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ EV...

Igor’s Lab เผย การ์ดจอแพงแต่ซิลิโคนห่วย ทำให้เกิดความร้อนสูง เมื่อใช้งานนาน ๆ

เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ร้องเรียนบนเว็บไซต์ Reddit ถึงปัญหาการ์ดจอร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส หลังจากใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ได้นานมาก เป็นหลักเดือน)...

ป้องกัน: Dell Precision 5690 โน้ตบุ๊กระดับ Workstation สเปกโหด สำหรับสายทำงานโดยเฉพาะ

ปัญหาที่พบได้บ่อย สำหรับการหาซื้อโน้ตบุ๊กมาใช้งานเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น Adobe, AutoCAD หรือ Solidworks คือ “ความเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์”...

เจาะลึก “AMD Ryzen 9000 Series” และเมนบอร์ด AM5 800 Series จากงาน AMD Tech Day

สัปดาห์ที่ผ่านมา แอดได้ไปงาน AMD Tech Day ซึ่งเขาได้เจาะลึกเทคโนโลยีของ AMD ทั้งซีพียู Ryzen,...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า