AMD ปล่อยไดรฟเวอร์เพื่อรองรับ NVMe RAID บน X399, Threadripper platform

ตามสัญญาทาง AMD ปล่อยซอร์ฟแวร์ใหม่เพื่อมาขับเคลื่อน NVMe RAID driver ผู้ใช้สามารถนำไปสร้าง NVMe arrays ที่สามารถรองรับการใช้งานได้ไว้บน X399, Threadripper platform. ด้วยวิธีใหม่นี้ผู้ใช้จำเป็นต้องดาวน์โหลดไดรฟเวอร์ที่เหมาะสมจากทาง AMD, แล้วทำการ backup และยกเลิกการใช้งาน SATA RAID – ขอเตือนว่าคุณจะไม่สามารถใช้ dual SATA และ NVMe RAID บนระบบของคุณและไม่ว่าจะเป็น X399 motherboard รุ่นใดก็ตามถ้าจะนำมาใช้งานหรือรองรับวิธีการใหม่นี้, สามารถรองรับ NVMe drives ได้ทุกรุ่นไม่มีข้อจำกัดสามารถใช้งานได้หมด, แต่ระบบปฏิบัติการหรือ OS ของคุณต้องเป็น Windows 10 (build 1703).

การติดตั้งซอร์ฟแวร์ใหม่หรือ installation สามารถกระทำผ่านทาง BIOS (ขึ้นอยู่กับ BIOS ของแต่ละโรงงานด้วยที่ปล่อยออกมาให้ใช้และ QA schedules – หรือผ่านทางซอร์ฟแวร์ที่เป็นของ AMD RAIDXpert2 software. คุณจะสามารถเลือกการใช้งานได้มากถึง สามโหมดสำหรับ RAID: RAID0 (striping), RAID1 (mirroring), และ RAID10 (striping กับ mirroring). RAID10, จะเป็นรูปแบบ, ต้องมี 4 หรือ 6 NVMe devices. ทาง AMD ประเมินค่่าเอาไว้สำหรับ RAID read scaling ไว้ที่เกือบ 100%,และ 90% สำหรับ write scaling รองรับได้มากถึง 6 NVMe drives  (1-6x Samsung 960 Pro NVMe SSD แต่ละตัว 512 GB). ทำความเร็ว 21.2 GB/s read, และ 11.53 GB/s writes สำหรับ 6x NVMe SSD RAID. หากคุณต้องการระบบจัดเก็บที่สุดยอดหรือ ultimate storage system อันนี้คงรู้แล้วว่าจะหาได้ที่ไหนและทำยังไง.

RAID0 (striping)คือการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วนำแต่ละส่วนไปเก็บใน harddisk แต่ละตัว การทำ striping นี้จะช่วยให้การอ่าน หรือเขียนข้อมูลใน disk array มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะแต่ละไฟล์จะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ กระจายไปเก็บในส่วนที่ต่างกันของ harddisk หลายตัว โดย harddisk เหล่านั้นทำงานไปด้วยกันแบบขนาน (parallel) จึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นเร็วกว่า harddisk แบบตัวเดียวอย่างแน่นอน

RAID1 (mirroring) RAID 1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า disk mirroring จะประกอบไปด้วย harddisk 2 ตัวที่เก็บข้อมูลเหมือนกันทุกประการ เสมือนการสำรองข้อมูล หาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ระบบก็ยังสามารถดึงข้อมูลจาก harddisk อีกตัวหนึ่งมาใช้งานได้ตามปกติ สำหรับ RAID controller ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว การเขียนข้อมูลลง harddisk 2 ตัวในเวลาเดียวกัน จะใช้เวลาพอๆ กับการเขียนข้อมูลลง harddisk ตัวเดียว ในขณะที่เวลาในการอ่านก็จะน้อยลง เพราะ RAID controller จะเลือกอ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวไหนก็ได้ โดยหากมีคำสั่งให้อ่านข้อมูล 2 ชุดในเวลาเดียวกัน ตัว RAID controller ก็สามารถประมวลผลคำสั่งเพื่ออ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวหนึ่ง และคำสั่งอีกชุดนึงจาก harddisk อีกตัวนึงก็ได้ จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม

RAID 10 หรือ RAID 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย ข้อเสียของ RAID 10 คือการเพิ่มจำนวน harddisk ในอนาคตเป็นไปได้ยาก เพราะ harddisk แต่ละตัวมี mirror เป็นของตัวเอง ยิ่งเพิ่ม harddisk เพื่อใช้งานก็ต้องเพิ่ม harddisk เพื่อ backup ไปด้วย เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก และไม่ต้องการความจุมากนัก

อ้างอิงจาก – https://www.overclockzone.com/spin9/raid/

 

ที่มาเครดิต/Sources:

https://www.techpowerup.com/237504/amd-enables-nvme-raid-on-x399-platform

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า