AMD เปิดตัว Ryzen Threadripper 2000 series ประสิทธิภาพแรงขึ้น อัดแน่นด้วยแกนประมวลผลขั้นสุดยอด!!

หลังจากที่ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen ระดับ Mainstream ไปแล้ว ก็มีถึงคราวของซีพียูในกลุ่ม Workstation อย่าง AMD Ryzen Threadripper 2000 series ที่ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมภายในซีพียูให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สานต่อความสำเร็จ

ในปี 2017 ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen Threadripper ออกมาครั้งแรก โดยมั่นหมายให้เป็นซีพียู Workstation ประสิทธิภาพสูง ในราคาที่เหมาะสม ด้วยหัวหอกอย่าง Threadripper 1950X สร้างปรากฏการณ์ด้วยแกนประมวลผล 16 Cores/32 Threads ในราคา 999 ดอลลาร์ ทิ้งห่างจากคู่แข่งอย่าง Intel Core i7-6950X อย่างขาดลอย

 

พัฒนาขั้นต่อไป

และเพื่อพัฒนาให้ซีพียูมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก ก็ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตชิปใน Gen 2 แบบ 12nm ที่ใช้ไฟน้อยลง สำหรับในซีรี่ส์ X ก็ยังคงเป็นซีพียู 16 Cores/32 Threads พร้อมด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น ราคาถูกลงกว่า 100 ดอลลาร์

เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Intel Core i7-7900X พบว่า Ryzen Threadripper 2950X ยังได้ผลการทดสอบที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการเล่นเกมอาจจะยังสู้ไม่ได้เท่าไร เนื่องจากไม่ได้ใช้แกนประมวลผลครบทั้งหมด

 

รุ่นใหม่ ซีรี่ส์ WX

และในการเปิดตัวซีพียู Gen ใหม่นี้ ก็ยังมาพร้อมกับซีพียูอันทรงพลังอีก 2 รุ่น ในซีรี่ส์ใหม่ WX ที่เคยเป็นชื่อในกลุ่มการ์ดจอ Radeon Pro เพื่อบ่งบอกถึงการออกแบบมาเพื่องาน Workstation โดยเฉพาะ ได้แก่ Threadripper 2990WX 32 Cores/64 Threads และ Threadripper 2970WX 24 Cores/48 Threads โดดเด่นด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 3.0 GHz และบูสต์ได้สูงสุดถึง 4.2 GHz

เมื่อเปรียบเทียบเรือธงของค่ายฟ้า Intel Core i9-7980XE ที่มีราคา 1999 ดอลลาร์ กับ Threadripper 2990WX รุ่นท็อปของทาง AMD ที่ราคา 1799 ดอลลาร์ จะเห็นว่าทาง AMD ได้คะแนนนำในหลายการทดสอบ

 

รองรับ Ryzen Master และ Game mode

การปรับปรุงในเรื่องการออกแบบชิปของ Threadripper Gen 2 คือการเปิดใช้ Die ให้ครบทั้ง 4 ตัว เทียบเท่ากับซีพียู EPYC นั่นทำให้การทำงานร่วมกับแรมและการ์ดจอ เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังรองรับการปรับแต่งความเร็วผ่านโปรแกรม Ryzen Master ด้วย

นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอของโหมดในการเล่นเกม หรือ Game mode เนื่องจากว่าในกรณีที่ Threadripper เปิดใช้งาน Die ครบทั้ง 4 ตัว การเชื่อมต่อผ่านแรมจะได้แบนด์วิดธ์เยอะขึ้น แต่ทำให้ค่า Latency เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่า Latency ที่สูงนี้ การเปิด Game mode จะช่วยลดค่าดังกล่าวได้ โดยการเลือกใช้ Die เพียง 1 ตัว

การทำงานของซีพียู ก็จะเปรียบเสมือนซีพียู 8 Cores/16 Threads ที่ให้ประสิทธิภาพในการเล่นเกมดีเท่ากับ Ryzen 7 2700X เลยทีเดียว

 

พบกันสิงหาคม และตุลาคมนี้

สำหรับกำหนดการเปิดตัวในเดือนสิงหาคม จะประกอบด้วยรุ่น Threadripper 2990WX และ 2950X ส่วนรุ่น 2970WX และ 2920X จะเปิดตัวในเดือนตุลาคมครับ

ใครที่สนใจนะครับ เดี๋ยวรอร้านค้าออนไลน์ทำการอัปเดตเว็บไซต์กันอีกที คงได้เจอกันในเร็วๆ นี้

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า