PR: ASRock H570 PHANTOM GAMING 4 ก้าวสู่ความเป็นเกมเมอร์และ Creator มืออาชีพ

ASRock H570 PHANTOM GAMING 4

ก้าวสู่ความเป็นเกมเมอร์และ Creator มืออาชีพ

 

ASRock H570 Phantom Gaming 4 เมนบอร์ดสายเกมเมอร์และเหล่านักสร้างคอนเทนต์ รวมถึงสตรีมเมอร์ ที่ต้องการประกอบคอมในการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการสนับสนุนซีพียู Intel Core Gen11 รุ่นใหม่ล่าสุดบนซ็อกเก็ต LGA1200 บนมาตรฐาน ATX ที่ให้สล็อตการเชื่อมต่อจำนวนมาก สำหรับการเพิ่มอุปกรณ์ประเภทการ์ดได้มากขึ้น พร้อมเทคโนโลยีที่ช่วยเร่งประสิทธิภาพให้กับการทำงาน และคอนเน็กเตอร์ ARGB เพื่อมอบความสวยงามให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณได้อีกด้วย

BFB หรือ Base Frequency Boost ฟีเจอร์พิเศษที่ให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มความเร็วบนซีพียูที่ล็อคตัวคูณ กับการใช้งานร่วมกับซีพียู Intel ที่เป็นแบบ Non-K ในรุ่นต่างๆ ด้วยการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานได้บนเมนบอร์ด แม้จะไม่ใช่เมนบอร์ดที่เป็น Z series ก็ตาม

เมนบอร์ดได้ให้สล็อต PCI-Express มาถึง 5 สล็อตด้วยกัน ประกอบด้วย PCIe 4.0 x16 จำนวน 2 สล็อตในแบบ x16, x8 รองรับการทำงานร่วมกับกราฟิกการ์ด PCIe 3.0 x16 เมื่อใช้กับซีพียู Intel Gen 10 และสล็อต PCIe 3.0 x1 อีกจำนวน 3 สล็อต สำหรับบรรดา Expansion card ต่างๆ

สล็อด Hyper M.2 ที่สนับสนุน SSD ในแบบ M.2 NVMe PCIe Gen4 x4 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ให้แบนด์วิทธิ์ในการโอนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 64Gbps เมื่อใช้งานร่วมกับซีพียู Intel Gen 11 และพอร์ต SATA3 สำหรับ SSD พื้นฐานอีก 6 พอร์ตด้วยกัน

ภาคจ่ายไฟ 8-phase และ Digi Power เพื่อประสิทธิภาพให้กับการจ่ายไฟสำหรับซีพียูได้เต็มที่และต่อเนื่องบนเมนบอร์ดรุ่นนี้ ด้วยภาคจ่ายไฟขนาดใหญ่ ที่เรียบนิ่งและมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ยังลดอุณหภูมิลง สำหรับเกมเมอร์ที่เล่นเกมยาวนานต่อเนื่อง และ Premium 50A Power Choke ยังให้กระแสที่ดีกว่า Choke ทั่วไป 3 เท่า

เพิ่มแสงไฟ RGB ปรับแต่งได้ แม้จะใช้เคสธรรมดา ก็ทำให้สวยได้ ด้วยแสงไฟ RGB และคอนเน็คเตอร์ RGB LED และ Addressable RGB ในการต่อพ่วงอุปกรณ์ที่เป็นไฟ RGB ได้บนเมนบอร์ด และให้การปรับแต่งไฟได้ตามต้องการผ่านซอฟต์แวร์จาก ASRock POLYCHROME RGB

 

Facebook: www.facebook.com/ASRockTH

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของเมนบอร์ดได้ที่: ASRock H570 Phantom Gaming 4

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า