เผยเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของ Threadripper 3000 ที่ Gen 1 และ Gen 2 ยังต้องขอคารวะ

ผมคิดว่าหลายคนน่าจะได้ดูรีวิวของ AMD Ryzen Threadripper 3000 ซึ่งบอกเลยว่าแรงถึงทรวง ชนิดที่ Xeon ยังอายเลยแหละ อย่างไรก็ตาม วันนี้ผมไม่ได้จะเอารีวิวมาให้อ่านนะครับ แต่จะเป็นเรื่องเบื้องหลังความสำเร็จของโครงสร้างซีพียู ว่ามีการปรับปรุงจากรุ่นก่อนอย่างไรบ้าง

โครงสร้างเจ้าปัญหา

เรามาเริ่มต้นที่โครงสร้างของ Threadripper 1000 และ 2000 กันก่อนนะครับ โครงสร้างของ TR สองรุ่นนี้ง่ายมาก คือการนำชิปของ Ryzen ทั่ว ๆ ไปมาต่อกันด้วย Infinity fabric เพื่อให้ได้ channel เพิ่มขึ้น

แต่ข้อเสียของโครงสร้างนี้ คือมันทำให้ชิปประมวลผลเข้าถึงหน่วยความจำ และ Input/Out ได้ไม่เท่ากัน จากภาพด้านบนจะเห็นเลยว่า มี Die บางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงหน่วยความจำได้โดยตรง และอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้น หากแกนประมวลผลของ TR เพิ่มขึ้นด้วย แน่นอนว่าผลลัพธ์ของมัน เรียกว่า “ไม่สมราคาคุย” ในหลายด้าน

โครงสร้างผู้กอบกู้ชื่อเสียง

จากความคิดที่ว่า พอพูดถึง Threadripper การทำงาน Workstation มันต้องทำได้ดี แต่ในรุ่นก่อนบางงานยังทำสู้ Ryzen mainstream ไม่ได้เลย ดังนั้น AMD จึงของรื้อโครงสร้างใหม่ใน Threadripper 3000 ครับ

ด้วยข้อดีของการใช้โหนด 7nm ทำให้ชิปประมวลผลใช้พื้นที่ลดลง และเหลือที่ว่างมากพอให้ AMD lามารถนำ I/O Die ขนาด 12nm มาวางตรงกลางได้ ซึ่ง I/O Die จะทำหน้าที่เหมือนเป็นเลนกลาง ในการรับส่งข้อมูลจากชิปประมวลผลแต่ละส่วน ให้สามารถเข้าถึงหน่วยความจำได้โดยตรง

ทั้งนี้ มันเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความล่าช้าในการส่งข้อมูล เพราะตัวชิปประมวลผลเองไม่ได้ต่อเข้ากับหน่วยความจำ แต่แน่นอนว่าการใช้ชิป I/O เป็นตัวกลางเพื่อให้ชิปประมวลผลทุกตัวเข้าถึงหน่วยความจำของตัวเองได้ นับว่าเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด ที่ TR รุ่นเก่าเทียบไม่ติดเลยครับ

หลักแนวคิดของการทำ I/O Die นั้น คือ Equal PCIe and DRAM access to all die หมายความว่าทุกชิปประมวลผลจะต้องเข้าถึงเลน PCIe และหน่วยความจำของตัวเองได้ ซึ่งจากประสิทธิภาพที่ได้เห็นจากผลการทดสอบนั้น บ่งบอกแล้วว่าแนวคิดนี้เวิร์คจริง ๆ ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Overclock3D

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า