Review: belkin surge protector 4 Out ปลั้กไฟกันกระชาก จิ๋วแต่แจ๋วปกป้องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรารัก

Review: belkin surge protector 4 Out ปลั้กไฟกันกระชาก จิ๋วแต่แจ๋วปกป้องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรารัก

สวัสดีครับทุกๆท่านกลับมาเจอกันอีกแล้วสำหรับวันนี้ทางผมก็ได้รับรางปลักอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจจากทาง Belkin นั้นเอง โดยทางผมเคยได้รีวิวรุ่น Belkin Surge Protector นี้ไปแล้วรอบหนึ่งแต่เป็นตัวที่เสียบได้ 6 ช่อง แต่รุ่นนี้จะเสียบได้ 4 ช่อง เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่าแล้วข้างในละมันจะเหมือนกันหมดหรือเปล่า และรอบที่แล้วผมไม่ได้ทำการทดสอบวันนี้เลยลองหาวิธีทดสอบแบบบ้านๆมาให้ได้รับชม เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับว่ามันเหมือนกันมั้ยแล้วก็บอกเลยว่ายังคงแกะให้ดูงานภายในว่าเนียบเหมือนเดิมมั้ย

belkin surge protector 4 Out

สำหรับรุ่น Belkin Surge Protector นั้นจะมีแบ่งตั้งแต่ 3-8 ช่องด้วยกันและความยาวของสายก็มีให้เลือกส่วนนี้ทางผมก็ขอรีวิวเป็นตัว 3 เมตรและมีช่องเสียบ 4 ช่องด้วยกัน

DSC_3557

ทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นจะมีการโชว์ว่าไฟบ้านเรานั้นอาจจะไม่เรียบเท่าไรนักแต่ถ้าได้ใช้งานแบบปลั้กต่อพ่วงแล้วจะทำให้กระแสไฟนิ่งขึ้น อันนี้ก็ต้องบอกเลยว่าของจริงนั้นก็ไม่ได้กรองอะไรเยอะได้ขนาดในภาพอย่างแน่นอนครับ

DSC_3555

สำหรับรางปลักรุ่นนี้ก็มีการรับประกันอีกด้วยถ้าเสียบผ่านรางปลักนี้แล้วมีปัญหาทาง Belkin ก็มีเงินชดใช้ให้ครับ แถมการรับประกันรางปลักนั้นก็ตลอดอายุการใช้งานเลยทีเดียว

DSC_3556

โดยจะเป็นรุ่นเสียบได้ทั้งหมด 4 ช่องด้วยกันและความยาวสายที่ 3 เมตร โดยการใช้งานนั้นเราสามารถเสียบอุปกรณ์แล้วกินไฟรวมกันได้ไม่เกิน 10 แอมป์หรือ 2500W แน่นอนว่าถ้าใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งพร้อมอุปกรณ์เสริมต่างๆนั้นเพียงพอแน่นอน

belkin surge protector 4 Out

แกะกล่องออกมาดูกับตัวสินค้ากันเลยดีกว่าครับ สำหรับตัวรางปลักในวันนี้จะเป็นแบบพ่วงต่อได้ 4 ช่องด้วยกันโดยสายของตัวปลักนั้นจะมีความยาวที่ 3 M ด้วยกันครับ ตัวขนาดสายไฟขนาด 0.75 มิล

DSC_3538

สำหรับสวิตช์นั้นจะควบคุมทั้งรางปลักเลยโดยเวลาใช้งานนั้นจะมีไฟสีส้มขึ้นเพื่อบอกว่ามีไฟเข้าและสวิตช์ตัวนี้จะเป็นฟิวอีกด้วยถ้ามีการลัดวงจรหรือโหลดไฟเกินสวิตช์ตัวนี้จะทำการเด้งทำให้ตัดไฟออกจากรางปลักครับ

DSC_3539

ตัวรางปลักนั้นจะมีช่องสำหรับปิดฝาเอาไว้กันเด็กๆเอานิ้วไปแหย่เล่นโดยจะใช้งานก็เสียบลงไปตรงๆในตอนเสียบนั้นจะฟิตค่อนข้างมากยังไงก็ดีกว่าไม่มีปิดในจุดนี้ถือว่ามีความปลอดภัยเข้ามาช่วยดีครับ

DSC_3540

ทางด้านหลังก็เป็นแบบเรียบๆ โดยจะมีรูเอาไว้ให้เพื่อใครอยากเอาไปติดห้อยพนังก็สามารถทำได้ครับ

DSC_3542

ให้สังเกตุว่า 6500 A ที่เขาบอกไว้นั้น จะรับได้ช่วงสั้นระดับหนึ่งในล้านวินาทีเท่านั้นโดยรางปลักรุ่นนี้จะใช้โหลดรวมกันได้ 2500 W โดยจะทนไฟได้น้อยกว่ารุ่นที่มีช่องเสียบเยอะๆอยู่เล็กน้อยครับDSC_3544

ตัวปลักเสียบจะเป็นแบบ 3 ขา ด้วยกันโดยมีแต่ชื่อยี่ห้อบอกและแรงดันไฟ ว่ารองรับได้ 10 A และใช้ไฟสูงสุดที่ 250V

DSC_3543

สำหรับตัวสายไฟนั้นจะมีการบอกเอาไว้เรียบร้อย โดยจะใช้สายไฟเบอร์ 0.75 ทนกระแสไฟได้ 10 A

DSC_3545

แกะออกมาดูภายในของตัวรางปลักกันเลยดีกว่าครับ มองผ่านๆแล้วการเก็บงานนั้นดูดีมีราคาเลยทีเดียว

DSC_3546

รอยบัดกรีขนาดใหญ่ แข็งแรง เรียกได้ว่าแน่นหนาไม่มีหลุดอย่างแน่นอนครับก็ถือว่าการเก็บงานทำได้ดีเพราะถ้าส่วนนี้ติดตั้งมาไม่มีแล้วจะทำให้สายข้างในหลุดออกมาได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียวครับ โดยจะมีการแบ่งสีสายไฟเอาไว้ทั้งหมดทำให้ง่ายแก่การดูเป็นอย่างมากเลย

DSC_3548

การเชื่อมต่อสายไฟนั้นจะร้อยผ่านรูแล้วทำการบักกรีติดเรียกว่าแน่นหนาเป็นอย่างมาก

DSC_3550

เห็นชัดๆร้อยผ่านรูแล้วบักกรีติด

DSC_3551

ส่วนของสายดินก็เป็นสายดินจริงๆไม่ได้มีรูไว้หลอกแบบรางปลักอันละ 20-100 บาทตามตลาดนัดทั่วๆไป

การทดสอบ

การทดสอบผมจะใช้เครื่องไฟฟ้าภายในบ้านมาทำการโหลดหนักๆพร้อมวัดอุณหภูมิการใช้งานให้ดูชัดๆนะครับ

DSC_3093

ชิ้นแรกเป็นไดร์เป่าผม กินไฟ 578 W ด้วยกันผมขอตีเป็น 580 W

DSC_3094

เตารีดผ้าตัวแรกกินไฟที่ 879 W ผมขอปัดเป็น 880 w ครับ

DSC_3095

เตารีดตัวที่ 2 กินไฟที่ 899 W ขอปัดไปที่ 890w นะครับ

DSC_3097

หม้อข้าวกินไฟ 549 W ผมขอปัดเป็น 550W  แหม๋ทำไมมันพร้อมใจลงท้าย 9 กันหมดเลยต้องมานั่งปัดอีก ฮ๋าๆ

DSC_3098

โดยการทดสอบนี้ผมจะทำการเสียบที่รางปลักตัวเดียวกันทั้งหมดเพื่อที่จะดูว่ารางปลักนี้จัสามารถรองรับการโหลดแบบหนักๆขนาดนี้ไหวมั้ยหรือจะละลายก่อน  ไม่ควรทำตามเป็นเพียงการทดสอบภายใต้การควบคุม

DSC_3090

การโหลดนั้นในส่วนนี้ต้องขออภัยเพราะว่าวัตร์มิเตอร์ของผมนั้นรองรับได้สูงสุดที่ 2200 W เท่านั้น แต่ถ้าคำนวนเป็นชิ้นๆเราจะได้ 580+890+550+880 = เป็นทั้งหมด 2900 W ด้วยกัน โดยส่วนนี้มันจะเกินสเปครางปลักไป 400 W ด้วยกัน

DSC_3089

อุณหภูมิของตัวรางปลักที่โดยเสียบทั้งหมด 4 ช่องด้วยกันนั้นอยู่ที่ 28.1 องศาด้วยกันโดยผมได้ทดสอบที่อุณหภูมิห้อง 26 องศานะครับ

DSC_3092

ตัวเต้ารับที่บ้านนั้นเรียกว่ามีความร้อนสะสมมากถึง เกือบ 30 องศาด้วยกัน โดยถ้าเพื่อนๆไปซื้อไปใช้งานนั้นทางเราก็ไม่แนะนำให้โหลดกับรางปลักตัวเดียวแบบตามที่ทดสอบไปเพราะการทดสอบนี้ใช้เวลา 30 นาที ด้วยกัน  ทำให้เห็นว่าต่อพ่วงแล้วโหลดเยอะๆจะมีความร้อนและอาจจะให้ละลายได้ แต่ส่วนนี้มีการเสียบที่แน่นหนาทำให้ความร้อนนั้นไม่สูงมากจนเกินไป ถ้าเป็นรางปลักราคาถูกนั้นจะมีปัญหาตรงที่เราเสียบไม่แน่นและจะทำให้หน้าสัมผัสนั้นไม่แน่นทำให้เกิดความร้อนจนทำให้ปลักละลายจนเป็นเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ออกบ้านในที่สุด สุดท้ายนี้ทาง ExtremePC ก็หวังว่าเพื่อนๆจะเลือกใช้รางปลักที่ได้คุณภาพกันสักหน่อย ก็ลองเก็บเป็นตัวเลือกดูสำหรับเจ้า belkin sugra protector 4 Out ครับ สำหรับวันนี้ทางผมก็คงต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

Price : 590 Bath

 

logo_extremePC Performance

 

Related articles

สรุปงาน CES 2025 – ปีนี้ AMD เปิดตัวอะไรเด็ด ๆ บ้างไปดูกันเล้ยยย !!

งาน CES 2025 ปีนี้ หลายคนให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอยากเห็นเทคโนโลยีน่าตื่นเต้นจากหลาย ๆ ค่าย และในบทความนี้แอดจะพาเพื่อน...

ดูดวงปีใหม่ 2025 แบบฉบับคน IT ด้วย AI ทั้งอ่านไพ่ทาโรต์และวิเคราะห์ Birth Chart

อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะปีใหม่แล้ว วันนี้แอดมีเรื่องน่าสนุก ๆ และหลายคนน่าจะชื่นชอบมาฝาก คือ การดูดวง 55555 แต่สำหรับชาว Extreme...

พลังดิบยังจำเป็นอยู่ไหม? เมื่อการ์ดจอยุคใหม่ใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มประสิทธิภาพกันมากขึ้น

ช่วงหลัง ๆ นี้เราพูดถึงเรื่อง Upscaling กันมากขึ้น ด้วยการมาถึงของ AI ที่ช่วยเพิ่มความละเอียดให้กราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในวงการคอมพิวเตอร์ที่...

รู้จักซีรีส์ของโน้ตบุ๊ก ASUS: Strix / Zephyrus / Flow / TUF ต่างกันยังไง

ใกล้สิ้นปีน่าจะมีของลดราคากันเยอะนะครับ และใครที่กำลังจะซื้อโน้ตบุ๊ก ASUS เครื่องใหม่มาเล่นเกม แต่มันมีหลายรุ่นเหลือเกิน ทั้ง ROG Strix, ROG...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า