ทดลองใช้ AI ช่วยทำ Appraisal งานวิจัย – Bing vs. Bard ใครเก่งกว่ากัน

เนื่องด้วยเวลาที่ค่อนข้างจำกัดและความยากในการทำ Appraisal หรือประเมินค่างานวิจัยแบบ Meta-analysis/Systematic review แอดจึงปิ๊งไอเดียให้เจ้า AI เข้ามาช่วยในการทำงานครั้งนี้ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยครับ

การประเมินค่างานวิจัยประเภท Meta-analysis/Systematic review ค่อนข้างยากกว่างานวิจัยแบบ RCT (แม้จะมีจำนวนข้อการประเมินน้อยกว่า) ทำให้นักศึกษานิยมนำงานวิจัยแบบ RCT มานำเสนออาจารย์มากกว่า ซึ่งในคณะกลุ่มวิทย์สุขภาพจะค่อนข้างคุ้นเคยกับการนำเสนอ Journal ในคาบเรียน Evidence-based learning กันเป็นอย่างดี

แต่เพราะ Meta-analysis/Systematic review ค่อนข้างน่าเชื่อถือว่ามากกว่า เพื่อความปังจึงมีบางคนคิดนำเสนองานวิจัยประเภทนี้ แต่นั่นล่ะครับ มันยากตอนทำ Appraisal นี่แหละ ขนาดเราคิดว่าเราอ่านภาษาอังกฤษอย่างเชี่ยวแล้ว ก็ยังไม่รู้จะตีโจทย์คำถามมันยังไงดี 555

 

และแล้วแอดก็ได้ไอเดียที่จะให้ AI แช็ตบอตมาช่วยวิเคราะห์ แน่นอนว่าเราจะตัด ChatGPT ออกไป เพราะมันอ่านลิ้งก์ไม่ได้ จะเหลือ Bing Chat และ Google Bard ซึ่งผมใช้ทั้งสองตัวเข้ามาช่วย ๆ กัน วิธีการทำถามเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ คือ

– พารากราฟแรก เอาคำถาม Appraisal มาใส่
– พารากราฟสอง ใส่ Hint ของคำถามนั้นลงไปด้วย (ถ้ามี) เพราะมันจะช่วยให้ AI รู้ทิศทางว่าจะตอบอะไรให้ตรงจุดบ้าง
– พารากราฟสาม ใส่ลิ้งก์งานวิจัยต้องเป็นลิ้งก์ที่อ่านได้เต็มหน้าทั้งหมดนะครับ

ผลลัพธ์ได้ดังนี้

Bing

 

Bard

ส่วนตัวแอดว่าคำตอบของ Bing ดูดีกว่า แต่มีข้อเสียที่ว่า Bing มันรู้เยอะเกิน บางทีมันรู้ว่าเราใช้ให้มันทำการบ้านหาคำตอบให้ ไป ๆ มา ๆ มันจะปฏิเสธไม่ตอบคำถามของเรา

ส่วน Bard จะตอบเกือบทุกคำถามเลยครับ แต่ในบางคำถามมันตอบมั่วแม้จะใส่ Hint แล้ว ซึ่งเราต้องอ่านคำตอบของมันดี ๆ อย่างกรณีนี้งานวิจัยเทียบการใช้ 3% Hypertonic Saline ดีกว่า 0.9% Normal Saline ในผู้ป่วยเด็กที่เป็น Acute Bronchiolitis แต่มันกลับบอกว่าผลลัพธ์ไม่ต่างกันซะงั้น –> Bing ตอบดีและตรงในบางส่วน แต่ไม่ถูกทั้งหมด

โอเค ผมมองว่ามันคือเครื่องทุ่นแรงที่พอใช้ได้ แต่อย่าไปคาดหวังให้มันเข้ามาแทนที่สมองของเราเลยครับ แนะนำว่าเมื่อใช้แล้วอย่าลืมอ่านคำตอบของมันทุกครั้งว่ามันใช่เนื้อหาที่เราอ่านมาในงานวิจัยหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นโดนอาจารย์ดุตอนนำเสนอแน่ ๆ เลย

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า