UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง ต่างกันอย่างไร – จะเลือกใช้แบบไหนดี !?

หากบ้านใครอยู่ในพื้นที่ที่มีไฟตกหรือไฟกระชากบ่อยครั้ง ก็คงเคยเจอกับปัญหาเล่นเกมอยู่แล้วคอมดับ เล่นยังไม่จบเกม หรือยังไม่ทันได้เซฟงาน อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่จำเป็นอย่างมากคือ UPS หรือเครื่องสำรองไฟที่เปรียบเสมือนการต่อชีวิตให้กับคอมพิวเตอร์ในช่วงที่ไฟดับ เพราะสามารถช่วยซื้อเวลาให้คุณเซฟงานหรือเซฟเกมจนกระทั่งปิดคอมได้ทัน ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของงานที่สำคัญได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานคอมของคุณไม่ให้พัง จนเสียค่าซ่อมราคาแพงจากปัญหาไฟตกบ่อยหรือไฟดับอีกด้วยครับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี UPS อยู่มากมายในท้องตลาด มีหลากหลายราคาให้เลือกซื้อ ซึ่งหลักการง่าย ๆ อย่างหนึ่งในการเลือกซื้อ UPS ที่เหมือนกับ PSU (อุปกรณ์จ่ายไฟในคอมที่นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด) คือการเลือกซื้อเครื่องที่มีราคาสูงกว่าในระดับหนึ่ง แน่นอนว่ามันต้องมีฟีเจอร์อะไรบ้างที่เหนือกว่าเครื่องราคาถูกอยู่แล้ว และวันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันว่า UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง มีความแตกต่างกันอย่างไรและควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณ

เรียนรู้รูปแบบของ UPS

แต่ก่อนที่จะไปเทียบประสิทธิภาพของ UPS เรามาเรียนรู้กันสักนิดว่ามันมีแบบใดบ้าง ปัจจุบันในหนังสือคอมพิวเตอร์มักกล่าวถึง UPS ทั้ง 3 แบบ ได้แก่

– Standby หรือ Offline: เป็น UPS ที่ราคาถูกที่สุด เน้นการใช้งานทั่วไปในอุปกรณ์ที่ไม่ได้ต้องการความแม่นยำในการจ่ายไฟฟ้าสักเท่าไร ลักษณะการจ่ายไฟคือ ในช่วงที่ไฟฟ้าปกติ ไฟฟ้าจากในบ้านทางหนึ่งจะวิ่งตรงผ่านเข้าไปในคอม ส่วนอีกทางหนึ่งจะวิ่งเข้ามาชาร์จแบตภายใน UPS และเมื่อถึงไฟดับ จะเกิดการสลับมาใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ซึ่งจังหวะที่สลับนี้จะกินเวลาสับเปลี่ยนประมาณ 20-100 มิลลิวินาที คอมที่กินไฟมาก ๆ อาจจะไม่สามารถใช้งาน UPS แบบนี้ได้เพราะมีช่วงของการสลับไฟยาวเกินไป แถมฟีเจอร์ยังน้อยที่สุดด้วย

 

– Line-Interactive: จะมีความคล้ายกับแบบ Standby แต่เพิ่มส่วนของ Inverter ที่ฉลาดขึ้นมาช่วยในการจัดการไฟ ไฟฟ้าจากในบ้านส่วนหนึ่งจะวิ่งเข้ามาเลี้ยงที่คอมโดยตรง และจะมี Inverter ส่งไฟไปชาร์จแบตเอาไว้ด้วย เมื่อไฟดับ Inverter จะจัดการสลับไฟจากแบตส่งมาที่คอมแทน ซึ่งระยะเวลาในการสลับแบตนั้นจะอยู่ประมาณไม่เกิน 10 มิลลิวินาทีเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเพียงพอกับคอมพิวเตอร์ เว้นเสียแต่ว่ามีอุปกรณ์ที่ต้องรับไฟตลอดเวลาก็อาจจะไม่เพียงพอครับ

 

– True On-line หรือ Double Conversion: ระบบนี้มีการจ่ายไฟที่เหมือนกับไฟบ้านปกติมากที่สุด โดยไฟบ้านที่เข้ามาใน UPS จะถูกแปลงจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง (AC to DC) ไฟส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปชาร์จแบต แล้วไฟอีกส่วนหนึ่งจะถูกแปลงจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (DC to AC) ก่อนที่จะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งการแปลงสองชั้นแบบนี้จะช่วยกรองสิ่งรบกวนต่าง ๆ ช่วยให้การจ่ายไฟได้นิ่งเรียบยิ่งกว่าไฟบ้านจริง ๆ เสียอีก

และเมื่อไฟตัดไฟจากแบตเตอรี่ซึ่งเดิมวิ่งเข้าออกอยู่แล้ว ก็จะวิ่งเข้าไปแทนที่ไฟบ้านที่โดนตัดออกทันที ส่งผลให้ไฟที่วิ่งเข้าเลี้ยงคอมมีความราบลื่นที่สุดเมื่อเทียบกับ UPS สองแบบก่อนหน้านี้ แถมยังรองรับฟีเจอร์การป้องกันต่าง ๆ มากที่สุดในนี้ด้วย

 

การส่งกระแสไฟ

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือรูปแบบการส่งสัญญาณไฟฟ้า ปกติแล้วอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มักจะรับกระแสไฟในรูปแบบ Sine wave ซึ่งปัจจุบัน UPS จะมีการส่งกระแสไฟอยู่ด้วยกัน 2 แบบที่นิยม คือแบบ Simulated sine wave และแบบ Pure sine wave เปรียบเทียบได้จากรูปทางด้านล่าง

Simulated sine wave ถูกออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการส่งกระแสไฟฟ้าเหมือน Sine wave ธรรมชาติ แต่จะเห็นว่าในบางช่วงนั้นจะมีช่องโหว่ของกระแสไฟเกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดไฟดับ ไฟกระชาก หรือไฟตกขึ้นมา UPS อาจส่งกระแสไฟฟ้าไปยังคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ หรืออาจส่งโหลดไปมากจนทำให้อุปกรณ์เสียหาย

ในขณะที่ UPS แบบ Pure sine wave พูดง่าย ๆ คือมันมีการส่งกระแสไฟฟ้าเหมือนการต่อไฟบ้านเข้าคอมพิวเตอร์โดยตรง เหมาะกับอุปกรณ์ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนของไฟฟ้าอย่างมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีฟีเจอร์ Active PFC เช่น PSU ในปัจจุบันส่วนมากจะมีฟีเจอร์นี้มาให้ หากจะใช้ UPS ควรเลือกแบบ Pure sine wave (จริง ๆ ผมคิดว่ามันจำเป็นต้องใช้เสียด้วยซ้ำ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอุปกรณ์ภายในเครื่อง) ซึ่งเป็นจุดที่ Simulated sine wave ให้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม UPS แบบ Pure sine wave จะมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแบบ Simulated sine wave ครับ

 

UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง

สำหรับรุ่นที่ผมนำมาทดสอบนั้น รุ่นราคาถูกคือ CyberPower VP1600ELCD ซึ่งเป็น UPS แบบ Line-interactive, simulated sine wave

 

 

ส่วนรุ่นราคาแพงคือ CyberPower OLS1000E เป็น UPS แบบ True on-line, pure sine wave

จะเห็นว่ารุ่นราคาถูก VP1600ELCD สามารถเก็บไฟฟ้าได้ 960W ในขณะที่ OLS1000E สามารถเก็บไฟฟ้าได้ 900W บางคนอาจจะบอกว่า เอ๊ะ รุ่นราคาถูกมันจุไฟได้เยอะกว่า น่าจะเก็บจ่ายไฟได้เยอะกว่านานกว่าสินะ !! จริงหรือเปล่า ไปดูได้จากคลิปด้านล่างนี้เลยครับ

ในการนำ UPS แบบ Line-interactive มาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ไฟที่จะจ่ายได้จะอยู่ที่ราว ๆ 50-70% ของความจุ W ที่มี (เมื่อนำ VP1600ELCD มาคำนวณแล้ว จะจ่ายไฟที่ราว ๆ 480W-670W) ในขณะที่ UPS แบบ True-online จะจ่ายได้ราว 80% ขึ้นไปเลยทีเดียว (เมื่อนำ OLS1000E มาคำนวณแล้ว จะจ่ายไฟที่ราว ๆ 720W ขึ้นไป)

CyberPower VP1600ELCD

เพราะฉะนั้น เมื่อประเมินแล้ว CyberPower OLS1000E จ่ายไฟได้ใกล้เคียงกับสเปกที่ระบุไว้มากกว่า เพราะเป็น UPS แบบ True-online, pure sine wave นอกจากนี้ UPS แบบ True-online ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาเกี่ยวไฟฟ้าได้เหนือกว่า UPS แบบ Line-interactive แน่นอนว่าฟีเจอร์เหล่านั้น CyberPower VP1600ELCD ให้ไม่ได้ครับ

CyberPower OLS1000E

แต่อย่างที่ผมได้บอกไว้ข้างต้นว่าราคาของ UPS ทั้งสองรุ่นนั้นมีความแตกต่างกันเกือบครึ่งหนึ่งเลย โดย CyberPower OLS1000E จะมีราคาอยู่ที่ 14,000 บาท ส่วน CyberPower VP1600ELCD จะมีราคา 8,500 บาท หลายคนก็อาจจะรู้สึกรักพี่เสียดายน้องว่าสุดท้ายแล้วจะเลือกตัวไหนดี True-online ก็อยากใช้ แต่จะกระทบกับเงินในกระเป๋าเกินไป ดังนั้น ผมมีแนวทางเลือกประมาณนี้ครับ

– ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ PSU แบบ Active PFC และ/หรือ มีสเปกที่ค่อนข้างแรง การ์ดจอกินไฟเยอะ ๆ อย่าง GeForce RTX 3080/3090, Radeon RX 6800XT/6900XT แนะนำให้เลือก UPS แบบ True-online, pure sine wave อย่างเจ้า CyberPower OLS1000E

– ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณสเปกธรรมดา ๆ เน้นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม DOTA 2 หรือ The Sims การเลือก UPS แบบ Line-interactive, simulated sine wave อย่าง CyberPower VP1600ELCD ก็ถือว่าอยู่ในช่วงราคาที่สมเหตุสมผลครับ

 

บทสรุป: เลือก UPS ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดสำหรับคุณ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังมองหา UPS คู่ใจกับเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ ยังไงก็อยากให้เพื่อน ๆ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคอมของตนเอง โดยพิจารณาทั้งในเรื่องคุณสมบัติของ UPS, ฟีเจอร์ในการป้องกันไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ, สเกลและความสำคัญของอุปกรณ์ชิ้นต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเรื่องของราคา และแน่นอนว่าถ้าจะเลือก UPS ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมม ในราคาคุ้มค่านั้น อย่าลืมมองหา UPS จาก CyberPower กันนะครับ

Related articles

วิธีตั้งค่าไบออส แก้ปัญหา Intel Gen 13 และ Gen 14 ทำเกมแครช/เล่นไม่ได้

สำหรับใครที่มีปัญหาเกมแครช, คอมดับตอนเล่นเกม หรือเกมเปิดไม่ได้พร้อมแจ้งแรมการ์ดจอไม่พอ "Out of video memory" ซึ่งเกิดในคนที่ใช้ซีพียู Intel...

หลุด!! ผลทดสอบ AMD Strix Halo มาพร้อม iGPU ใหญ่มาก 40 CUs แรงใกล้เคียง RTX 4060-4070 Mobile

หากใครได้ตามข่าวสารซีพียูน่าจะเคยได้ยินเรื่อง AMD Ryzen ตัวหนึ่งที่ใช้โค้ดเนม Strix Halo ซึ่งมาพร้อมชิปกราฟิกออนบอร์ด หรือ iGPU...

realme เสริมทัพ Portrait Master! เตรียมนำเข้ารุ่นเล็กสเปกคุ้ม ทั้ง “realme 12 5G” และ “realme 12X 5G” กับ Lossless 3X Zoom รุ่นแรกในระดับราคาเดียวกันพร้อมรองรับ 5G ในราคาหลักพัน

กรุงเทพฯ 18 เมษายน 2567 – หลังสร้างปรากฏการณ์The New Portrait Masterที่มาพร้อมแคมเปญกิจกรรมการถ่ายภาพสุดปังแห่งปี Make It Real!สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการสมาร์ตโฟนเมืองไทยไปตามคาด...

AIS เผยข้อมูลการใช้งาน สงกรานต์ 67 คึกคัก เย็นฉ่ำทั่วไทย ถนนข้าวหลามครองแชมป์คนใช้งานเน็ตสูงสุด นักท่องเที่ยวต่างชาติปักหมุดเล่นน้ำยอดโตพุ่ง 38%

AIS เปิดพฤติกรรมการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 ของลูกค้าและคนไทย โดยได้จัดเต็มโครงข่าย ทั้งมือถือและเน็ตบ้านสาดสัญญาณฉ่ำตลอดเทศกาล ครอบคลุมโมเมนต์ความสุขทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปีนี้พฤติกรรมการใช้งานของคนไทยในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบว่ามีการกระจายตัวของการใช้งานในพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า