เผยความแตกต่างของ Ryzen 3 3100 และ 3300X – ไม่ใช่เพียงแค่ Clock speed ที่เพิ่มขึ้น

เชื่อว่าแฟน AMD หลายคนน่าจะทราบกันดีว่า ซีพียู Ryzen รหัส X และรุ่นธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะแตกต่างกันในเรื่องของ Clock speed และความสามารถในการ OC อีกเล็กน้อย โดยที่โครงสร้างภายในเหมือนกัน

แต่สำหรับ Ryzen 3 3300X และ Ryzen 3 3100 ซีพียูรุ่นล่างที่เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน ไม่ได้แตกต่างกันแค่เพียง Clock speed เพียงอย่างเดียวนะครับ ล่าสุดมีข้อมูลว่าพวกมันมีความแตกต่างกันจากภายในด้วย

ทวิตเตอร์ KOMACHI เผยภาพโครงสร้างภายในของซีพียูทั้งสองรุ่น จะเห็นได้ว่าชิป I/O ไม่ได้มีความแตกต่างกันนะครับ แต่จะแตกต่างกันในส่วนของชิปประมวลผล สำหรับ Ryzen 3 3100 ประกอบด้วยชิปสองตัว แต่ละตัวจะมี 2 Cores/4 Threads

ในขณะที่ Ryzen 3 3300X จะมีเพียงชิปเดียว และชิปนั้นจะมีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads เลย โชคดีที่ AMD จัดการแคชให้อยู่ติดกับแกนของซีพียู พวกมันจึงมีแคช L3 โดยรวมที่ 16MB เท่ากัน

แล้วการจัดวางชิปแบบนี้ส่งผลอย่างไร คำอธิบายถึงความแตกต่างที่ง่ายที่สุด คือเรื่อง Latency หรือความล่าช้าในการส่งข้อมูล เมื่อต้องประมวลผลหนักใช้งานครบทุกแกน ใน Ryzen 3 3100 จะต้องส่งข้อมูลข้ามชิป แต่ Ryzen 3 3300X มีแกนครบในชิปเดียว

เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่ส่งผ่านการข้ามชิปจะเกิดความล่าช้าในการเดินทางไปมา นี่จึงเป็นความแตกต่างที่มากกว่าแค่เรื่อง Clock speed ครับ

เอาล่ะทีนี้คุณก็ทราบแล้ว สำหรับคนที่เล่นเกมในงบย่อมเยาอาจเลือกเป็น Ryzen 3 3300X ซึ่งจะมีความล่าช้าในการส่งข้อมูลน้อยกว่า จึงเข้าถึงแรมได้เร็วกว่า (เป็นผลดีต่อเกม) ส่วน Ryzen 3 3100 เหมาะกับการใช้งานทั่วไปหรือการเล่นเกมออนไลน์ที่ไม่ต้องใช้การประมวลผลหนักหน่วงครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wccftech

Related articles

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

แชร์ประสบการณ์สอบ TCM PJPT – เข้าสู่สาย “เจาะระบบ” ครั้งแรกของคนไม่มีประสบการณ์

ห่างหายจากการสอบเซอร์ไปนาน วันนี้ผมกลับมาพร้อมกับใบเซอร์ PJPT (Practical Junior Penetration Tester) จากค่าย TCM...

ADATA เปิดตัว TRUSTA อย่างเป็นทางการ พร้อมนวัตกรรม ล่าสุดที่งาน COMPUTEX 2025

วันที่ 19 พฤษภาคม 2025 ณ เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน บริษัท ADATA...

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า