รู้จัก “Disk Defragment” ขั้นตอนสำคัญในการเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์

เวลาเรารู้สึกว่าคอมทำงานช้าลง หรือมันอ่านเขียนข้อมูลไม่เร็วเหมือนเดิม เพื่อนบางคนอาจแนะนำให้เราทำการ Defrag ฮาร์ดดิสก์ แล้วมันคืออะไรกันล่ะ วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักการ Defrag ฮาร์ดดิสก์กันอีกนิด จะได้เข้าใจมันมากขึ้นนะครับ

Defrag หรือ Defragmentation ถ้าแปลตรงตัว จะหมายถึง ทำให้ไม่มี (De-) ชิ้นส่วน (Fragment) มันคือกระบวนการหนึ่งในการจัดเรียงข้อมูลบนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์ ที่อยู่แยกกันเป็นชิ้นๆ ทั่วจานแม่เหล็ก ให้อยู่เรียงกัน หรืออยู่ใกล้กันมากขึ้นอย่างเป็นระบบครับ

เนื่องจากเวลาที่ฮาร์ดดิสก์เขียนข้อมูล มันจะวางชิ้นส่วนของข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก ตามบล็อก หรือ Sector ที่มันเจอ ทำให้ข้อมูลมันเกิดการกระจัดกระจาย สมมุติว่าฮาร์ดดิสก์จะต้องอ่านข้อมูลทั้งหมด 2 ชิ้น แต่มันอยู่ห่างไกลกันมาก ทำให้ต้องมีการหมุนจานแม่เหล็กไปยังข้อมูลชิ้นแรก แล้วหมุนไปหาข้อมูลชิ้นที่ 2 อีก ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการอ่านข้อมูลนั่นเอง

เพราะฉะนั้น การ Defrag จะเป็นการจัดเรียงข้อมูลที่มีการจัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ให้อยู่ใกล้กันมากขึ้น เมื่อมีการอ่านข้อมูล จะทำให้มีการอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว บางครั้งมีการจัดการชิ้นส่วนข้อมูลขยะอื่นๆ ซึ่งทำให้เราได้พื้นที่กลับคืนมาเล็กน้อยด้วยครับ

ในเรื่องของระยะเวลาที่ควรทำการ Defrag ฮาร์ดดิสก์ ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน หากเรามีการลงโปรแกรมใหญ่ๆ บ่อยครั้ง เช่น เกม หรือต้องทำงานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ อย่างการตัดต่อวิดีโอ ลบแล้วลงใหม่เรื่อยๆ ก็ควรทำ 1 ครั้ง ใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนใครที่ไม่ได้ทำงานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ ทำ Defrag เดือนละครั้ง ก็ได้ครับ (ควรทำตอนว่างๆ เปิดโปรแกรม Defrag ทิ้งไว้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับไฟล์ในคอม)

ทีนี้สำหรับใครที่ใช้ SSD นะครับ ปกติจะไม่ได้รับผลกระทบจากการแบ่งข้อมูลเป็นชิ้นๆ เนื่องจากว่า SSD มันไม่มีจานหมุน แล้วข้อมูลมันถูกบรรจุลงในเซลล์หน่วยความจำ และเรียกข้อมูลออกมาได้ โดยไม่เกิดความล่าช้าจากการค้นหาชิ้นส่วนของข้อมูล เพราะฉะนั้น SSD ไม่จำเป็นต้อง Defrag นะครับ

** ตรงนี้ ผมเคยได้ยินว่าการ Defrag SSD จะส่งผลเสียต่อ SSD โดยที่เวลาเราใช้งานโปรแกรม Defrag มันจะทำให้เกิดการอ่านเขียนข้อมูลใน SSD หลายๆ ครั้ง ส่งผลให้อายุการใช้งานของ SSD สั้นลงด้วยนะครับ **

สำหรับการ Defrag ในผู้ใช้งาน Windows จะมีโปรแกรม Defragment อยู่ในส่วนของ Windows Administrative Tools ซึ่งเราสามารถเรียกใช้งานได้เลย

แต่ส่วนตัวผมขอแนะนำโปรแกรม Disk Defrag จาก Auslogics ซึ่งทำงานได้เร็วกว่า และเห็นความคืบหน้าในการทำงานของโปรแกรม (เหมือน Defragment สมัย Windows XP) สามารถดาวน์โหลดได้จากลิ้งค์นี้ครับ Auslogics Disk Defrag

 

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า