[Extreme History] Intel 4 Cores/8 Threads ยุครุ่งเรืองค่ายฟ้า ก่อนการมาถึงของ Ryzen

ถ้าไม่มี AMD Ryzen ค่าย Intel ก็อาจทำซีพียู 4 Cores/8 Threads ตลอดไป นี่อาจจะเป็นคำพูดติดตลกที่เราได้เห็นกันบ่อย ๆ ในวงการ IT จากที่ก่อนหน้านี้ Intel ครองตลาดซีพียูมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งการมาถึงของ AMD Ryzen ได้ทำให้บัลลังก์สั่นคลอนจน Intel ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเลยทีเดียว

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่า คือ การเพิ่มแกนประมวลผลให้กับซีพียู Intel Core Series ทั้งที่ก่อนหน้านี้ Intel ใช้จำนวนแกนประมวลผลเหมือนกัน (เกือบ) ทั้งหมด สำหรับซีพียูตัวท็อปตระกูล Core i7 ระดับผู้ใช้งานทั่วไป โดยมีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads มานานถึง 9 ปี !!

เรื่องราวจะเป็นอย่างไร พบกับบทความ Extreme History ตอน “Intel 4 Cores/8 Threads ในตำนาน ก่อนการมาถึงของ Ryzen”

4 Cores/8 Threads คือ ผู้นำด้านการเล่นเกม

จริง ๆ ถ้าย้อนไปในสมัย Intel Core 2 Series ในซีพียูกลุ่ม Core 2 Quad จะใช้แกนประมวลผล 4-Core แต่ยังไม่รองรับเทคโนโลยี Hyperthreading ทำให้มีแกนประมวลผลทั้งหมด 4 Cores/4 Threads ในช่วงเวลานั้นถือว่าล้ำยุคมาก ๆ แล้วนะครับ

แต่เมื่อ Intel เปิดตัว Intel Core I Series และประเดิมด้วย Intel Core i7-920 เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นชิปสถาปัตยกรรม Nehalem ขนาดโหนด 45nm และมีชื่อโค้ดเนม Bloomfield มาพร้อมแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads

ในปีเดียวกัน Intel เปิดตัวซีพียู Core i7 มาอีก 2 รุ่นนะครับ คือ Core i7-965 Extreme และ Core i7-940

และถึงแม้ Core i7-920 จะเป็นน้องเล็กสุดในแถว แต่เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เปิดตัวมาก่อนเพียง 1 เดือน อย่าง AMD Phenom X4 9950 (เปิดตัวตุลาคม 2551) ทาง Core i7-920 ก็ยังทำประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้ดีกว่าครับ และนี่คือก้าวสำคัญของ Intel ในการเปิดศักราชสู่ซีรีส์ Core i และทำออกมาได้ดีจน Anandtech ถึงกับเรียกมันว่า “The Dark Knight”

 

เมื่อคู่แข่งสู้ไม่ได้ ทำให้เราไม่ต้องผลักดันตัวเอง

แม้ AMD จะออกซีพียูรุ่นใหม่ก็แล้ว หรือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเป็น Bulldozer ก็แล้ว (ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นหลุมดำของ AMD เลยก็ว่าได้ครับ ใครอยากรู้อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ลิงก์นี้) แต่ก็ไม่สามารถสู้จ้าวตลาดอย่าง Intel ได้

ประกอบกับในช่วงเวลานั้น เกมส่วนใหญ่ยังไม่ถูกปรับแต่งให้รองรับแกนประมวลเยอะ ๆ ได้ดีเท่าที่ควร ส่วนมากจะอยู่ที่ 2-Core เก่ง ๆ ก็ได้สัก 4-Core ทำให้ Intel รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มแกนประมวลผลลงไป แต่เน้นที่ความเร็ว Clock speed และ IPC ดีกว่า

หลังจากนั้น Intel ก็ทยอยเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ ๆ ออกมา เรียงตามลำดับ ดังนี้

  • Intel Sandy Bridge 45nm ตัวท็อป Core i7-2600K (มกราคม 2554) และ Core i7-2700K (ตุลาคม 2554)

  • Intel Ivy Bridge 22nm ตัวท็อป Core i7-3770K (เมษายน 2555)

  • Intel Haswell 22nm ตัวท็อป Core i7-4770K (มิถุนายน 2556) และ Core i7-4790K (มิถุนายน 2557)

 

  • Intel Broadwell 14nm ตัวท็อป Core i7- 5775C (มิถุนายน 2558) ซีรีส์นี้มาไวไปไว บางคนไม่นับรุ่นเลย

  • Intel Skylake 14nm ตัวท็อป Core i7-6700K (สิงหาคม 2558)

  • Intel Kaby lake 14nm ตัวท็อป Core i7-7700K (มกราคม 2560)

และแน่นอนว่าทุกรุ่น มีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads ครับ

 

Ryzen เงามืดใกล้เข้ามา

ช่วงเวลาของ Intel 4 Cores/8 Threads ดำเนินมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2560 จนกระทั่ง AMD ยกเครื่องสถาปัตยกรรมซีพียูใหม่ทั้งหมด จากรถไถแก่ ๆ มาเป็นสถาปัตยกรรม Zen ประเดิมด้วย Ryzen 7 1700 และ 1800X ที่มาพร้อมแกนประมวลผลสูงถึง 8 Cores/16 Threads เทียบแล้วมีแกนประมวลผลเท่ากับ Intel Core i7-7820X ที่เป็นซีพียู Workstation เลยทีเดียว

การมาของ Ryzen ทำเอา Intel อึ้งกันไปพอสมควร ด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้าน Multithread ซึ่งในเวลานั้น มีหลายเกมที่นักพัฒนาเริ่มปรับให้เกมรองรับแกนประมวลผลซีพียูได้เยอะขึ้น จึงกลายเป็นข้อดีของ Ryzen โดยปริยาย

ถึงแม้ Intel จะได้เปรียบในด้านความแรง Single-thread หรือความแรงต่อ Core แต่แรงแค่แกนเดียวมันหากินอะไรได้น้อยลง สุดท้าย Intel จึงต้องเพิ่มแกนประมวลผลในซีพียูรุ่นถัดไป คือ Intel Core i7-8700K ที่มาพร้อมแกนประมวลผล 6 Cores/12 Threads

และนี่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสิ้นสุดยุคทองของซีพียู 4 Cores/8 Threads ลงในที่สุด หากลองติดตามดูจากผลสำรวจของ Steam ในปี 2020 มีซีพียู 4-Core ถูกใช้งานมากถึง 50% แต่ล่าสุดเหลืออยู่เพียง 19% ในขณะที่ซีพียู 6-Core ขึ้นมาเป็นที่นิยมแทนครับ

 

เกร็ดน่ารู้: Core i7 6 Cores/12 Threads หลงยุค “Gulftown”

ในช่วงเวลาปี 2553-2554 ทาง Intel ได้เปิดตัวซีพียู Core i7 ที่ใช้ชื่อโค้ดเนม Gulftown ชิป 32nm ในตอนนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 4 รุ่น คือ Core i7-970, Core i7-980, Core i7-980X และ Core i7-990X ซึ่งทุกรุ่นจะมีแกนประมวลผล 6 Cores/12 Threads แต่จะต่างกันที่ Clock speed ครับ

โอเคถ้ามองแค่นี้หลายคนน่าจะพอนึกออกว่า รุ่นที่ลงท้ายด้วย X น่าจะเป็นซีพียูกลุ่ม Enthusiastic หรือกลุ่มผู้ใช้ด้าน Workstation แต่ทำไมถึงมีรุ่น Core i7-970 และ Core i7-980 เหมือนเป็นรุ่นธรรมดาทั่วไปโผล่มาด้วยล่ะ ??

เท่าที่แอดได้ไปสืบค้นข้อมูลมา จริง ๆ เจ้า Core i7-970 และ Core i7-980 ถูกจัดให้เป็นกลุ่มซีพียูสำหรับผู้ใช้ทั่วไปนี่แหละ แต่เหมาะกับค้นที่เน้นคอมประสิทธิภาพสูงหน่อย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า Intel เคนทำซีพียูรุ่นธรรมดาที่มีแกนมากกว่า 4-Core ออกมาด้วยนะ แต่ทำไมไม่ทำต่อก็ไม่รู้ แล้วย้ายพวกแกนเยอะ ๆ ไปไว้ในกลุ่ม Extreme Edition ที่เป็นซีพียู Workstation แทน

Related articles

[HOW TO] ลองเล่นเกม PC บนมือถือ Android ด้วย Winlator ติดตั้งยังไง ไปดู !!

iPhone เค้าเริ่มนำเกม PC มาพอร์ตลงเครื่องกันแล้วนะครับ งานนี้ Android ไม่น้อยหน้ามีให้เล่นเหมือนกันผ่านแอป Winlator แต่มีขั้นตอนเยอะหน่อย...

ป้องกัน: Top 5 กล้องวงจรปิดไร้สาย ประจำปี 2024 ที่ทุกบ้านควรมี

ยุคนี้บ้านไหนก็ต้องมีกล้องวงจรปิด ถือเป็นอีกหนึ่งแกดเจ็ตประจำบ้านที่ขาดไม่ได้ เอาไว้ดูแลสอดส่องความปลอดภัย โดยเฉพาะบ้านไหนเลี้ยงน้องหมา/น้องแมวยิ่งต้องมีไว้เลย จะได้แอบส่องดูเด็ก ๆ ได้ตลอดเวลา แถมยังเอาไว้ติดต่อสื่อสารกับคนที่บ้านได้ด้วย บางคนชอบสั่งของออนไลน์ก็ติดกล้องไว้เพื่อคอยแจ้งกับพนักส่งสินค้าได้เช่นกัน และในปี...

รีวิว iQOO Z9 5G และ iQOO Z9x 5G เอาใจสายเอ็นเตอร์เทน ทั้งเล่นเกมและชมคอนเท็นต์ หน้าจอ AMOLED 1.5K พร้อมลำโพงคู่

เปิดตัวพร้อมวางจำหน่ายแล้วสำหรับ iQOO Z9 5G และ iQOO Z9x 5G เกมมิ่งสมาร์ตโฟนราคาสุดคุ้ม...

AIS ผนึกพันธมิตร จัดเวทีเสวนา ชู ครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก เปิดสูตรเด็ด เคล็ดลับ ต่อยอด อาชีพครีเอเตอร์ สู่ผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน

AIS จัดเสวนา Global Creator Culture SummitเชิญกูรูระดับโลกProfessor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกาเปิดตัวเลขการเติบโตของครีเอเตอร์ในเวทีโลก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า