[Extreme History] Creeper-Reaper ตำนาน Virus-Antivirus คู่แรกของโลกคอมพิวเตอร์

พอดีว่าผมย้อนไปอ่านเนื้อเรื่องของการ์ตูนดิจิมอนภาค 3 แล้วค้นพบว่าตัวร้ายในเกมที่ชื่อว่า The Reaper มีที่มาจากประเด็นที่เรากำลังจะกล่าวถึงในวันนี้ ซึ่งผมขอเสนอบทความเรื่อง Creeper-Reaper ไวรัสและแอนติไวรัสคู่แรกของโลกคอมพิวเตอร์

แม้ไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรกจะเกิดขึ้นในช่วงปี 1970-1980 แต่แนวคิดของโปรแกรมชนิดนี้ย้อนกลับไปเมื่อปี 1949 โดย John von Neumann นักคณิตศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า สักวันหนึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะสามารถก๊อปปี้ตัวเองขึ้นมา และเคลื่อนย้ายไปอยู่ในคอมเครื่องอื่น ๆ ได้

และนี่คือแนวคิดพื้นฐานที่สุดในการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์

จนกระทั่งในปี 1971 Bob Thomas ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัท BBN Technologies ได้พัฒนาโปรแกรมตัวหนึ่งขึ้นมา พร้อมตั้งชื่อว่า Creeper มันมีคุณสมบัติในการควบคุมให้คอมพิวเตอร์ปริ๊นต์ข้อความขึ้นมา จากนั้นมันก็จะย้ายตัวเองไปยังคอมเครื่องอื่น โดยไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ สำหรับข้อความที่ถูกปริ๊นต์ออกมานั้น คือ

I’m the creeper: catch me if you can

ถ้าดูจากคุณสมบัติของ Creeper แล้ว อาจจะไม่ได้เรียกมันว่าเป็นไวรัสเสียทีเดียว เนื่องจากมันมีคุณสมบัติเพียงสั่งให้คอมเครื่องนั้นปริ๊นต์ข้อความ จากนั้นจึงย้ายตัวเองไปยังคอมเครื่องอื่นโดยที่ไม่ได้ “ก๊อปปี้” หรือเพิ่มจำนวนขึ้นในคอมเครื่องเดิม

ข้อความที่ปริ๊นต์ออกมาจากคำสั่งของ Creeper

Bob ปล่อยเจ้า Creeper ลงสู่เมนเฟรม DEC PDP-10 ระบบปฏิบัติการ TENEX บนระบบการเชื่อมต่อ APRANET (การเชื่อมต่อในองค์กรรูปแบบหนึ่ง ต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ต)

จากนั้นราว ๆ 1 ปีให้หลัง Creeper ถูกนำไปพัฒนาต่อโดย Ray Tomlinson (รู้จักกันในนามผู้ริเริ่มการใช้อีเมลบนระบบ APRANET) โดย Ray เพิ่มความสามารถที่สำคัญให้กับ Creeper นั่นคือ ความสามารถในการก๊อปปี้หรือเพิ่มจำนวนตัวเองในคอมเครื่องเดิม ก่อนที่จะย้ายไปยังคอมเครื่องใหม่

จึงอาจกล่าวได้ว่า Creeper มีคุณสมบัติเหมือน Worm นั่นเองครับ

และด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่รู้ แต่ผมคาดว่า Ray น่าจะพอทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้ Creeper โลดแล่นในระบบ (อาจทำให้หน่วยความจำเต็ม หรือระบบรวนได้) เขาจึงพัฒนาโปรแกรมตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Reaper ควบคู่ไปด้วย

จริง ๆ Reaper ถูกออกแบบให้มีลักษณะเดียวกับ Creeper คือสามารถ Action และย้ายตัวเองไปยังเครื่องอื่นได้ บางคนเลยนับว่า Reaper คือไวรัสหรือเวิร์มตัวที่ 2 ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั่นเองครับ

ทีนี้ Action ที่สำคัญของ Reaper มีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือ กวาดล้าง Creeper ให้สิ้นซาก ดังนั้น ในการทดลองของ Ray เขาได้ปล่อย Creeper ออกไปในระบบก่อน จากนั้นจึงปล่อย Reaper ให้ไปตามกำจัดพวกมัน ซึ่งแน่นอนว่าได้ผลสำเร็จ ระบบ APRANET ก็ปราศจาก Creeper ไปในทันใด

เพราะฉะนั้น หากเทียบแล้ว Reaper จะทำหน้าที่เหมือนกับโปรแกรมแอนติไวรัส ที่คอยสอดส่องและทำลาย Creeper ครับ

ส่วนไวรัสตัวแรกที่เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ MS-DOS จะมีชื่อว่า BRAIN ครับ…..แต่วันนี้เราจบกันแค่นี้ก่อนละกัน หากใครอยากฟังเรื่องเล่าของมัน หรือมีเรื่องอื่น ๆ มานำเสนอ ก็คอมเมนต์บอกกันมาได้เลยนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

History of computer viruses: Creeper and Reaper.


https://history-computer.com/Internet/Maturing/Thomas.html

Related articles

HOW TO: เข้าไบออสง่าย ๆ ไม่ต้องกดคีย์ลัด ด้วย Shortcut บน Windows !!

สำหรับใครที่กดคีย์ลัดเข้าไบออสไม่เคยจะทัน หรือโน้ตบุ๊กบางรุ่นเราก็ไม่รู้ปุ่มคีย์ลัดของมัน วันนี้แอดมีวิธีเข้าไบออสผ่านชอร์ตคัตบน Windows ง่าย ๆ ถ้าเผลอหลุดเข้ามาใน Windows ก็กดชอร์ตคัตไปได้เลยครับ เริ่มแรกบนหน้าเดสก์ท็อป...

Black Myth: Wukong การ์ดจอต้องแรงแค่ไหนถึงเอาอยู่

เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์แห่งปีอย่าง Black Myth: Wukong โดยตัวเกมจะมาในแนว RPG ที่ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่เราทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี...

MSI โชว์แรม DDR5 CAMM2 ปฏิวัติวงการคอม – แรงกว่า, ประหยัดไฟกว่า, ซ่อมง่ายกว่า ไม่ขวางทางลม !!

จากการเปิดตัวไปในงาน Computex 2024 แรมชนิดใหม่ DDR5 CAMM2 กำลังเข้ามาปฏิวัติวงการประกอบคอม ซึ่งทาง MSI...

Windows ติดบั๊ก ทำให้ AMD Ryzen แรงลดลง หากไม่เข้าถึงสิทธิ์ Admin

พักหลังที่ Windows 11 เริ่มเสถียร ก็ไม่ค่อยมีบั๊กที่ทำให้ซีพียูหรือการ์ดจอแรงลดลงแล้วนะครับ แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะมีการค้นพบบั๊กใหม่ ที่กระทบต่อความแรงของซีพียู AMD Ryzen...

6 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ AMD Ryzen 9000 Series – จัดเลยไหมหรือรอต่อไป ??

ก่อนหน้านี้เราน่าจะได้เห็นผลทดสอบของ Ryzen 9000 Series กันไปบ้างแล้ว และน่าจะมีแผนอัปเกรดในอนาคต เดี๋ยววันนี้แอดจะพาไปดูเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อซีพียูรุ่นใหม่จากค่าย AMD กันครับ Single-Core...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า