[Extreme History] ยังจำได้ไหม ? NVIDIA TITAN Series การ์ดจอเทพที่ถูกลืม

ถ้าย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เกมเมอร์หลายคนน่าจะได้ยินชื่อเสียงของซีรีส์การ์ดจอ ที่ถูกขนานนามว่า “แรงที่สุดในโลก” อย่าง NVIDIA TITAN Series แต่จากการ์ดตัวสุดท้ายเมื่อปี 2018 ตอนนี้ผ่านมาแล้วเข้าปีที่ 6 ก็ยังไร้วี่แววการปรากฏตัวของการ์ดสุดแกร่งครับ

ดังนั้น วันนี้จะพาย้อนไปดูเรื่องราวของการ์ด NVIDIA TITAN Series สักเล็กน้อย พร้อมหยิบสเปกของการ์ดจอแต่ละรุ่นมาให้ได้อ่านกันช่วงวันหยุดปีใหม่ครับ

 

NVIDIA TITAN Series มันไม่ใช่การ์ดจอเล่นเกม !!

จริง ๆ แล้วเป้าหมายในการเปิดตัวการ์ดจอ TITAN Series ของ NVIDIA คือ การนำไปใช้ในงานประมวลผลโดยเฉพาะ เนื่องจากชิปกราฟิกที่นำมาใช้ในการ์ดจอ TITAN Series จะเป็นชิปที่ไม่ถูกตัด CUDA Cores ออกเลย เรียกว่าชิปตัวเต็มเป็นไง TITAN ก็เป็นอย่างนั้น

ซึ่งถ้าเราไปดูการ์ดจอ NVIDIA TITAN X ที่เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2016 เทียบกับตัวท็อปด้านเกมมิ่งอย่าง GTX 1080 Ti (เปิดตัวมีนาคม 2017) จะพบว่า NVIDIA TITAN X มีแกนประมวลผล CUDA Core มากถึง 3072 Cores ในขณะที่ GTX 1080 Ti มีเพียง 2816 Cores

อีกจุดเด่นหนึ่ง คือ VRAM หรือแรมการ์ดจอ โดยส่วนมาก TITAN Series จะให้แรมการ์ดจอมามากกว่าตัวท็อป Ti อยู่แล้ว แต่อาจทิ้งห่างกันไม่มาก เช่น TITAN X (12GB) เทียบกับ GTX 1080 Ti (11GB) หรือถ้าเยอะกว่าก็จะเยอะเป็น 2 เท่าไปเลย TITAN RTX (24GB) เทียบกับ RTX 2080 Ti (11GB)

แค่นี้ก็จะเห็นแล้วว่าการ์ดจอ TITAN Series เหมาะแก่การนำมาใช้ในงานด้านการประมวลผลเป็นหลัก ยิ่งแรมเยอะยิ่งได้เปรียบ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันจะเล่นเกมไม่ได้นะครับ TITAN Series ยังเล่นเกมได้ดี แถมเกมใหม่ ๆ ก็อาจทำได้ดีกว่าด้วยแรมการ์ดจอที่เยอะกว่านั่นเองครับ

 

การ์ดจอ NVIDIA TITAN Series ที่เคยเปิดตัวมีรุ่นใดบ้าง

GeForce GTX TITAN

การ์ดจอ TITAN ตัวแรก เปิดตัวปี 2013 ใช้ชิปสถาปัตยกรรม Kepler มาพร้อมแกนประมวลผล 2688 CUDA Cores, แรม GDDR5 6GB

 

GeForce GTX TITAN Black

การ์ดจอรุ่นปรับปรุงของ GTX TITAN เปิดตัวในปี 2014 สเปกจะคล้ายเดิม เพิ่มเติมคือ Clock speed ของชิปกราฟิกเพิ่มขึ้นครับ

 

GeForce GTX TITAN Z

TITAN ตัวแรกที่เป็นการ์ดจอ Dual GPU เปิดตัวในปี 2014 ยังใช้ชิป Kepler เหมือนเดิม โดยแต่ละชิปมี 2880 CUDA Cores และแรม GDDR5 6 GB (รวมเป็น 12GB) บอกเลยเจ้าตัวนี้โคตรร้อนและกินไฟสุด ๆ

 

GeForce GTX TITAN X

มาต่อกันที่สถาปัตยกรรมใหม่ Maxwell การ์ดตัวนี้เปิดตัวในปี 2015 มาพร้อมแกนประมวลผล 3072 CUDA Cores และแรม GDDR5 12 GB

 

TITAN X

ชื่อจะคล้าย ๆ เดิม แต่ตัด GTX ออก แล้วใช้สถาปัตยกรรมใหม่ Pascal มาพร้อมแกนประมวลผล 3584 CUDA Cores แรม GDDR5X 12 GB of GDDR5X

 

TITAN Xp

รุ่นปรับปรุงของ TITAN X เปิดตัวในปี 2017 สเปกคล้าย ๆ เดิม แต่เพิ่มความเร็ว GPU และความเร็วแรม ถือว่า TITAN X และ Xp เป็นรุ่นสร้างชื่อให้กับซีรีส์นี้พอสมควรครับ

 

TITAN V

อันนี้จะค่อนข้างแหวกแนว เนื่องจาก TITAN V จะใช้ชิปสถาปัตยกรรม Volta ในขณะที่รุ่นก่อนหน้าจะยึดสถาปัตยกรรมเดียวกับการ์ดจอเกมมิ่งในเจนเดียวกัน สำหรับ TITAN V มาพร้อมแกนประมวลผล 5120 CUDA Cores, 640 Tensor Cores และแรม HBM2 12 GB สเปกแหวกแนวสุด ๆ อันนี้ล่ะคือการ์ดเน้นงานประมวลผลของแท้เลย

 

TITAN RTX

TITAN ตัวสุดท้าย (ในตอนนี้) คือ TITAN RTX เปิดตัวปี 2018 ใช้สถาปัตยกรรม Turing เหมือนการ์ดจอ RTX 20 Series มาพร้อมแกนประมวลผล 4608 CUDA Cores, 576 tensor cores, 72 RT cores และแรม GDDR6 24

 

แล้ว TITAN Series หายไปไหน?

สำหรับเรื่องนี้แอดมองว่าในอดีต TITAN Series ทำออกมาเพื่อเติมเต็มช่องว่างทั้งคนที่เน้นงานประมวลผลและการเล่นเกม โดยมันสามารถทำทั้งสองอย่างได้ดี ในขณะเดียวกันมันยังถือว่าเป็นการ์ดที่จบในตัวเดียว เป็นต้นว่าเดิมถ้าเราจะซื้อการ์ดหลายตัวมาต่อ SLI เพื่อให้ได้การ์ดจอรวมที่มีแรมเยอะ ๆ ถ้าอย่างนั้นก็ซื้อ TITAN ไปเลยดีกว่าเห็น ๆ

แต่ในปัจจุบันการ์ดจอเล่นเกมเองก็สามารถนำมาใช้ในงานประมวลผลได้ดีไม่แพ้กัน คือถ้าเป็นพวกที่ใช้งานคละกันทั้งเน้นประมวลผลและเล่นเกม ก็จัด RTX 4090 ไปตัวเดียวยังไหว หรือถ้าจะใช้เน้นประมวลผลแท้ ๆ ก็ไปหา Quadro หรือแก๊งค์ Hopper มาใช้ก็ดีกว่าแน่นอน

ไหนจะเรื่องราคาที่ TITAN ทำออกมาแพงกว่าการ์ดเกมมิ่งทั่วไปอีก แม้ในช่วงนั้นต้องยอมรับว่า TITAN Series จะให้แรมการ์ดจอมาเยอะกว่า แต่เกมในช่วงปี 2018 ลงไปยังไม่ได้กินแรมการ์ดจอเยอะกว่าแรมในการ์ดจอเกมมิ่ง ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายแพงกับส่วนต่างที่ได้มาไม่คุ้มค่าเงิน

ดังนั้น นี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ NVIDIA ไม่ทำการ์ดจอ TITAN Series ออกมาในตอนนี้ แม้จะมีข่าวลือมาตั้งแต่ตอนการ์ดจอ RTX 30 Series จนตอนนี้ RTX 40 Series ก็ยังไม่มีวี่แววครับ

ส่วนใครที่มีครอบครองหรือเคยใช้ ลองบอกเล่าความรู้สึกมาได้นะครับ ว่าใช้ TITAN แล้วมันมหึมาสมชื่อจริง ๆ ไหม

Related articles

รีวิว MSI CYBORG 14 A13VF เครื่องเล็กสเปคแรง เน้นพกพาง่าย Intel Core i7-13620H + RTX4060

MSI CYBORG 14 A13VF-064TH เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คขนาดเล็กสเปคแรง เหมาะสำหรับการเล่นเกมที่ห้องพักหรือเน้นพกพาออกมาไปใช้งานข้างนอก จบครบทั้งเรื่องงานและเล่นเกม มากับหน้าจอ IPS...

ป้องกัน: ดูหนัง Netflix Exclusive โซนอื่น ไม่มีสะดุด ด้วย BullVPN – ผู้ให้บริการ VPN อันดับ 1 ในไทย

เชื่อว่าสายเกมเมอร์หรือสายสตรีมมิ่งน่าจะเคยใช้ VPN กันมาบ้างแล้วล่ะ สำหรับแอดมองว่ามันเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก ทั้งในด้านความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ต รวมถึงด้านความปลอดภัย และวันนี้แอดไม่ได้มาตัวเปล่านะ เพราะแอดมี BullVPN...

Zhaoxin KX-7000 ซีพียูจีน เผยผลทดสอบ Single-Core สูสี Intel Skylake แต่ Multi-thread แรงกว่า !

หลายคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องคอมน่าจะได้ยินเรื่องราวของซีพียู Zhaoxin ซีพียูจากประเทศจีนที่ทำออกมาใช้ภายในประเทศ ล่าสุดมีผลทดสอบออกมาแล้วสำหรับ Zhaoxin KX-7000 Series ครับ Zhaoxin เป็นซีพียูที่จีนพัฒนาขึ้น...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า