PR : ฟอร์ซพอยต์ เผย การคาดการณ์ความปลอดภัยบนไซเบอร์ประจำปี  2562 การสื่อสารร่วมกันได้อย่างวางใจ คือหัวใจของการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโต ให้องค์กรธุรกิจ และรัฐบาล

ฟอร์ซพอยต์ เผย การคาดการณ์ความปลอดภัยบนไซเบอร์ประจำปี  2562

การสื่อสารร่วมกันได้อย่างวางใจ

คือหัวใจของการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโต ให้องค์กรธุรกิจ และรัฐบาล

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ และทีมวิจัย เตือนภัยถึงความเสี่ยงในระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและแหล่งข้อมูลของชาติ รวมถึงภัยคุกคามการระบุตัวตนทางชีวภาพ และความเสี่ยงจากการเชื่อมั่น AI ในระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์มากเกินไป

 

กรุงเทพฯ – 13 ธันวาคม 2561 –  ฟอร์ซพอยต์ Forcepoint ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ เผยผลรายงานเกี่ยวกับการคาดการณ์ความปลอดภัยบนไซเบอร์ของฟอร์ซพอยต์ ประจำปี 2562 (2019 Forcepoint Cybersecurity Predictions Report) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย นักวิจัยที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ต่างชี้แนะแนวทางการรับมือให้กับองค์กรที่อาจต้องเผชิญกับภัยคุกคามซึ่งมีความซับซ้อนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

รายงานดังกล่าว ได้สำรวจใน 7 ประเด็นที่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในปี 2562 โดยผู้เชี่ยวชาญของฟอร์ซพอยต์ได้เจาะลึกถึงเทคโนโลยีที่เป็นแนวโน้ม รวมถึงปัจจัยที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการโจมตีบนไซเบอร์ เพื่อที่ผู้นำองค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐฯ รวมถึงทีมงานด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์กรเหล่านี้ จะได้เตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับคลื่นลูกใหม่ของภัยคุกคาม  ทั้งนี้องค์กรธุรกิจและภาครัฐบาล ต่างกำลังเผชิญกับโลกแห่งการควบรวมระบบงานหลายส่วนเข้าด้วยกัน (hyper-converged world) ซึ่งนอกจากจะทำให้ระบบงานต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับข้อมูลสำคัญและสินทรัพย์ทางปัญญาตกอยู่ในความเสี่ยงแล้ว ยังรวมถึงความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยทางกายภาพด้วยเช่นกัน  โดยรายงานได้สำรวจประเด็นเหล่านี้ พร้อมกับให้ข้อสรุปว่าเมื่อใดก็ตามที่ผู้คนสามารถประสานความร่วมมือกันได้อย่างวางใจ รวมถึงสามารถใช้ข้อมูลผ่านเทคโนโลยีได้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ เมื่อนั่นองค์กรธุรกิจก็จะสามารถคิดค้นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้อย่างมั่นใจ

 

“ทั้งอุตสาหกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และผู้โจมตี จะพยายามมากยิ่งขึ้น ในการดำเนินการโต้ตอบ หลบหลีกและป้องกันช่องโหว่ที่เกิดขึ้นอย่างไม่จบไม่สิ้น นับเป็นเกมแมวไล่จับหนูอย่างแท้จริง” นายแบรนดอน แทน หัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟอร์ซพอยต์ กล่าว “เราต้องหนีจากเกมนี้ให้ได้ ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับการคาดการณ์เหล่านี้ นับเป็นการบังคับให้เราก้าวถอยหลังและมองผืนป่าทั้งหมดที่อยู่ท่ามกลางต้นไม้นับหลายล้านต้นในแบบภาพรวม  ทั้งนี้มืออาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์และผู้นำธุรกิจ จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่มองเห็น เพื่อสร้างสิ่งดีๆ พร้อมทั้งหยุดเรื่องที่ไม่ดี”

การต่อกรกับการปฏิรูปทางดิจิทัล และความเชื่อมั่น

ผลรายงาน การคาดการณ์ความปลอดภัยบนไซเบอร์ของฟอร์ซพอยต์ประจำปี 2562 ได้สำรวจผลกระทบต่อธุรกิจที่เชื่อมั่นและให้ความไว้วางใจในผู้ให้บริการคลาวด์ รวมถึงผลกระทบจากความเชื่อมั่นของผู้ใช้ปลายทางเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวด้วยการใช้เทคโนโลยียืนยันตัวบุคคล (biometrics) และผลกระทบที่เกิดจากความไว้วางใจต่อกันเป็นทอดๆ ในห่วงโซ่ของการให้บริการที่เกี่ยวข้อง

 

ในการสำรวจลูกค้าของฟอร์ซพอยต์นั้น 94 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการรักษาความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญที่สุดในการย้ายไปสู่ระบบคลาวด์  โดย 58 เปอร์เซ็นต์ กำลังมองหาผู้ให้บริการที่สามารถเชื่อถือและไว้วางใจได้จริงและเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงด้านการรักษาความปลอดภัย โดย 31 เปอร์เซ็นต์ กำลังจำกัดปริมาณข้อมูลที่จะนำไปไว้บนคลาวด์เนื่องจากยังกังวลเรื่องความปลอดภัยอยู่

 

“วิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นและควบคุมเรื่องความปลอดภัยได้ ก็คือการสร้างแบบจำลองพฤติกรรมผู้ใช้ หรือ ที่พิเศษไปกว่านั้น ก็คือการตรวจสอบอัตลักษณ์ทางดิจิทัลของผู้ใช้ เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุและผลที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมต่างๆ” นายแบรนดอน กล่าว “การเข้าใจถึงรูปแบบการใช้งานผ่านเครือข่ายหรือในการใช้แอปพลิเคชัน สามารถระบุความผิดปกติทางพฤติกรรม ซึ่งจะช่วยให้มีข้อมูลในการตอบโต้เพื่อรับมือกับความเสี่ยงได้

การคาดการณ์จากฟอร์ซพอยต์ใน 7 ประเด็น ที่สุ่มเสี่ยงในปี 2562

ประเด็นที่น่าจับตามองในรายงานปีนี้ มีดังต่อไปนี้

  • การขับเคลื่อนไปสู่เอดจ์ หรือปลายทางเครือข่าย

ผู้บริโภคต่างเหนื่อยใจกับช่องโหว่และการละเมิดข้อมูลส่วนตัวที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เรื่องนี้นำไปสู่ผลก็คือองค์กรต้องเสนอวิธีการใหม่ที่ช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวในบริการที่นำเสนอ โดยเอดจ์ คอมพิวติ้ง จะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมข้อมูลส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการเก็บข้อมูลไว้ในสมาร์ทโฟน หรือแลปท็อป  ซึ่งโซลูชันในปัจจุบันจะต้องทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหลไปบนคลาวด์ จึงนับว่าจะประสบความสำเร็จ

               

  • เส้นทางการปะทะกันของสงครามเย็นบนไซเบอร์

การจารกรรมข้อมูล มักจะนำไปสู่ความตื่นตัวและทำให้ประเทศชาติมีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ แต่เนื่องจากโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลอย่างชอบธรรมค่อยๆ ลดลง ด้วยเหตุผลในเรื่องของการปกป้องทางการค้า จึงทำให้ผู้ที่อยู่อีกฟากได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างแท้จริง ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม  ฉะนั้นองค์กรจะเก็บรักษาทรัพย์สินทางปัญญาให้พ้นมือของแฮกเกอร์ที่ฉวยโอกาสจากเรื่องนี้ได้อย่างไร?

 

  • ฤดูที่หนาวเหน็บของปัญญาประดิษฐ์

ถ้าปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังสร้างการรับรู้ด้วยตัวเองขึ้นมาใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จะทำได้จริงหรือไม่? ผู้โจมตีจะหาประโยชน์อย่างไรจากการชะลอการระดมทุนของ AI?  การที่เราเชื่อมั่นในขั้นตอนวิธีการ (algorithms) และการวิเคราะห์เพื่อนำร่องยานยนต์ได้อย่างสำเร็จ เพื่อให้มุมมองเชิงลึกที่นำไปสู่การตัดสินใจด้านการดูแลสุขภาพ และเพื่อแจ้งเตือนมืออาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลสูญหาย เรื่องเหล่านี้ให้ความเชื่อมั่นได้มากน้อยแค่ไหน? ผู้จำหน่ายจะอ้างถึงประสิทธิภาพของ AI ที่ขัดกับข้อเท็จจริงเรื่องการโจมตีบนไซเบอร์ด้วยวิธีการซับซ้อนได้อย่างไร?

 

  • ภาพสะท้อนการปลอมแปลง

การโจมตีแบบฟิชชิ่งยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ กลเม็ดของแฮกเกอร์ เช่น “การเปลี่ยนซิม” ทำลายประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน 2 ขั้นตอน หรือ 2FA (two-factor authentication) เช่นการส่งข้อความยืนยันกลับมาที่ผู้ใช้งาน ซึ่งการยืนยันด้วยไบโอเมทริกซ์ หรืออัตลักษณ์เฉพาะของผู้ใช้ จะช่วยเสริมความปลอดภัยได้อีกชั้น ด้วยการยืนยันด้วยข้อมูลที่มีความเฉพาะตัวยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้แต่ละราย แต่ช่องโหว่ใหม่ๆ ที่พบในซอฟต์แวร์ระบบจดจำใบหน้า ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหันมาเชื่อใจในการยืนยันด้วยลักษณะทางพฤติกรรม

 

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม เพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับธีมการคาดการณ์ทั้ง 7 ประเด็นของฟอร์ซพอยต์ รวมถึงผลกระทบจากการคาดการณ์ในปี 2562

 

ข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการคาดการณ์ความปลอดภัยบนไซเบอร์ของฟอร์ซพอยต์ ประจำปี 2562

Related articles

รีวิวสอบ CompTIA CySA+ เกือบหลับแต่กลับมาได้ พร้อมแชร์แหล่งเรียนรู้ ใครอยากสอบต้องดู

ก่อนหน้านี้ผมเคยสอบ CompTIA Security+ ไปแล้ว (ย้อนอ่านได้ที่ ลิงก์นี้) ด้วยความที่สนใจสาย Blue Team...

การเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองสำหรับ iPhone 16

การใช้งาน iPhone 16 ที่หลากหลาย ทั้งการเดินทางไกล เที่ยวต่างประเทศ วิ่งเทรล เดินป่า หรือใช้งานในออฟฟิศและชีวิตประจำวัน...

ADATA และ XPG ร่วมมือกันขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Unite for Victory รวมใจเพื่อชัยชนะ”

บริษัท ADATA เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำแบรนด์ด้านหน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล พร้อมด้วยแบรนด์เกมมิ่ง XPG ยินดีประกาศการจัดสัมมนาคู่ค้า...

[HOW TO] เช็กก่อนใช้ไฟล์น่าสงสัยติดไวรัส ฟรี! ด้วยเว็บไซต์ Virustotal

เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยประสบพบเจอกับการถูกแฮ็ก Facebook หรืออีเมล โดยมีต้นตอมาจากการโหลดโปรแกรมเถื่อน หรือมีไฟล์ติดไวรัสแถมมาในเครื่อง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเช็กไฟล์นั้นได้ และรู้ด้วยว่าไฟล์ติดไวรัสพวกนั้นทำอันตรายอะไรกับคอมเราได้บ้าง วันนี้แอดมีเว็บไซต์เช็กไฟล์ไวรัสมาแนะนำ นั่นคือ www.virustotal.com...

เผยผลทดสอบ AMD Fluid Motion Frames 2 (AFMF) เพิ่มเฟรมเรตในเกมได้สูงถึง 78%

ปัจจุบันฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มเฟรมเรตในเกม นอกเหนือจากเทคโนโลยีอัปสเกลภาพอย่าง DLSS/FSR แล้ว ที่มาแรงในตอนนี้คือ Frame Generation ซึ่งล่าสุดทาง AMD...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า