[HOW TO] วิธีเปิดใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync

เนื่องจากมีเพื่อน ๆ สอบถามกันเข้ามาบ่อยว่าจอ FreeSync รุ่นนี้ จะใช้งาน G-Sync ได้ไหม ? วันนี้ผมจะขออธิบายให้ฟังในบทความนี้เลยนะครับ

เดิม G-Sync เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีที่ใช้กับจอที่มาพร้อมชิปพิเศษจาก NVIDIA ซึ่งชิปนี้จะช่วยให้การทำงานของการ์ดจอ GeForce กับตัวจอมอนิเตอร์สามารถฉายภาพเกมได้พร้อม ๆ กัน ช่วยลดปัญหาภาพขาดได้ดีกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ แต่ปัญหาคือจอ G-Sync แท้ ๆ นี้มันก็มีราคาแพงพอสมควรครับ

นั่นทำให้ NVIDIA ได้เพิ่มออปชัน G-Sync Compatible ซึ่งมันก็คือ FreeSync อย่างหนึ่ง โดยจะควบคุมการแสดงผลภาพของการ์ดจอและจอมอนิเตอร์ให้สอดคล้องกันผ่านซอฟต์แวร์ (ไดรเวอร์) ตั้งแต่เมื่อปี 2019 แล้วล่ะครับ สรุปแล้วมันคือ FreeSync อย่างหนึ่งที่ทำงานในการ์ดจอ NVIDIA นั่นเอง

ทีนี้เรื่องมันมีอยู่ว่า เนื่องจากจอที่โฆษณาว่าเป็นจอ FreeSync ผู้ผลิตอาจจะไม่ได้เทสกับการ์ดจอ GeForce มาก่อนเลยว่าจะสามารถใช้งาน G-Sync compatible ได้หรือไม่ (เช่น จอผลิตออกมาก่อนที่ NVIDIA จะออกตัว G-Sync compatible) ดังนั้น ทาง NVIDIA จึงได้มีการทดสอบแยกไว้ให้แล้ว ว่าจอรุ่นไหนที่รองรับ G-Sync compatible บ้าง โดยดูได้จากลิ้งก์นี้เลยครับ G-Sync compatible display

โดยจอจากลิ้งก์ข้างบนจะถูกทดสอบมาแล้วว่ารองรับ G-Sync compatible แน่ ๆ แต่ถ้าเราซื้อจอ FreeSync นอกเหนือจากในลิสต์ล่ะ? คำตอบคือ อาจจะใช้ได้โดยไม่มีปัญหา แม้ว่าจะไม่เคยถูกทดสอบอย่างเป็นทางการมาก่อน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากมันไม่มีเคยถูกเทสมาก่อน ถ้าเกิดปัญหาในระหว่างการใช้งานก็ต้องรับรู้ไว้ว่ามันอาจจะยังรองรับไม่สมบูรณ์ ซึ่งอันนี้คงต้องรอให้มีการอัปเดตไดรเวอร์กันต่อไป

วิธีการเปิดใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync

วิธีการเปิดใช้ไม่ได้ต่างไปจาก FreeSync เลยนะครับ เริ่มแรกให้เข้าไปเปิด FreeSync จากในจอมอนิเตอร์เราก่อน โดยเราจะต้องเชื่อมต่อจอกับการ์ดจอด้วยสาย Display Port เท่านั้น !! และอย่าลืมอัปเดตไดรเวอร์ให้เป็นรุ่นล่าสุดด้วย

 

เมื่อเปิด FreeSync ในจอแล้ว ให้เข้าไปเช็คใน Nvidia Control Panel จะเจอส่วนที่เขียนว่า Setup G-Sync
แต่ถ้าไม่ขึ้นให้ไปที่ 3D Settings ในแท็บ Global แล้วเลื่อนหาเมนู Monitor Technology >> กดเลือก G-Sync Compatible

เท่านี้เราก็สามารถใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync ได้แล้ว !!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tom’s Hardware

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า