สำหรับกระบวนการผลิตของทาง Intel ถือว่ามีความก้าวหน้าที่มากขึ้นหากอ้างอิงกฏของ Moore’s Law, ซึ่งสามารถขยายข้อจำกัดและเพิ่มประสิทธิภาพ, ไม่ว่าจะเป็นทางด้านพลังงานที่ดีมากขึ้นและตันทุนที่ลดน้อยลงต่อ /per-transistor หากเทียบแบบรุ่นต่อรุ่น,
ทางเราภูมิใจที่จะมาแชร์ประสบการ์ณและเปิดเผยแผนงานของเราในส่วนของกระบวนการผลิตที่จะมีขึ้นต่อไป-ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากเท่าที่เป็นได้หากอ้างอิงและข้อจำกัดของ Moore’s Law curve
ทาง Intel ยังกล่าวเพิ่มอีกว่า-กระบวนการผลิตรูปแบบ 10nm FinFET node สามารถเพิ่มความหนาแน่นให้กับผัง transistor ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.7 เท่าหากเทียบกับ 14nm production node ของทางบริษัท, ซึ่งทั้งนี้ทาง Intel สามารถที่จะเพิ่มความหนาแน่นของ transistors ลงบนสินค้ารูปแบบ 10nm และในขณะเดียวกันขนาด die ก็เล็กลงอีกด้วย.
ถือว่าเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญอีกครั้งของทาง Intel, ซึ่งสามารถผลิตและนำเสนอ CPU cores พร้อมด้วยจำนวน transistor ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น, และประสิทธิภาพต่อแกนก็มีมากขึ้นหรือจะมีฟีเจอร์ที่ใหม่ๆหรือจำนวนแกนที่อาจจะมีมากขึ้นในขนาด die ที่เล็กลง.
ที่งาน, ทาง Intel ได้จัดแสดง 10nm Cannon Lake CPU wafer ขึ้นเป็นครั้งแรก, แต่ไม่เปิดเผยภาพของตัว wafer มาให้ชมกันในงาน.
และที่งานเช่นเดียวกัน, ทาง Intel ยังออกมาย้ำอีกว่า-สำหรับกลุ่ม foundry industry ควรที่จะต้องใช้มาตรฐานขนาดของกระบวนการผลิต หรือ process node sizes แบบเดียวกัน, เหตุเพราะ ณ วันนี้ทำกันแบบโฆษณาชวนเชื่อเสียมากกว่า.
ทาง Intel ต้องการกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ใช้มาตราฐานในการวัดขนาดรูปแบบการผลิตให้ตรงกับ-ความหนาแน่นของตัวทรานซิสเตอร์เสียมากกว่าเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน, ซึ่งแน่นอนผู้ผลิตรายอื่นๆต่างก็อาจจะไม่เห็นด้วย-โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกมาเคลมว่าเป็นผู้นำทางด้านนี้.
มีการอัพเดทซึ่งเกี่ยวข้องกับความร่วมมือกันระหว่างทาง Intel และ ARM (ผู้ผลิต) เพื่อเร่งการผลิตสำหรับ ARM SoCs เพื่อมาสนองต่อ Intel 10nm process. ทาง Intel ยังได้นำเสนอและแสดงตัว wafer chip รุ่นทดสอบสำหรับ ARM Cortex-X75, ซึ่งสามารถทำความเร็วได้เกิน 3.0GHz, ซึ่งถือว่าเร็วมากสำหรับ ARM CPU.
ARM ทำการออกแบบ CPU โดยใช้สถาปัตยกรรม RISC เป็นหลักและได้เพิ่มเติมความสามารถบางอย่างเข้าไปเพื่อให้ทำการกับ Hardware อันอื่นได้สูงสุด เขียนโปรแกรมแบบ loop ได้ง่ายขึ้น (ดูได้ที่นี่ ถ้าอยากรู้รายละเอียดลึกๆๆๆๆ)
ด้วยความที่ ARM CPU เป็น CPU ที่กินไฟน้อย จึงทำให้มันโด่งดังในตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ , ในปี 2005 ประมาณ 98% ของมือถือทั้งหมดที่ขายทั้งปี (1000 ล้านเครื่อง) ต้องมี ARM CPU อย่างน้อยหนึ่งอัน อุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆก็ใช้ ARM CPUอย่างแพร่หลาย เช่น PDA, Tablet, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นเกมส์แบบพกพา เครื่องคิดเลข hard disk และ Router
อ้างอิงจาก – https://groups.google.com/forum/#!topic/cdgs/6AdxkI83wwc
ณ ตอนนี้คาดว่าทาง Intel จะปล่อยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับ 10nm ออกสู่ตลาดผู้บริโภคประมาณกลางปี 2018, ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นกลุ่มของอุปกรณ์พกพาก่อนและก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มอุปกรณ์พกพาและโน็ตบุ๊ค
ที่มาเครดิต/Sources:
https://www.overclock3d.net/news/cpu_mainboard/intel_issues_10nm_updates_and_reveals_the_industry_s_first_shipping_64-layer_tlc_3d-nand/1
You must be logged in to post a comment.