[เรื่องน่ารู้] Intel TDP vs. AMD TDP กับความหมายที่แตกต่างกัน

สำหรับบทความในวันนี้ เรามาไขข้อข้องใจเรื่องของ TDP หรือ Thermal Design Power ว่าจริงๆ แล้วมันคือค่าอะไรกัน และบ่งบอกอะไรได้บ้าง

TDP หรือ Thermal Design Power คือค่าพลังงานความร้อนที่อุปกรณ์ผลิตออกมา และระบบระบายความร้อนจะต้องกำจัดออกไปในสภาวะต่างๆ

นั่นหมายความว่า ค่า TDP นี้ มีผลโดยตรงในการเลือก Cooler แต่ทั้งนี้ มักมีคนนำไปใช้ในการคำนวณเรื่องการกินไฟ ซึ่งมันไม่ใช่นะครับ เพราะมันไม่ได้บ่งบอกถึงพลังงานที่อุปกรณ์นั้นๆ ใช้ไป

แล้วมันมีผลอย่างไรล่ะ? อย่างที่ผมบอกไปแล้ว ค่านี้มีผลต่อการเลือก Cooler โดยถ้าอุปกรณ์ใดมีค่า TDP สูง แสดงว่ามันมีแนวโน้มที่จะผลิตความร้อนออกมาได้มาก และต้องการ Cooler ประสิทธิภาพดี หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น

แต่รู้หรือไม่ว่า!! การกำหนดค่า TDP ของอุปกรณ์แต่ละชิ้นแต่ละค่าย มีความแตกต่างกันไป ขึ้นกับนิยามที่มีการกำหนดไว้ และหนึ่งในสิ่งที่มีการนิยามค่า TDP ต่างกัน คือ ซีพียู

 

นิยาม TDP ของ Intel

Intel ให้นิยามของค่า TDP คือ พลังงานที่ Cooler ต้องใช้ในการกำจัดความร้อนออกจากซีพียู “เมื่อซีพียูทำงานในความเร็วของ Base clock”

และนี่แหละคือปัญหา เพราะเมื่อซีพียูเริ่มมีโหลดสูงขึ้น ความเร็วของมันจะไม่ได้อยู่ในระดับ Base clock แต่จะเริ่มมีความเร็วเพิ่มขึ้น ทำให้ความร้อนถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ Cooler ที่ยึดค่า TDP ดั้งเดิม มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการระบายความร้อนครับ

ยกตัวอย่างเช่น Core i7-8700 มีค่า TDP 65W ซึ่งหมายถึงพลังงานที่ Cooler ใช้ในการกำจัดความร้อน เมื่อซีพียูทำงานที่ความเร็ว 3.2 GHz แต่เมื่อเพิ่มงานหนักสุดๆ แล้ว มันดันมีความเร็วสูงถึง 4.6 GHz นั่นทำให้ความร้อนออกมามากกว่าเดิม Cooler สำหรับ TDP 65W คงไม่เพียงพออีกต่อไป

ปัญหานี้สำหรับผู้ที่ประกอบคอมใช้เอง คงไม่ได้เจอกันมากนัก เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะจัด Cooler แบบโหดๆ กันอยู่แล้ว แต่ปัญหาดันตกไปที่คอมกลุ่ม OEM เพราะมักจะมีการจัด Cooler มาให้พอดีกับค่า TDP ที่ Intel กำหนดขึ้น ส่งผลให้การระบายความร้อนอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรครับ

 

นิยาม TDP ของ AMD

ของ AMD ยิ่งแปลกเข้าไปอีก โดยการกำหนดว่า TDP คือค่าพลังงานสูงสุด ที่ซีพียูนำไปใช้งาน ภายใต้สภาวะการทดสอบผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง” ??

ฟังดูแล้วอาจจะงงๆ ถ้าลองอ่านซ้ำดูจะพอเข้าใจว่า AMD สามารถกำหนดค่า TDP อย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่นำมาทดสอบการใช้ และผลิตพลังงานของซีพียูในขณะนั้น

แม้ว่ามันจะมีความสมเหตุสมผลในแง่ของการเลือกพลังงานสูงสุด อย่างไรก็ตาม เมื่อนำไประบุในซีพียูแล้วมันก็ดูตลกๆ หน่อย ที่ว่า Ryzen 7 2700 ดันมีค่า TDP เท่ากับ Ryzen 3 1300X ทั้งที่มันไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

แต่ทั้งนี้ ในกรณีของ AMD จะดีกว่าเล็กน้อย ตรงที่มันเป็นค่า TDP สูงสุด ซึ่งนั่นหมายความว่า มันมีแนวโน้มที่จะสื่อถึงการทำงานของซีพียู เมื่อมีโหลดเต็มที่ และมีความสมเหตุสมผลในการเลือก Cooler มาใช้งานครับ

เท่านี้เราก็พอจะทราบแล้วว่า ค่า TDP ของซีพียูทั้ง 2 ค่ายแตกต่างกันอย่างไร ถ้าข้อมูลส่วนไหนผิดตกบกพร่อง ก็สามารถคอมเมนต์เพิ่มเติมได้ใต้โพสต์เลยนะครับ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Techspot

Related articles

Zhaoxin KX-7000 ซีพียูจีน เผยผลทดสอบ Single-Core สูสี Intel Skylake แต่ Multi-thread แรงกว่า !

หลายคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องคอมน่าจะได้ยินเรื่องราวของซีพียู Zhaoxin ซีพียูจากประเทศจีนที่ทำออกมาใช้ภายในประเทศ ล่าสุดมีผลทดสอบออกมาแล้วสำหรับ Zhaoxin KX-7000 Series ครับ Zhaoxin เป็นซีพียูที่จีนพัฒนาขึ้น...

ป้องกันไฟล์จาก Ransomware ฟรี ! ด้วย Windows Defender

Ransomware หรือไวรัสขโมยไฟล์เรียกค่าไถ่ อาจเคยทำให้ใครหลาย ๆ คนปวดหัวไม่น้อย วันนี้แอดเลยขอนำเสนอวิธีการป้องกันไวรัสขโมยไฟล์เบื้องต้น โดยใช้ฟีเจอร์ใน Windows Defender...

วิธีตั้งค่าไบออส แก้ปัญหา Intel Gen 13 และ Gen 14 ทำเกมแครช/เล่นไม่ได้

สำหรับใครที่มีปัญหาเกมแครช, คอมดับตอนเล่นเกม หรือเกมเปิดไม่ได้พร้อมแจ้งแรมการ์ดจอไม่พอ "Out of video memory" ซึ่งเกิดในคนที่ใช้ซีพียู Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า