Intel เคลม Xeon Platinum 9282 แรงกว่า EPYC 7742 ใน Real-World โป๊ะแตก!! เลือกใช้โปรแกรมเวอร์ชันเก่า

แม้มีหลายบริษัทหันไปเลือกใช้ซีพียู AMD EPYC ในการผลิตเซิร์ฟเวอร์มากขึ้น แต่ Intel ยังยืนหยัดว่า Intel Xeon เป็นซีพียูเซิร์ฟเวอร์ที่แรงกว่าอยู่ดี

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า Steven Collins ได้อัปเดตผลการทดสอบเทียบระหว่าง Intel Xeon Platinum 9282 (Cascade Lake 14nm 56-Core) และ EPYC 7742 (Zen 2 7nm 64-Core) ทั้งหมดนี้ทดสอบในระบบ 2S ให้ ‘เบิ้ลแกนประมวลผลขึ้นอีกเท่าตัวนะครับ

ผลปรากฏว่าเป็นไปตามคาดครับ Intel Xeon Platinum 9282 ทำคะแนนส่วนใหญ่ได้เยอะกว่า EPYC อันที่แย่ที่สุดคือได้คะแนนน้อยกว่าประมาณ 2% อันที่ดีที่สุดคือได้คะแนนมากกว่าถึง 84% (เฉลี่ยแล้วดีกว่าประมาณ 31%)

และทำให้ Ryan Shrout หัวหน้าฝ่าย Performance Strategist ของ Intel ได้ทวีตข้อความและภาพลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัว ดังภาพที่เห็น

แต่!! เรื่องนี้มี Pitfall

มีคนสอบถามไปทาง Ryan ให้มีการเทียบระหว่างประสิทธิภาพต่อราคาดูบ้าง แต่ได้คำตอบมาประมาณว่า “จะพูดถึงราคาทำไม ในเมื่อเรากำลังพูดถึง Performance อยู่ แถมต่อให้มีราคาสูงจริง ด้วยความแรงขนาดนี้ คุณก็ไม่ต้องซื้อซีพียูเยอะมาก ก็ได้ความแรงที่ต้องการแล้ว”

เอาล่ะเรามาดูราคา จากข้อมูลของ Anandtech ตีราคา Xeon Platinum ไว้ประมาณ 25K-50K ดอลลาร์ ในขณะที่ EPYC 7742 มีราคา 6950 ดอลลาร์ เท่ากับว่า Xeon ชุดนึง ได้ EPYC 3-4 ตัว

ต่อมาคือเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน Xeon 9282 หนึ่งตัว จะมีค่า TDP 400W แต่ระบบจะทำงานได้ต่อเมื่อเป็น 2S ใส่สองตัว จึงจะได้ TDP รวม 800W ส่วนทางด้าน EPYC มี TDP 225W ต่อหนึ่งตัวครับ

แต่เรื่องที่โป๊ะมากที่สุด คือ Patrick J Kennedy ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งในผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ServeTheHome ที่ทำเกี่ยวกับงานเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชัน ได้ออกมา Reply ข้อความกลับไปยัง Ryan ดังภาพด้านล่าง

ใจความคือว่า โปรแกรม GROMACS ที่ Intel ใช้ทดสอบ มันคือเวอร์ชัน 2019.3 ซึ่งไอ้เวอร์ชันนี้ มันทำงานร่วมกับคำสั่ง AVX2 ของ EPYC ได้ไม่ดีเท่าไร แล้วเขาก็ได้ออกอัปเดตเวอร์ชัน 2019.4 มาแล้วด้วย ซึ่งประสิทธิภาพใน EPYC ต้องดีกว่านี้แน่ ๆ

อีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือ Legal notice ของ Intel กล่าวว่า

Refer to https://software.intel.com/en-us/articles/optimization-notice for more information regarding performance and optimization choices in Intel software products.

ก็คือในการทดสอบนี้ เลือกใช้โปรแกรม Real-world ที่ใช้คอมไพลเลอร์ของ Intel หมายความว่า ซีพียูเจ้าอื่น “อาจจะ” ไม่ได้มีฟังก์ชันที่ครบถ้วน หรือทำงานได้ดีเท่ากับ Intel นั่นเองครับ

เอาล่ะ อย่างไรก็ตาม มันคือเรื่องของการตลาด และสิ่งที่ Ryan พูดไว้มันก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ว่าเขาต้องการแสดงเรื่องของ Performance มากกว่าเรื่องอื่น แต่ที่อยากให้ปรับผลใหม่นั่นคือ GROMACS นะครับ หวังว่าคงจะมีอัปเดตตามมาเร็ว ๆ นี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wccftech

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า