ซีพียู Quad-Core เพียงพอหรือไม่ ? สำหรับการเล่นเกมในปี 2020

สืบเนื่องมาจากประเด็นที่ถกเถียงกัน ถึงความคุ้มค่าของซีพียู Quad-Core ในปี 2020 ซึ่งในบทความนี้ผมขอเรียกว่าการเสนอความเห็นละกัน ว่าจริง ๆ แล้วยุคนี้คุณควรอัปเกรดซีพียูแล้วหรือยัง

ในสมัยก่อนที่ซีพียูยังมีแกนประมวลผลไม่มากนัก (Dual-Core หรือมากที่สุดก็ Quad-Core สำหรับผู้ใช้ทั่วไป) เกมและแอปพลิชันต่าง ๆ ก็ยังเน้นประสิทธิภาพของ Single-thread กันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่ต้องเน้นแกนเยอะ แต่เน้นที่แกนแรงจะได้ผลดีกว่า

แต่ในยุคหลังที่เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น การพัฒนาแอปพลิเคชันและเกมถูกปรับปรุงให้สามารถเรียกใช้แกนประมวลผลหลาย ๆ แกนได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะฉะนั้น ถ้าแกนเยอะขึ้น ก็น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่จะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ?

เอาล่ะเนื่องจากบทความนี้จะเน้นในเรื่องของการเล่นเกมเป็นหลัก ดังนั้นเราไปดูประสิทธิภาพที่ได้หลังการทดสอบจากเว็บไซต์ต่าง ๆ กันครับ

ผลทดสอบแรกได้จากทางเว็บไซต์ Gaming Scan ซึ่งเป็นการทดสอบด้วย 3DMark DirectX 11 จะเห็นได้ว่าที่แกนประมวลผล 4-Core ขึ้นไป ประสิทธิภาพไม่ได้แตกต่างกันมากนัก

ถัดมาเป็นผลทดสอบจาก Techspot อันนี้จะเน้นเทสกับเกมจริง ๆ กราฟทั้งหมดทางด้านบนจะใช้การ์ดจอ RTX 2080 Ti เพื่อไม่ให้เกิดอาการคอขวด ลองดูที่ความละเอียด 1080p นะครับ จะเห็นว่าโดยส่วนใหญ่แล้วซีพียู 4-Core (2200G) และ 4-Core with Multithreading (2400G) จะได้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ในขณะที่เมื่อแกนประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็น 6-Core จะเริ่มได้ FPS ที่เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร

บางคนอาจจะบอกว่า มันก็เป็นเรื่องของ Clock speed ที่แตกต่างกันด้วย และนั่นก็คือปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ผลทดสอบของ 4-Core และ 6-Core ต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตที่กราฟของผลทดสอบอันสุดท้ายในเกม Shadow of the Tomb Raider จะเห็นว่าซีพียู Quad-Core เริ่มปั่น FPS ไม่ขึ้นแล้วล่ะ

เพื่อยืนยันว่าซีพียู Quad-Core กลายเป็นข้อจำกัดของเกม Shadow of the Tomb Raider จึงได้มีการทดสอบกับการ์ดจอที่แตกต่างกัน บนความละเอียดที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า 2200G จะมีค่า FPS ที่จำกัด เหมือนสุดอยู่ที่ 51 FPS

เพราะฉะนั้น จากจุดนี้ผมพอจะสรุปได้ว่า ซีพียู Quad-Core ยังใช้งานได้ดีอยู่นะ แต่อาจจะไม่ยืนยันอนาคตที่สดใสเท่ากับ Hexa-Core (6-Core) เมื่อเวลาผ่านไปการเล่นเกมด้วยซีพียู 4C/4T หรือ 4C/8T อาจจะพบ CPU Usage 100% ได้

แต่ไม่ได้หมายความว่าหลังอ่านบทความนี้แล้ว คุณจะออกจากบ้านไปซื้อซีพียูตัวใหม่มาเปลี่ยนนะครับ หากคุณมองว่า FPS ที่ได้มันน่าพึงพอใจ และคุณใช้งานมันได้ลื่น ๆ ไม่มีปัญหา ก็ไม่ใช่เหตุผลสำคัญอะไรนักที่คุณต้องเปลี่ยนมัน ^^

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Techspot, Gaming Scan

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า