Metaverse = จักรวาลนฤมิตร – อ่านยากแท้ แล้วทำไมต้องมี “ศัพท์บัญญัติไทย” ??

หลายคนน่าจะเห็นประกาศล่าสุดจากราชบัณฑิตยสถาน ที่ได้บัญญัติศัพท์ของ Metaverse ไว้ว่า “จักรวาลนฤมิตร” หรือเขียนเป็นทับศัพท์ว่า เมตาเวิร์ส และยังมีคำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อีกมากมายที่มีศัพท์บัญญัติของตนเอง

และในวันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความเข้าใจกันว่าทำไมจึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศให้เป็นคำภาษาไทย รวมถึงศัพท์บัญญัติบางส่วนที่เราเข้าใจผิดมาตลอด (ทั้งที่จริงมันเป็นมีมที่ทำออกมาบนโลกอินเทอร์เน็ตต่างหาก)

รูปภาพจาก Spring news ซึ่งยังมีคำที่ไม่ได้บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภา เช่น สำเนียงสกุณา

ศัพท์บัญญัติ (Coinage) คือการกำหนดคำขึ้นมาใหม่ในภาษาที่เข้าใจได้ (ย้ำนะว่า “ได้” ไม่ใช่ “ง่าย”) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการนำไปใช้ให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้สื่อสาร เพราะบางคำในภาษาต่างประเทศอย่างภาษาอังกฤษ หากเราพูดหรือเขียนเป็นคำภาษาอังกฤษออกไป บางครั้งคนอ่านหรือคนฟังที่ไม่รู้ความหมาย อาจจะนึกภาพไม่ออก ทำให้เป็นข้อจำกัดในการสื่อสารนั่นเอง

นั่นคือจุดประสงค์ของการทำศัพท์บัญญัติ คือให้เราสามารถสื่อสารกันได้สะดวกขึ้น เมื่อต้องพูดเป็นภาษาไทยครับ
แล้วจะสร้างคำใหม่เป็นศัพท์บัญญัติได้อย่างไร? กรณีนี้ราชบัณฑิตยสถานจะแปลความหมายของคำในภาษาอังกฤษออกมาก่อน จากนั้นจึงคิดคำภาษาไทยขึ้น โดยเริ่มใช้คำไทยแท้มาประสมกัน แต่ถ้าไม่มีคำไทยแท้ที่พอจะนำมาใช้ได้ ก็จะกระโดดข้ามไปใช้คำในภาษาบาลี-สันสกฤตแทน

การประสมคำให้กลายเป็นศัพท์บัญญัติ จะต้องเป็นคำที่มีความหมายในตัว ผมขอยกตัวอย่างเช่นคำว่า Television ที่มีศัพท์บัญญัติว่าโทรทัศน์ คำว่า Tele- แปลว่า ไกล, ห่างออกไป ซึ่งแปลงได้เป็น โทร- มาจากคำสันสกฤต แปลว่า ไกล, ห่างออกไป เช่นเดียวกัน รวมกับคำว่า vision แปลว่า การมองเห็น ซึ่งแปลงได้เป็น ทัศน์ มาจากคำสันสกฤต แปลว่า การมองเห็น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในตัวศัพท์บัญญัติเอง เมื่อแปลงมาจากคำในภาษาอังกฤษแล้ว จะยังให้ความหมายที่ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม

แต่ปัญหาของศัพท์บัญญัติคือ ยิ่งคำในภาษาอังกฤษอลังการมากเท่าไร การแปลงคำก็จะเริ่มยากขึ้น ยกตัวอย่าง คำว่า Intuition มีศัพท์บัญญัติแบบยาก ๆ ว่า “อัชฌัตติกญาณ” จะเห็นได้ว่าบางครั้งการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทยเริ่มยากมากขึ้น เพราะฉะนั้น จึงอนุโลมให้ใช้ ทับศัพท์ซึ่งเป็นการแปลงคำจากภาษาอังกฤษให้อยู่ในรูปภาษาไทยครับ

สำหรับการเขียนทับศัพท์ คือการเขียนคำอ่านของคำในภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย เช่น Facebook = เฟซบุ๊ก และมีข้อแม้ว่า คำใดที่เป็นชื่อแบรนด์ ชื่อสินค้า ที่มีการจดทะเบียนเป็นชื่อเฉพาะ เราจะต้องใช้ทับศัพท์เท่านั้น ดังนั้น จากข่าวตลก ๆ ที่ว่ากันว่าราชบัณฑิตยสถานให้ศัพท์บัญญัติของ Twitter ไว้ว่า “สำเนียงสกุณา” อันนี้ไม่เป็นคำจริงนะครับ เพราะเราจะต้องใช้คำทับศัพท์ โดยเขียนว่า “ทวิตเตอร์” เท่านั้น

ส่วนคำศัพท์ในคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ก็มีเขียนไว้บ้าง เช่น Hardware = ส่วนเครื่อง, ส่วนอุปกรณ์ หรือ Software = ส่วนชุดคำสั่ง ซึ่งช่วงหลังอนุโลมให้ใช้คำทับศัพท์ได้ เพราะได้รับความนิยมมากกว่า โดยเขียนว่า ฮาร์ดแวร์ หรือ ซอฟต์แวร์ตามลำดับ

เพราะฉะนั้น กระด้างภัณฑ์ และ ละมุนภัณฑ์ มันเป็นมีมนะครับ ไม่ใช่คำบัญญัติจริง ๆ หรอก

จริง ๆ ยังมีศัพท์บัญญัติอื่น ๆ เยอะอยู่นะครับในหมวดคอมพิวเตอร์ สำหรับลิ้งก์ด้านล่างจะเป็นศัพท์บัญญัติบางส่วนในหมวดคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มเข้ามาในราชบัณฑิตยสถาน แต่ถึงกระนั้นผมคิดว่าถ้าเราสะดวกใช้ทับศัพท์แทนก็ง่ายดีเหมือนกันนะ (ยุคนี้ผมว่าใคร ๆ ก็เข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษกันเยอะแล้วล่ะ ทับศัพท์ไปเลยง่ายดี)

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2527569647301115&type=3

Related articles

ป้องกัน: ดูหนัง Netflix Exclusive โซนอื่นแบบไม่มีสะดุด ด้วย BullVPN – ผู้ให้บริการ VPN อันดับ 1 ในไทย

เชื่อว่าสายเกมเมอร์หรือสายสตรีมมิ่งน่าจะเคยใช้ VPN กันมาบ้างแล้วล่ะ สำหรับแอดมองว่ามันเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก ทั้งในด้านความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ต รวมถึงด้านความปลอดภัย และวันนี้แอดไม่ได้มาตัวเปล่านะ เพราะแอดมี BullVPN...

Zhaoxin KX-7000 ซีพียูจีน เผยผลทดสอบ Single-Core สูสี Intel Skylake แต่ Multi-thread แรงกว่า !

หลายคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องคอมน่าจะได้ยินเรื่องราวของซีพียู Zhaoxin ซีพียูจากประเทศจีนที่ทำออกมาใช้ภายในประเทศ ล่าสุดมีผลทดสอบออกมาแล้วสำหรับ Zhaoxin KX-7000 Series ครับ Zhaoxin เป็นซีพียูที่จีนพัฒนาขึ้น...

ป้องกันไฟล์จาก Ransomware ฟรี ! ด้วย Windows Defender

Ransomware หรือไวรัสขโมยไฟล์เรียกค่าไถ่ อาจเคยทำให้ใครหลาย ๆ คนปวดหัวไม่น้อย วันนี้แอดเลยขอนำเสนอวิธีการป้องกันไวรัสขโมยไฟล์เบื้องต้น โดยใช้ฟีเจอร์ใน Windows Defender...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า