รู้จัก NFT แพลตฟอร์มเพื่อผลงานดิจิทัล จุดประกาย “ยุคเรเนซองส์” ให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

ช่วงนี้เทรนด์ของ NFT กำลังมาแรง โดยเพาะการขายงานศิลปะหรือไอเทมเกมต่าง ๆ ก็นิยมทำผ่านระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ NFT ให้มากขึ้น สำหรับมือใหม่หรือใครที่อยากลองหันมาทำรายได้กับแพลตฟอร์มนี้นะครับ

 

Non-fungible token

Non-fungible token คือคำเต็มของ NFT มีความหมายว่า สินทรัพย์ที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ จำเป็นต้องเป็นของชิ้นนี้ชิ้นเดียวเท่านั้น ในชณะที่ Fungible token จะสามารถหามาทดแทนกันเองได้ อ่านแล้วง้งงง ลองดูคำอธิบายเพิ่มเติมดังนี้นะครับ

ถ้าผมมี 1 bitcoin ผมส่ง 1 bitcoin นี้ให้เพื่อนยืมไปใช้ หลังจากนั้นพอเพื่อนผมจะหาเหรียญมาคืนผม เขาอาจจะไปรวบรวม bitcoin จากไหนก็ไม่รู้ให้ได้ทั้งหมด 1 bitcoin มาคืนผม ซึ่ง bitcoin ที่ไปหาอาจจะเป็นเหรียญที่ออกมาจากพูลในปี 2019 ร่วมกับในปี 2020 ผสมกันไปจนได้ 1 bitcoin

เพราะฉะนั้น bitcoin จะเป็นลักษณะของ Fungible token

แต่อีกเหตุการณ์หนึ่ง สมมุติว่าผมมีการ์ดยูกิโคตรหายาก มีแค่ 5 ใบในโลก และแต่ละใบจะมีโค้ดเป็นของตัวเองเพื่อบอกความเฉพาะเจาะจงของตัวไพ่ว่านี่ใบที่ 1 2 3 4 และ 5 เพราะฉะนั้นมันจะไม่สามารถทดแทนกันได้ ถ้าเพื่อนผมยืนการ์ดหมายเลข 1 ของผมไป แล้วดันทำหาย เขาจะเอาใบที่ 2 3 4 และ 5 มาแทนไม่ได้ เพราะมันคนละใบกัน นั่นหมายความว่าการ์ดแต่ละใบไม่สามารถทดแทนกันได้ แม้จะเป็นของที่เหมือนกันเกือบทั้งหมดก็ตาม

เพราะฉะนั้น การ์ดยูกินี้ จะเป็นลักษณะของ Non-fungible token หรือ NFT นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่บนโลกออนไลน์ โดยจะมีข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบบล็อกเชน Ethereum มีความปลอดภัย มีความจำเพาะเจาะจง และเชื่อถือได้จากการให้หลาย ๆ คนเป็นผู้ตรวจสอบครับ

 

เรากำลังซื้อขายอะไรกันอยู่นะ

จากข้อมูลในหัวข้อก่อนหน้านี้ที่ได้กล่าวไว้ว่า NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมด ดังนั้น มันจะเป็นอะไรก็ได้ที่อยู่ในรูปดิจิทัล เช่น รูปภาพ, งานศิลป์, เพลง, หรือแม้กระทั่งไอเทมในเกม เป็นต้น แน่นอนครับเราไม่สามารถจับต้องมันได้จริง ๆ ไม่เหมือนการซื้อแหวน, นาฬิกา หรือสมาร์ทโฟนที่เราจับถือกันได้

ในการซื้อขายผลงาน NFT ผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดว่านอกจากตัวผลงานแล้ว ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์อะไรไปครอบครองบ้าง สิทธิ์เหล่านั้นอาจครอบคลุมตั้งแต่สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ, ไฟล์ของผลงาน หรือแม้กระทั่งอำนาจด้านลิขสิทธิ์ของผลงาน NFT ชิ้นนั้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วเท่าที่ผมเคยเห็น การซื้อขายผลงาน NFT มักจะเป็นการซื้อขายแค่ตัวไฟล์ของมันเฉย ๆ ผู้ซื้อมักจะไม่ได้ครอบครองอำนาจด้านลิขสิทธิ์ในผลงานนั้น

ยกตัวอย่างเช่น การซื้อเกมจากร้านค้าใน Steam เราซื้อเกมเพื่อรับไฟล์เกมและดาวน์โหลดมาติดตั้งลงบนเครื่องได้ แต่ถ้าถามว่าเราได้เป็นเจ้าของที่แท้จริง หรือพูดง่าย ๆ คือเป็นคนที่ถือลิขสิทธิ์ของเกมนั้นหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เราไม่ได้มีสิทธิ์ในการแก้ไขอะไรในตัวเกมนั้นเลย เช่นเดียวกันกับ NFT ส่วนมากผู้ซื้อจะได้รับแค่ไฟล์กลับไป ในขณะที่โค้ดหรือไฟล์ต้นฉบับยังอยู่กับผู้ขาย หรือบางทีเราอาจจะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของรูปภาพหนึ่งในตลาด NFT แต่กลับไม่ได้ไฟล์อะไรมาเลยก็เป็นได้ !!

 

มันจะมีค่าอะไร หากผลงาน NFT บางชิ้นยังถูกก็อปไปใช้ต่อได้โดยผู้อื่น

อันนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลงาน NFT ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือมีมสาวน้อยแห่งหายนะ Disaster Girl ซึ่งปัจจุบันเรายังคงเห็นมีมนี้เกลื่อนกลาดบนโลกโซเชียล และมีคน Copy & Paste ภาพนี้ไปใช้อยู่เรื่อย ๆ คำถามคือ มันจะมีค่าอะไรต่อคนที่ทุ่มเงินซื้อภาพต้นฉบับไปหลายล้านบาท ทั้งที่คนอื่นก็มีภาพเหมือนกับของเขา

“Disaster Girl” Credit…Dave Roth

คำตอบคือ มันมีค่าเพราะเรากำหนดค่าให้กับมันครับ หมายความว่า สุดท้ายแล้วภาพที่เป็นต้นฉบับเพียงหนึ่งเดียวของมีม Disaster Girl จะอยู่กับคนที่ซื้อมันไป ต่อให้เราก็อปภาพของมีมนี้มาจากไหนก็ตาม แต่มันก็ไม่มีทางเป็นของชิ้นเดียวกับคนที่ซื้อภาพต้นฉบับ NFT ไปอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้คือการที่เรากำหนดค่าให้กับมัน ว่าภาพต้นฉบับที่ซื้ออย่างถูกต้องผ่านบล็อกเชน NFT นั้น คือภาพที่ถูกต้อง ไม่มีใครเหมือน และมีมูลค่า ซึ่งมันจะมีมูลค่าเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ทุกคนยังบอกว่ามันมีมูลค่าครับ

 

เราจะซื้อขาย NFT ได้อย่างไร

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT เกิดขึ้นมากมาย แพลตฟอร์มหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือ Opensea.io ภายในเว็บจะมีผลงานมากมายของศิลปินที่ถูกนำมาวางขายในรูปแบบ NFT โดยเฉพาะผลงานศิลปะ ซึ่งการซื้อขายหลัก ๆ จะชำระเป็น ETH ตามมูลค่าที่ผู้ขายกำหนดไว้ หลังจากซื้อไปแล้วเราก็จะได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ NFT ชิ้นนั้น “เท่าที่ผู้ขายกำหนดไว้”

ส่วนมากผู้ขายจะนิยมกำหนดให้ผลงาน NFT ชิ้นนั้นมีขายอยู่เพียง 1 ชิ้น เพื่อความน่าสนใจและมูลค่าให้กับตัวผลงาน หลังจากที่ขายไปแล้ว ก็จะไม่มีใครที่มีสิทธิ์ครอบครองผลงานได้เหมือนคนที่ซื้อไปอีกแล้ว

อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าคนขายคิดไม่ซื่อ นำไฟล์ต้นฉบับพวกนี้ไปขายต่อในแพลตฟอร์มอื่น หรือมีคนก็อปภาพจาก Opensea แล้วไปขายที่อื่นล่ะ?? อันนี้ผมคิดว่าทางแพลตฟอร์มแต่ละแห่งก็คงจะมีวิธีตรวจสอบ เพื่อป้องกันการทำซ้ำของผลงานที่ควรจะมีออกมาในจำนวนจำกัด สำหรับกรณีที่ว่าผู้ขายอาจจะเล่นไม่ซื่อ นำผลงานไปขายที่อื่นด้วย มันก็คงต้องขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของศิลปินแล้วล่ะ ว่าสมควรแล้วหรือที่จะทำเช่นนั้น

Cr. Feedough

ส่วนอีกกรณีที่ว่าอาจมีคนก็อปภาพผลงานที่คุณเพิ่งซื้อไปหมาด ๆ ไปลงขายในเว็บอื่น (อารมณ์ก็อปเป็น .jpg แล้วไปตั้งขายที่เว็บอื่น) จุดนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะมีกระบวนการจัดการอะไรบ้างนะ มันคงมีระบบที่ช่วยในการตรวจสอบอยู่บ้างล่ะ

 

NFT จะกลายเป็นการจุดประกายยุคเรเนสซองส์ขึ้นมาอีกครั้ง

ตั้งแต่มีแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล NFT ขึ้นมา ก็ทำให้ตลาดงานศิลปะครึกครื้นมากขึ้นกว่าเดิม ศิลปินสามารถนำผลงานที่สแกนเสร็จแล้วมาตั้งขายได้ในราคาที่สูงลิบ แถมยังสามารถกำหนดได้ว่าอยากจะให้ขายได้ทั้งหมดกี่ชิ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เปรียบเสมือนการกลับมาของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือยุคเรเนสซองส์ ที่ผู้คนให้ความสนใจกับงานศิลปะมากขึ้น

หากเพื่อน ๆ คนไหนที่มีฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานดิจิทัล หรืออยากมีผลงานดิจิทัลไว้เป็นของตัวเองสักชิ้นหนึ่ง ก็ลองไปหาซื้องาน NFT กันได้จากเว็บไซต์ที่เปิดขายนะครับ หรือถ้าใครเคยซื้อไปแล้ว ลองคอมเมนต์มาบอกกันหน่อยนะว่าซื้ออะไรกันไปบ้าง

Related articles

[HOW TO] ย้ายเกม Steam จากไดรฟ์ C ไปไดรฟ์ D ง่าย ๆ ไม่เสียเวลาโหลดเกมใหม่ !!

ปัญหาหนึ่งหลายคนอาจจะเคยเจอ คือ ไดรฟ์ C ใกล้เต็มจากการลงเกม Steam แต่ไดรฟ์ D เหลือเยอะมาก...

เคลียร์ชัด! ความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน VS. ข้างนอก

ในปัจจุบันเริ่มมีการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทำให้เราต้องปรับตัวและทำความรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ใครที่เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกไอเทมที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือ ‘ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ EV...

Igor’s Lab เผย การ์ดจอแพงแต่ซิลิโคนห่วย ทำให้เกิดความร้อนสูง เมื่อใช้งานนาน ๆ

เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ร้องเรียนบนเว็บไซต์ Reddit ถึงปัญหาการ์ดจอร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส หลังจากใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ได้นานมาก เป็นหลักเดือน)...

ป้องกัน: Dell Precision 5690 โน้ตบุ๊กระดับ Workstation สเปกโหด สำหรับสายทำงานโดยเฉพาะ

ปัญหาที่พบได้บ่อย สำหรับการหาซื้อโน้ตบุ๊กมาใช้งานเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น Adobe, AutoCAD หรือ Solidworks คือ “ความเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์”...

เจาะลึก “AMD Ryzen 9000 Series” และเมนบอร์ด AM5 800 Series จากงาน AMD Tech Day

สัปดาห์ที่ผ่านมา แอดได้ไปงาน AMD Tech Day ซึ่งเขาได้เจาะลึกเทคโนโลยีของ AMD ทั้งซีพียู Ryzen,...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า