เจาะลึกข้อมูลชิป NVIDIA Ampere ใน RTX 3000 Series ปรับปรุงมากน้อยแค่ไหนกันนะ

สำหรับเช้านี้ ผมขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลสถาปัตกรรม Ampere ของการ์ดจอ GeForce RTX 3000 Series พร้อมกับผลทดสอบอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ จาก NVIDIA

มาดูที่ผลทดสอบการเล่นเกมกันเลยนะครับ ในภาพจะมีการทดสอบเล่นเกม Minecraft (RTX), Borderland และ Control (RTX) พร้อมเปรียบเทียบกับการ์ดจอรุ่นเก่า โดยการ์ด RTX 3070 จะทดสอบที่ความละเอียด 1440p ส่วน RTX 3080 จะทดสอบที่ 4K ครับ

นอกจากนี้ยังมีการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดรุ่นพี่อย่าง RTX 3090 เทียบกับ TITAN RTX นอกเหนือจากเกม 3 เกมข้างต้นแล้ว ยังถูกทดสอบการประมวลผลสามมิติอีกด้วย และแน่นอนครับ RTX 3090 แรงกว่าประมาณ 1.5 เท่า

หลังจากที่เคยมีการถกเถียงกันว่าสรุปแล้ว NVIDIA เลือกใช้ชิปจาก SAMSUNG หรือ TSMC ? จากข้อมูลนี้พบว่ามันเป็นชิป SAMSUNG 8nm ความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์อยู่ที่ 44.6 MT/mm^2 เทียบกับชิป Turing 12nm จาก TSMC ที่มีความหนาแน่น 24.7 MT/mm^2

การ์ดจอ RTX 3090 และ 3080 จะใช้ชิป GA102 ส่วน RTX 3070 จะใช้ชิป GA104 ซึ่งภายในชิปจะประกอบด้วยแกนประมวลผล 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ Streaming Multiprocessors (SM), RT Core และ Tensor Core ครับ

Streaming Multiprocessors (SM)

NVIDIA ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายในของแกนประมวลผล ผมขออธิบายแบบง่าย ๆ คือ ในชิป Ampere นั้น 1 SM จะมีเส้นทางข้อมูลอยู่ 2 ทาง เส้นหนึ่งจะประมวลผลคำสั่ง 16 FP32 ส่วนอีกเส้นจะประมวลผลคำสั่ง 16 FP32 และ 16 INT32

นั่นทำให้แต่ละ SM สามารถประมวลผลคำสั่งได้มากถึง 32 FP32 หรือ 16 FP32 หรือ 16 INT32 ในแต่ละรอบ ภาพรวมนั้นจึงทำให้การประมวลผลด้าน FP32 ของชิป Ampere ทำได้ดีกว่าชิป Turing ประมาณ 2 เท่า ซึ่งเป็นผลดีต่องานกราฟิกนั่นเองครับ

 

RT Core

RT Core เป็นแกนประมวลผล Ray tracing ซึ่งได้รับการปรับปรุงเป็น 2nd Generation สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ Triangle interpolation ช่วยลดการเกิด Motion blur ในเกมที่เปิด real-time Ray tracing

 

Tensor Core

Tensor Core จะเป็นแกนประมวลผลที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน AI โดยเฉพาะการเปิดใช้งาน DLSS ซึ่ง Tensor Core ใน 3rd Generation นี้ ถอดแบบมาจากการ์ดจอ Tesla A100 Accelerator และมันทำงานได้ดีกว่าชิป Turing แน่นอน

 

HDMI 2.1 และเกม 8K

สำหรับการ์ดจอ RTX 3090 ที่ทาง NVIDIA โฆษณาไว้ว่ามันออกแบบมาเพื่อการเล่นเกความละเอียด 8K หากนึกไม่ออกก็ลองมองไปที่จอ Full HD ครับ จอแสดงผล 8K จะมีเม็ดพิกเซลมากกว่าถึง 16 เท่า การ์ดจอที่เรา ๆ ใช้กันอยู่นี้น่าจะทำงานหนักพอสมควร

แต่ด้วยพัฒนาการของ Tensor Core และเทคโนโลยี DLSS 2 ช่วยให้เกมสามารถอัปสเกลความละเอียดเพิ่มขึ้น โดยไม่กระทบต่อเฟรมเรตมากนัก ก็ช่วยให้การเล่นเกม 8K เป็นไปอย่างราบลื่นขึ้น แม้ว่าตอนนี้จอ 8K ยังไม่เป็นที่นิยม แต่จากข้อสังเกตการรองรับพอร์ต HDMI 2.1 ทั้งในการ์ดจอ RTX 3090 รวมถึงคอนโซลอย่าง PS5 และ Xbox Series X ก็เหมือนกับเป็นการซื้ออนาคตด้วยนั่นเอง

และนี่ก็เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ์ดจอ RTX 3000 Series นะครับ แหม่ ยิ่งอ่านยิ่งอยากได้ เอาเป็นว่าถ้าทาง Extreme IT ได้การ์ดมาแล้ว เดี๋ยวจะรีบรีวิวให้ได้ชมกันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Videocardz

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า