สอนหมดเปลือกกับการ Overclock CPU ใครอยากรู้ว่าค่าอะไรเอาไว้ใช้งานอะไรต้องอ่าน

สอนหมดเปลือกกับการ Overclock CPU ใครอยากรู้ว่าค่าอะไรเอาไว้ใช้งานอะไรต้องอ่าน

qs

เรารู้เลยว่าทำไมคุณถึงกำลังจะอ่านบทความนี้ เพราะต้องการทำ overclocking ตัว processor แบบง่ายที่สุดไม่ยุ่งยากปวดหัว. แต่ก่อนที่คุณจะเข้าใจการทำ overclock CPU, มีหลักให้คุณเข้าใจง่ายๆก่อนไม่กี่ตัว.

สิ่งแรกก็คือ ความร้อน. ยิ่งเพิ่มพลังงาน/voltage ใส่เข้าไปเท่าไหร่ ความร้อนก็จะมากขึ้นเท่านั้น.

อย่างที่สอง, ความอยากได้ความเร็ว clock speed มากเท่าไหร่ สิ่งที่จะต้องใส่เพิ่มมากขึ้น ก็คือพลังงาน/voltage.

และสาม, พีซีของคุณมันมีข้อกำหนดว่าสามารถจะรับพลังงานได้มากเท่าไหร่ก่อนที่พีซีของคุณจะมีผลกระทบ-ไหม้ไปเลย. ซึ่งจะไปส่งผลกระทบต่อ frame rates สำหรับ GPUs ให้ลดน้อยลง, พีซีล่มในส่วนของ CPU, หรือไม่บู๊ธอีกเลย อิๆ.

ทั้งหมดนี้เพียงแค่จุดเริ่มต้นหรือสิ่งที่จำกัดในการทำ overclocking. ตัวชิปทั้งหลายเกิดมาเท่าเทียมกัน, แต่บางรุ่นก็อาจจะอึดกว่า. คุณคงเคยได้ยินกลุ่ม overclockers กล่าวถึง “The Silicon Lottery.” เอาสั้นๆนะ, นี้คือสิ่งที่เกิดจาก แต่ละโรงงานและขั้นตอนการผลิตตัว processor อาจจะแตกต่างกันทางด้านเทคนิค.

สิ่งผิดปรกติเพียงเล็กน้อยในตัว silicon สามารถทำให้เกิดผลกระทบได้หลายอย่างในด้านประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทนทานทางด้านการรับพลังงาน/voltage ที่จะไปเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง, และมันอาจจะส่งผลต่อการทนความร้อนได้มากขนาดไหนหากอัดเข้าไปเต็มๆหรือ max load. คุณอาจจะโชคดีก็ได้หรือไม่ แม้กระทั้งเป็นชิปรุ่นเดียวกันมาจากแหล่งเดียวกันก็ตาม.

มันสามารถทำให้เพิ่มสูงขึ้นได้ตั้งแต่ 0.2GHz frequency หรือบางครั้งสูงได้ถึง 1GHz ในการทำ overclocking แบบเสถียร.

เอาแบบนี้, สมมุติว่าคุณใช้ระบบทำความเย็นจากค่ายโมและดูที่คุณสมบัติหรืออ่านป้ายรายละเอียดทางเทคนิคด้วยว่า, คุณนั้นมีตัว processor หรืออุปกรณ์ที่มีความสามารถทำ overclocking ได้(K/X series สำหรับ Intel และ AMD chip), และคุณต้องรู้วิธีเข้าถึงตัว BIOS ในพีซี, และนี้ก็คือวิธีที่จะบอกว่าทำยังไง.

qs2

1. Check CPU stability/ตรวจสอบประสิทธิภาพและเสถียรภาพของ CPU

เพื่อให้การทำ overclock เป็นผลสำเร็จ, คุณต้องรู้ก่อนว่าตัว CPU นั้นมีความเสถียรแค่ไหนทั้งในโหมด idle/ทำงานทั่วไป และ max load/แบบอัดหนักๆเช่นเกมส์. เพื่อให้รู้ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร เราต้องการซอร์ฟแวร์ตัวนี้ Prime95.

คุณต้องดาวน์โหลดมันลงบนพีซีเพื่อที่จะได้ตรวจสอบความร้อนที่จะเกิดจาก CPU ว่ามันมากน้อยขนาดไหน outputting/ผลลัพธ์. สำหรับวิธีนี้เราจะใช้ Core Temp, ซึ่งจะใช้ได้ทั้ง AMD และ Intel cores.

แต่ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง – สำหรับ Corsair และ NZXT มักจะมีซอร์ฟแวร์ที่มากับตัวสินค้าและสามารถแสดงผลอันนี้ได้, นอกเหนือจากนั้น ตัว motherboards ทั่วๆไปมักจะมีหน้าเมนู/view-able temperature controls ที่สามารถแสดงอุณภูมิเอาไว้ให้แล้วสามารถใช้ได้จากพีซีของคุณ.

หากคุณไม่อยากดาวน์โหลดหรือติดตั้งโปรแกรมอื่นๆเข้ามา, คุณยังสามารถใช้ Real Temp GT เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถบ่งบอกสถานะอุณภูมิของแต่ละแกนได้.

2. Check your core temp/ตรวจสอบอุณภูมิของแต่ละแกน

หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้วเสร็จ ก็โหลด Core Temp ขึ้นมาเพื่อทำการตรวจสอบอุณภูมิของตัว CPU’s temperature.

ทุกครั้งต้องไปดูตัวแกนที่มีอุณภูมิที่ต่ำที่สุด เพื่อที่จะได้เข้าใจว่า CPU ที่กำลังทำงานอยู่นั้นร้อนขนาดไหน.

3. Run the stress tests/ทดสอบโดยเพิ่มความกดดันหรือเพิ่มงานให้มัน

ตอนนี้, เรามาเริ่มการทดสอบตัว CPU, เอาในขั้นตอนแรกก่อนในรูปแบบ stock/ไม่เปลี่ยนค่าใดๆ, ดูว่าหากอยู่ในโหมดที่ทำงานแบบเต็ม 100% จะมีอุณภูมิมากขนาดไหน.

ให้เริ่มโปรแกรม Prime95,เลือกกด “Just stress testing,” และจะมีรายการมาให้คุณเลือกว่าจะเอาหนักขนาดไหนต่อการทำ stress tests.

ให้เลือก “Blend Test/ผสมผสาน,” และกด “OK”.

4. Get into the BIOS/การเข้าถึงหน้าเมนู BIOS

หลังจากผ่านไปซัก 5 – 10 นาที, อุณภูมิซีพีของคุณน่าจะคงที่แล้วหรือเสถียรแล้ว, ก็ไปที่โปรแกรม Prime95. ให้เลือก “Test” บนด้านบนบาร์และกด “Stop”, และเริ่มบู๊ธพีซีขึ้นมาใหม่/restart your PC และให้กด Delete key บนคีย์บอร์ดของคุณจนกระทั่งหน้า BIOS ปรากฎขึ้นมา.

(ต้องแน่ใจก่อนว่าหน้าแรกที่จะปรากฏขึ้นมาบนจอภาพนั้นมันคืออะไรหรือหน้าแรกเลยที่มันโผล่มา/early login screen, เพราะพีซีแต่ละเครื่องหรืออุปกรณ์ที่คุณมีเพื่อที่จะเข้าไปในหน้า BIOS นั้นมักจะแตกต่างกัน.)

ในบทความนี้หรือการทดสอบนี้, เราใช้ ASRock Z97 Extreme 4 motherboard. ดังนั้น UEFI/Unified Extensible Firmware Interface/เป็นเฟริมแวร์ มักจะแตกต่างกันของแต่ละเจ้า/ยี่ห้อ แต่ว่าขั้นตอนและการกำหนดนั้นค่อนข้างจะเหมือนกัน.

qs3

5. Go for auto-overclock/ไปที่ auto-overclock

หลังจากอยู่ในหน้า BIOS, ให้หาแป้น overclocking tab (บนหน้าจอ). ของทางเราจะเป็น “OC Tweaker.” หลังจากเคาะเข้าไปแล้วจะมีรายการหรือ options ให้เลือกหลากหลาย.

เอาง่ายที่สุดในการทำ overclock CPU ก็คือให้ตัว motherboard ทำงานให้เสียเป็นส่วนใหญ่.

ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะมาพร้อม overclock profiles/รูปแบบหรือแนวทาง, ปรกติแล้วน่าจะอยู่ที่ 4GHz จนถึง 4.8GHz, ขึ้นอยู่กับตัว CPU ที่ติดตั้งเข้าไป.

การให้ตัว motherboard กระทำหรือเลือกรูปแบบที่มีมาให้นั้นสำหรับการทำ overclock ตัว chip เพื่อให้ได้ย่านความถี่นั้น/frequency ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปใส่ค่าหรือเปลี่ยนแปลงค่าที่กำหนดมาแต่อย่างใด.

ซึ่งจะเป็นวิธีทีเร็วที่สุด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำแค่เพิ่มประสิทธิภาพเพียงเล็กน้อยหรือต้องการทำ overclock ไม่เกิน (3.5GHz จนถึง 4GHz), แต่นี้ไม่ใช่คำตอบหากคุณต้องการขยับไปให้ถึงกำแพง 4.8GHz, หรือไม่สามารถจะแตะถึงย่านความถี่ที่คุณอยากจะได้จากฟังค์ชั่น automated profiles.

qs4

6. Changing the multiplier/เปลี่ยนค่าคำนวณการคูณ

เอาให้ลึกกว่านี้ ผู้ใช้จะเจอ manual control ที่สามารถทำได้มากกว่านี้หรือครอบคลุมได้ลึกกว่านี้สำหรับการทำ overclocking อย่างแท้จริง. เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น, สิ่งแรกเลยต้องเปลี่ยน CPU ratio/ค่าเฉลี่ยหรือค่าตัวคูณก่อน, สำหรับแกนทุกตัวเพื่อให้ไปถึงตัวเลขหรือย่านความถี่ที่คุณต้องการ. ในกรณีนี้คือ 35

ตัวคูณหรือ multiplier นั้นทำงานโดยตรงหรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับ cores’ BCLK (หรือ “base clock”) frequency/ความถี่ (มักจะเป้น 100) เพื่อให้ไปถึง 3.5GHz. ในบทความนี้, เราพยายามทำ overclock CPU, เอาแค่น้ำจิ้มก็พอจาก 3.5 ให้ไปถึง 4GHz, ง่ายนิดเดียวเพียงแค่ไปเปลี่ยนค่าตัวคูณ/multiplier.

7. Test at max load/ทดสอบในโหมดจัดหนัก

หลังจากที่คุณได้เปลี่ยนค่า CPU ratio multiplier ไปที่ 40,ให้ทำการ save changes และออกจาก/exit BIOS. บู๊ธเครื่องขึ้นมาใหม่ในหน้า Windows, เปิดหน้าจอ Core Temp เพื่อดูอุณภูมิ CPU temp, และเปิด Prime95 และกดเลือก “Options”, กด”Torture Test” และกด “Blend Test,” เพื่อดูว่าตัวชิปทำงานได้ดีขนาดไหนในระดับ max load.

ถ้าสามารถผ่าน 5 นาทีแรกไปได้, เราสามารถเข้าไปเปลี่ยนตัวค่าตัวคูณเพิ่มขึ้นอีกเพื่อการทำ overclock ให้สูงขึ้น.

8. Finding the limit/หาข้อจำกัด

ถึงตอนนี้ในการทำ overclocking CPU, คุณอาจจะต้องการเพิ่มค่าตัวคูณที่ละ หนึ่ง ก็พอและก็เริ่มทำขั้นตอนต่อไปเรื่อยๆและทำการทดสอบ stress testing บน Windows ในแต่ละครั้ง, จนกระทั่งหน้าจอของคุณเปลี่ยนเป็น Blue Screen of Death/เป็นไปไม่ได้แล้ว หรือตัว CPU เริ่มที่จะทนไม่ไว้กับอุณภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆและก็ล่มไปเลย (อันนี้เสี่ยง).

สิ่งหนึ่งที่อยากให้ระวังก็คือ, เอาให้ถึงหน้าจอเป็น blue screen ก็พอก่อนที่จะแตะถึงข้อจำกัดทางด้านอุณภูมิ.

9. Increasing the voltage/เพิ่มพลังงาน

หลังจากที่มาถึงขั้นหน้าจอเปลี่ยนเป็น blue screen แล้ว, ตอนนี้เราต้องมาเล่นตัว Vcore voltage. ง่ายนิดเดียว กลับไปยังหน้า BIOS, และหาให้เจอ CPU Vcore Voltage Mode.

ให้เปลี่ยนเป็นหรือกด “Fixed”. ถึงตอนนี้, คุณอาจจะต้องทำการศึกษาเสียก่อนว่าค่า stock Vcore สำหรับ CPU ของคุณจะรับประทานค่าที่เท่าไหร่, และจะให้ดีควรรับฟังจากคนอื่นด้วยสำหรับคนที่เคยทำ overclocking.

ไม่ยาก คุณควรไปเริ่มที่ การเพิ่มพลังงาน/voltage ด้วยค่า 0.01 volts ของแต่ละครั้งจนกว่าพีซีของคุณจะสามารถบู๊ธกลับมาได้ใหม่อีกครั้ง, ทำการ stress test และให้เสถียรก่อนทุกครั้งก่อนที่จะถึงย่านความถี่ที่คุณต้องการ .

หลังจากเริ่มชินต่อการทำ overclocking, คุณก็อาจจะเสี่ยงให้มากขึ้นโดยเพิ่มค่าพลังงานทีละ 0.05 หรือ 0.1 ในแต่ละครั้ง. ด้วยวิธีนี้มันจะสอนให้คุณได้รู้สึกอาการของตัว CPU ในแต่ละครั้งที่ไปเปลี่ยนค่าพลังงาน/voltage.

ด้วยวิธีนี้, คุณจะถึงจุดๆหนึ่งที่ไม่สามารถขยับหรือย่านความถี่ให้สูงมากไปกว่านี้ได้แล้ว, ไม่ว่าคุณจะใส่พลังงานเพิ่มไปเท่าไหร่. ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะถอยกลับมาสำหรับการทำ overclock เริ่มจากถอยลงที่ 0.1GHz และลดค่าพลังงาน Vcore voltage ค่าล่าสุดที่พีซีของคุณไม่มีปัญหาหรือที่เสถียรที่สุดและค่าความถี่ล่าสุดและให้อยู่อย่างนั้น, และนั้นจะเป็นผลทดสอบหรือการทำ overclock ที่เสร็จสิ้นของตัวมันแล้ว.

10. Back to benchmarking/การทำการทดสอบ

เพื่อให้แน่ใจว่าค่า overclock ที่เปลี่ยนไปนั้นเสถียรแน่นอน, คุณสมควรที่จะทดสอบให้นานที่สุดเท่าที่คุณเห็นสมควร และน่าจะเป็น 1 ชั่วโมงขึ้นไปจนกระทั่งหนึ่งวันเต็มๆได้ยิ่งดีขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความพยายามมากแค่ไหน.

หลังจากเสร็จสิ้นทุกอย่าง คราวนี้ก็ถึงเวลาที่จะสนุกกับพีซีของคุณที่สามารถดึงทรัพยากรออกมาได้ทุกหยดจริงๆ.

ที่มาเครดิต

http://www.techradar.com/how-to/computing/how-to-overclock-your-cpu-1306573

Related articles

[HOW TO] ย้ายเกม Steam จากไดรฟ์ C ไปไดรฟ์ D ง่าย ๆ ไม่เสียเวลาโหลดเกมใหม่ !!

ปัญหาหนึ่งหลายคนอาจจะเคยเจอ คือ ไดรฟ์ C ใกล้เต็มจากการลงเกม Steam แต่ไดรฟ์ D เหลือเยอะมาก...

เคลียร์ชัด! ความแตกต่างระหว่างที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน VS. ข้างนอก

ในปัจจุบันเริ่มมีการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ทำให้เราต้องปรับตัวและทำความรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ใครที่เลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกไอเทมที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือ ‘ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ EV...

Igor’s Lab เผย การ์ดจอแพงแต่ซิลิโคนห่วย ทำให้เกิดความร้อนสูง เมื่อใช้งานนาน ๆ

เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ร้องเรียนบนเว็บไซต์ Reddit ถึงปัญหาการ์ดจอร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส หลังจากใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ไม่ได้นานมาก เป็นหลักเดือน)...

ป้องกัน: Dell Precision 5690 โน้ตบุ๊กระดับ Workstation สเปกโหด สำหรับสายทำงานโดยเฉพาะ

ปัญหาที่พบได้บ่อย สำหรับการหาซื้อโน้ตบุ๊กมาใช้งานเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น Adobe, AutoCAD หรือ Solidworks คือ “ความเข้ากันได้กับซอฟต์แวร์”...

เจาะลึก “AMD Ryzen 9000 Series” และเมนบอร์ด AM5 800 Series จากงาน AMD Tech Day

สัปดาห์ที่ผ่านมา แอดได้ไปงาน AMD Tech Day ซึ่งเขาได้เจาะลึกเทคโนโลยีของ AMD ทั้งซีพียู Ryzen,...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า