Review: Plextor M8V(G) 256 GB – M.2 SSD (SATA III) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Extreme PC ทุกคนนะครับ วันนี้กลับมาพบกันอีกครั้ง กับการรีวิวอุปกรณ์ SSD Storage ที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัวจาก Plextor นั่นก็คือ Plextor M8V(G) ความจุ 256 GB ครับ

หากใครจำได้ ในครั้งก่อนผมเคยนำเสนอ SSD จาก Plextor ซึ่งเป็นรุ่น M8V(C) เพราะฉะนั้น ประสิทธิภาพมันจะไม่ได้แตกต่างไปจากรุ่นที่ผมกำลังรีวิวอยู่นี้ แต่แตกต่างในเรื่องของอินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดนั่นเองครับ

เพราะว่าเจ้า Plextor M8V SSD รุ่นนี้ เป็น SSD ที่เชื่อมต่อผ่านสล็อต M.2 โดยทำงานอยู่เลน SATA III ซึ่งเป็นเลนที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 600 MB/s นอกจากนี้ยังมี M.2 SSD อีกประเภทที่ส่งข้อมูลผ่านเลน PCIe x4 ซึ่งจะให้ความเร็วที่สูงกว่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่า M.2 SSD เลน SATA III นั่นเองครับ

แต่ก่อนที่เราจะเข้าไปดูผลการทดสอบประสิทธิภาพนะครับ เรามาดูฟีเจอร์และข้อดีจากการเลือกใช้ M8V SSD จาก Plextor กันเลย

สำหรับ Plextor M8V เลือกใช้ชิปหน่วยความจำจาก Toshiba แบบ BiCS 64-layer แม้จะเป็นชิป TLC (Triple Level Cell) แต่ด้วยเทคโนโลยี LDPC หรือ Low Density Parity Check จาก Plextor จะช่วยยืดอายุการใช้งาน และประสิทธิภาพในการทำงานของ SSD ให้ใกล้เคียงกับชิปแบบ MLC เลยทีเดียว

นอกจากนี้ทาง Plextor ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะขึ้นมาใช้งานกับ SSD ช่วยให้การทำงานของ SSD มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

PlexNitro – เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล

PlexCompressor – เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการใช้ และไม่รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

PlexTurbo – อีกหนึ่งเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ที่เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของ SSD ด้วยการนำพื้นที่แรมบางส่วนมาไว้เป็นหน่วยความจำ Cache ให้กับตัว SSD

TrueSpeed –  เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ SSD จาก Plextor ยังคงความเร็วดั้งเดิมไว้ เหมือนของใหม่แกะกล่อง แม้จะใช้ SSD เป็นระยะเวลานาน หรือมีพื้นที่เหลือน้อย

เอาล่ะ เราก็พอรู้สรรพคุณของมันไปคร่าวๆ แล้ว ทีนี้เรามาดูที่แพคเกจกันบ้างนะครับ ตัว SSD จะถูกบรรจุอยู่ในกรอบพลาสติกที่มีขนาดใกล้เคียงกับ SSD ทางด้านหน้าก็จะมีฉลากเขียนชื่อรุ่นและสเปคคร่าวๆ ให้เราได้อ่านกัน จะได้รู้ว่าซื้อสินค้ามาถูกนะ อิอิ

เนื่อจาก Plextor M8V SSD ที่ผมนำมารีวิว เป็นรุ่นที่มีความจุขนาด 256 GB เพราะฉะนั้น มันจะสามารถทำความเร็วในการอ่านได้สูงสุดที่ 560 MB/s, ความเร็วในการเขียนสูงสุด 510 MB/s, ความเร็วในการอ่านแบบแรนดอมสูงสุดที่ 81,000 (IOPS) และความเร็วในการเขียนแบบแรนดอมสูงสุด 80,000 (IOPS)

** IOPS (Input/Output Operation per Second) หรือปริมาณของไฟล์ที่ถูกอ่านเขียนทำ SSD สามารทำได้ใน 1 วินาที **

นอกจากนี้ ข้อมูลบนเว็บไซต์ Plextor ยังบอกอีกว่า Plextor M8V SSD ยังรองรับการเขียนข้อมูลได้สูงสุดที่ 140 Terabyte (เขียนแล้วลบ แล้วเขียนใหม่ เรื่อยๆ) ส่วนระยะเวลาในการใช้งานยังยาวนานกว่า 1,500,000 ชั่วโมง ต้องขอบคุณเทคโนโลยี LDPC ที่ช่วยให้ SSD ตัวนี้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวครับ

ทีนี้ก็ถึงเวลาแกะกล่อง Plextor M8V แล้วล่ะ ใครที่ยังไม่เคยใช้ SSD M.2 นะครับ ผมบอกเลยว่าขนาดของมันค่อนข้างเล็ก (มีคนเคยวางเทียบขนาดของมันกับหมากฝรั่งแผ่น พบว่ามีขนาดใกล้เคียงกัน) ช่วยประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้งบนเมนบอร์ดนั่นเอง

สำหรับ Plextor M8V SSD นี้ จะไม่ได้มีเพลตระบายความร้อนใดๆ นะครับ เป็นแบบเปลือยโล่งให้เห็นชิปหน่วยความจำ (ซึ่งถ้าใครสังเกตดีๆ จะเห็นว่ามันใช้ชิปจาก Toshiba และชิปควบคุมจาก SK hynix) พร้อมกับมีฉลากแปะทับอยู่บนชิป พร้อมอธิบายสเปคและเงื่อนไขการใช้งานอีกเล็กน้อย ซึ่งเราไม่ต้องไปแกะออกนะครับ ปล่อยไว้เลย เดี๋ยวประกันหาย

ส่วนทางด้านหลังก็จะเป็นแผงเขียวๆ ซึ่งมันก็คือแผง PCB สำหรับวางชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างในเมนบอร์ด และการ์ดจอนั่นแหละ

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า