PR : 4 สิ่งดีๆ ที่คุณจะได้รับ เมื่อเปลี่ยนจาก HDD มาใช้ SSD PCI-Express

4 สิ่งดีๆ ที่คุณจะได้รับ

เมื่อเปลี่ยนจาก HDD มาใช้ SSD PCI-Express

 

หากคอมพิวเตอร์ที่หลายคนใช้งานอยู่ ทำให้คุณรู้สึกว่าการทำงานหรือการเปิดเกมได้ช้าลง หรือการก็อปปี้ โอนถ่ายไฟล์ต้องใช้เวลามากขึ้น เครื่องกลับทำงานช้าลงกว่าเดิม อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย หรือซอฟต์แวร์ทำงานไม่สมบูรณ์ ข้อมูลกระจัดกระจาย ทำให้การค้นหาข้อมูลช้า แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์หรือเคลียร์พื้นที่และจัดเรียงไฟล์ (Defragment) ให้เรียบร้อย

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การเปลี่ยนหรือเพิ่มฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ หากต้องการเพิ่มศักยภาพให้กับการจัดเก็บข้อมูล ด้วยพื้นที่มากขึ้นและความเร็วที่สูงขึ้น ในปัจจุบันมีทางเลือกสำหรับการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง ที่เรียกว่า Solid State Drive (SSD) ซึ่งมีให้เลือกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SSD SATA, NVMe, M.2 หรือ PCI-Express card ที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยที่ SSD PCIe บางรุ่นนั้น ให้อัตราความเร็วสูง อาทิเช่น Kingston KC1000 ที่มีอัตราการอ่านข้อมูล (Read) 2,700MB/s และการเขียนข้อมูล (Write) 1,600MB/s เลยทีเดียว นอกจากนี้คุณยังสามารถได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนมาใช้ SSD PCIe อีกมากมาย เช่น

1.การโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็ว: ด้วยการเชื่อมต่อผ่านช่องทางที่เร็วที่สุดในเวลานี้ บนมาตรฐาน PCI-Express Gen3 x4 จึงให้คุณสามารถโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่ หรือไฟล์ปริมาณมากๆ ได้รวดเร็วทันใจกว่าเดิม

 

2.ลดเวลาในการทำงาน: เมื่อความสามารถในการจัดการข้อมูลดีขึ้น มีการโอนถ่าย (Transfer) ข้อมูลได้เร็วขึ้นแล้ว ก็ทำให้เสียเวลาในการทำงานน้อยลง ซึ่งจะเห็นผลอย่างมาก สำหรับผู้ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก นักออกแบบ ตัดต่อวีดีโอหรือกราฟฟิก 3 มิติ

3.อัพเกรดได้ง่าย: กรณีที่ต้องการเพิ่ม SSD ใหม่เข้าไปในระบบ สามารถติดตั้งผ่านสล็อต PCI-Express หรือ M.2 บนเมนบอร์ดได้ทันที ใช้ไฟน้อย และไม่ต้องใช้ต่อสายไฟเลี้ยงหรือสายสัญญาณอีกด้วย

4.ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้: หากคุณเลือกใช้ SSD ในแบบ PCIe ที่มี M.2 มาในตัว ก็จะสามารถเลือกรูปแบบการใช้งานได้ถึง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานบน PCIe บนพีซีหรือ M.2 บนโน้ตบุ๊กก็ตาม

 

พบกับ Kingston ได้ที่

Facebook: http://www.facebook.com/KingstonBlogFansClub.en

YouTube: http://www.youtube.com/user/KingstonAPAC

 

เกี่ยวกับ Kingston Technology Company, Inc.

Kingston Technology Company, Inc. เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หน่วยความจำที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์หน่วยความจำสำหรับเครื่องเดสก์ทอปพีซี โน้ตบุ๊ค เซิร์ฟเวอร์ พรินเตอร์ และหน่วยความจำสำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป และเครื่องเล่นเอ็มพีสาม นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายสาขา รวมถึงตัวแทนจำหน่ายอยู่ทั่วโลก สำหรับโรงงานผลิตตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, ไต้หวัน และจีน ส่วนตัวแทนจำหน่ายตั้งอยู่ในอเมริกา, ไต้หวัน, จีน, อินเดีย, ออสเตรเลีย, เวียดนาม, ทวีปยุโรป, รัสเซีย, ยูเครน, ตุรกี และลาตินอเมริกา ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าไปที่ www.kingston.com

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า