Review: ASRock Z270 KILLER SLI จัดเต็มทุกฟีคเจอร์

Review: ASRock Z270 KILLER SLI จัดเต็มทุกฟีคเจอร์

มีมาแล้วอีกหนึ่งเจ้ากับเมนบอร์ด Z270 ที่เริ่มส่งมารีวิวเรื่อยๆ รอบนี้ต้องบอกว่าเป็นทางของ ASRock กันบ้าง ขอสลับๆแบร์ดกันไป โดยวันนี้ทาง ASRock ได้ส่งเมนบอร์ดรุ่นเล็กของชิพ Z270 มาให้ได้ทดสอบและรีวิวกัน โดยทางผมได้รับมาเป็นตัว ASRock Z270 KILLER SLI รอบนี้ทาง ASRock มีการเปลียนแปลงหน้าตาเมนบอร์ดเล็กๆน้อยๆ พร้อมความแรงเช่นเดิมหรือเปล่า ? เอาเป็นว่าเดียวไปดูดีกว่าครับ

สำหรับตัวกล่องนั้นรุ่นนี้จะทำออกมาเป็นแบบเรียบๆทั้งหมดเลยทางด้านหน้าของตัวกล่องจะมีการเขียนบอกชื่อรุ่นเอาไว้ชัดเจนสวยงามมีการทำตัวอักษร K เอาไว้ทางด้านหน้ากล่องชัดเจน

ทางด้านหลังของตัวกล่องจะมีการบอกฟีคเจอร์ต่างๆเอาไว้ โดยรอบนี้ต้องบอกว่าเป็นตัวแรกเลยก็ว่าได้ที่ทาง ASRock ได้ใส่ไฟ RGB เข้ามาบนตัวเมนบอร์ด โดยจะมีอยู่เพียงแค่ตรงชิพ PCH ที่เดียวเท่านั้น และมีการเสริ่มหรือเพิ่มความแข็งแรงในส่วนของ PCI-E

สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องต่างๆนั้นก็มีมาให้ทั้งคู่มือการใช้งานพร้อมกับสาย Sata จำนวน 2 เส้นแผ่นปิดหลังช่อง i/o และแผ่น DVD ไดรเวอร์ของตัวเมนบอร์ดและอีกอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเจ้าบริจ SLI เพราะเมนบอร์ดรุ่นนี้เขียนรองรับขนาดนี้ถ้าไม่แถมให้ก็ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว

สำหรับตัวเมนบอร์ดนั้นจะมีขนาด ATX ด้วยกันตัวเมนบอร์ดจะมาในโทนขาวดำ  มองผ่านจะเห็นได้เลยว่ามีรูปตัวหนังสือเป็นตัว K สีขาวติดเอาไว้สวยงามมากๆ

เรื่องของภาคจ่ายไฟนั้นทาง ASRock ได้มีการใช้งานมากถึง 10 เฟสด้วยกัน แต่ถ้าใครที่ชอบความสวยงามนั้นอาจจะต้องผิดหวังกันเพราะตัวฮิตซิงค์ยังคงใช้งานแบบเดิมๆไม่มีการเปลียนแปลงเลย

เรื่องของไฟเลี้ยงเพิ่มเติมจะต้องการไฟ 8 pin จำนวน 1 เส้นด้วยกัน

สำหรับสล๊อตการติดตั้งการ์ดต่างๆนั้นจะมีทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน โดนจะแบ่งเป็น PCI-E 1x จำนวน 4 ช่องและ PCI-E 16X จำนวน 2 ช่อง แน่นอนว่ารองรับการติดตังการ์ดจอแบบ SLI  แน่นอนชื่อรุ่นระบบขนาดนี้ไม่รองรับก็ไม่รู้จะพูดอะไรแล้ว 555+

สำหรับฮิตซิงค์ตรงส่วน PCH นัั้นจะมีรูปสี่เหลี่ยแบบธรรมดาๆ มีการทำลวดลายเอาไว้ให้เข้ากับตัวเมนบอร์ดแต่ที่พิเศษก็คือรอบนี้ทาง ASRock ได้ใส่ไฟ RGB เอาไว้ข้างใต้ฮิตซิงค์

ส่วนเรื่องของตัวระบบเสียงนั้นทาง ASRock ก็ยังคงใช้งานเป็นตัว Nichicon Audio โดยมีการแยกโซนของ PCB เอาไว้เพื่อลดเสียงและสัญญานรบกวนออกไปให้มากที่สุด

ทางชุดช่องเชื่อมต่อ i/o นั้นก็ได้มีฝาครอบปิดเอาไว้สวยงามโดยส่วนนี้จะมองเห็นยว่าทมีโลโก้ Intel ติดเอาไว้ด้วย ส่วนนี้ต้องบอกว่าหมายถึงชิพ LAN ได้เลือกใช้งาน Intel

สำหรับการติดตั้งสล๊อต m.2 นั้นจะมีมาให้ทั้งหมด 2 ช่องด้วยกัน สามารถติดตั้งลงไปได้บนเมนบอร์ดเลย และถ้าเห็นว่าชอง PCI-E นั้นจะมีการนำกรอบโครงเหล็กอลูมิเนียมครอบเอาไว้ที่สล๊อตเพื่อให้มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นสามารถรับน้ำหนักการ์ดจอได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับช่องสล๊อต RAM นั้นจะรองรับทั้งหมด 4 แถวด้วยกันและรองรับความจุสูงถึง 64 GB และรองรับ XMP Profile ที่ 3733 MHz ด้วยกัน

การรองรับการเชื่อมต่อสาย SATA หรือรองรับการติดตั้ง HDD นั้นสามารถเสียบได้มากถึง 6 ช่องเลยทีเดียว

ทางด้านหลังของตัว I/O จะมีชื่อ HDMI และ DVI-D ที่เอาไว้เชื่อมต่อออกสู่จอภาพและช่อง USB3.0 จำนวน 5 ช่องและยังมี USB Type-C มาให้ได้ใช้งานอีกหนึ่งช่องด้วยกันครับ โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้ยังคงมีช่อง PS2 มาให้ได้ใช้งานเช่นเดิม

 

ส่วนของสล๊อต PCI-E นั้นได้มีการเพิ่มชิวหรือตัวครอบเอาไว้แล้วเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของตัวการ์ดจอรุ่นท๊อปๆได้นั้นเอง เพิ่มความแข็งแรงไม่ให้หักงอ

 

CPU
INTEL Core i7 7700k 
CPU Cooler
Custom Watercooling
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASRock Z270 KILLER SLI
Memory
G.Skill TridentZ 3200MHz DDR4 CL14-14-14-34 1.35V 16GB
VGA Card
PowerColor RX 480 RED Devil
SSD
OCZ VECTOR 180 480 GB
HHD
WD Gold 8 TB
SSD Plextor M8Pe 256GB M2 NVMe
Power Supply
CORSAIR AX 1500i
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

บรรยากาศขณะทำการทดสอบ

สเปคในการทดสอบ ได้เซตค่า CPU เอาไว้ที่ 5.0 GHz  สำหรับการทดสอบต่อๆไปนี้ผมจะพยายามเซตค่าเอาไว่ที่ 5.0-5.2 GHz เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้และจะได้รู้ว่า Gen ใหม่สามารถลากไปไกลๆได้สบายๆ

บทสรุปกับเมนบอร์ดรุ่นนี้ ต้องบอกว่าแอบผิดหวังเล็กๆ ตอนแรกที่ได้รับมานั้นนึกว่าจะทำผลงานได้ดีกว่านี้เสียอีก จริงๆแล้วรีวิวตัวนี้จะได้ปล่อยตั้งนานแล้วแต่ก่อนหน้าผมไม่สามารถบูตแรมบัส 3866 MHz แบบ XMP ได้ เลยรอตัว Bios เวอร์ชั่นเต็มแต่ก็ยังไม่สามารถบูตได้ เพราะถ้าเอาจริงๆแล้วตัวเมนบอร์ดนี้เขียนเอาไว้ว่ารองรับบัสสูงสุดที่ 3733 MHz โดยตัวผมได้ทำการเปลียนแรมไปใช้งานบัส 3200 MHz แทนครับ และอีกจุดหนึ่งคือเรื่องของไฟเลี้ยง CPU จริงๆแล้ว CPU ตัวที่ผมใช้งานในบทความนี้สามารถเทสที่ความเร็ว 5.2 GHz ได้อย่างสบายๆแต่ก็กลับไม่สามารถทำได้แถม 5.0 GHz ยังเทสได้ยากและกินไฟสูงพอสมควร ตรงนี้อาจจะต้องรอตัว BIOS ออกมาแก้ไฟเรื่องปัญหาไฟดรอปในส่วนนี้ เพิ่มเติม แต่ถ้าใครไม่ได้ซื้อมาเล่น Overclock แบบสุดโต้งอย่างผมนั้นมันก็ถือว่าเป็นเมนบอร์ดอีกรุ่นหนึ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจากใช้งานได้ง่ายปัญหาไม่เยอะ และที่สำคัญคือเหมาะสำหรับคนที่งบประมาณค่อนข้างจำกัด สำหรับบทความนี้ผมก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ดีกว่า แล้วถ้าผมได้รับเมนบอร์ดจากทาง ASRock ตัวบนๆท๊อปๆกว่านี้เดียวมารอดูลีลากันอีกรอบเพราะเชื่อว่า ASRock ไม่น่าทำให้ผิดหวัง  สวัสดีครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า