Review:ASUS DUAL RADEON RX 480 4 GB เสือดาวในตำนาน

Review:ASUS DUAL RADEON RX 480 4 GB เสือดาวในตำนาน

สวัสดีครับทุกท่านวันนี้มาเจอกันอีกแล้วสำหรับรอบนี้ผมก็ยังอยู่กับการรีวิวการ์ดจออีกรุ่นหนึ่งที่เป็นรุ่นน่าสนใจในตลาดกลางๆของตัวการ์ดจอเลยก็ว่าได้ครับ โดยทาง ASUS DUAL RADEON RX 480 4 GB โดยตัวนี้ทาง ASUS แนะนำมาใช้จับคู่กับเมนบอร์ด X 99 ของทาง ASUS เลยทีเดียวเพราะการ์ดจอรุ่นนี้มีโทนสีขาวที่สวยงามทั้งตัว เรียกว่าเอาใจคนชอบแต่งเคสสไตล์สีขาวเลยทีเดียวก็ว่าได้เพราะยุคนี้สีขาวเริ่มกำลังมาอีกรอบหนึ่ง โดยจุดเด่นของการ์ดจอตัวนี้ก็คงไม่พ้นเรื่องของราคาที่ไม่แรงและยังให้พัดลมระบายความร้อนมามากถึง 2 ตัวด้วยกันทำให้มันใจในการใช้งานระยะยาวได้อย่างแน่นอนครับ ส่วนเรื่องของ Overclock ก็ถามว่าทำได้มั้ยแน่นอนว่ามันสามารถปรับแต่งได้เหมือนกันแต่อาจจะไม่ได้โดดเด่นอะไรมากมายสักเท่าไรเอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่า

dsc_1929

สำหรับตัวกล่องสินค้าทาง ASUS ได้มีการปรับเปลียนรูปแบบเล็กน้อยโดยมีรูปเสือดาวขาวอยู่ทางด้านหน้ากล่องเอาไว้สวยงามและมีการชูคำว่า DUAL เอาไว้ชัดเจนเพื่อบอกว่ามันเป็นการ์ดจอที่มีพัดลมระบายความร้อนถึง 2 ตัว

dsc_1931

 

ทางด้านหลังของตัวกล่องจะมีบอกรายละเอียดฟีคเจอร์ต่างๆของตัวการ์ดจอเอาไว้ทั้งหมดโดยจุดเด่นหลักๆคงจะเป็นเรื่องของการรองรับเล่นผ่านแว่น VR และเรื่องของชุดภาคจ่ายไฟที่ทาง ASUS ได้ใส่อย่างดีมากให้เลยเท่านั้นยังไม่พอถ้าใครต้องการปรับแต่งเพิ่มความแรงของตัวการ์ดจอก็สามารถทำได้ผ่านโปรแกรม GPU TWEAK ของทาง ASUS ได้เลยdsc_1933

สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่องจะมีแผ่น DVD ไดรเวอร์พร้องทั้งคู่มือการใช้งานและอีกหนึ่งอันคือเป็นแผ่นเอาไว้ไปลงทะเบียนเพื่อรับเกมส์ที่ทาง ASUS แถมให้ครับ

dsc_1935

มาดูกันที่พระเอกของงานนี้กันเลยดีกว่าครับโดยตัว ASUS ตัวนี้อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นการ์ดจอขาวสวยทั้งตัวมีใบพัดลมที่ยังคงใช้งานสีดำเพื่อตัดสีกับตัวการ์ดให้สวยงามและเท่ไปอีกแบบ

dsc_1937

มองลงมาจากทางด้านข้างของตััวการ์ดจอก็จะเห็นว่าทาง ASUS ได้ออกแบบตัวกรอบไปถึงขอบของตัวการ์ดเลยทีเดียว เวลาใช้งานจริงภายในเคสเราก็ยังเห็นการ์ดจอเป็นสีขาวสวยงาม โดยมีโลโก้สีเงินแปะคำว่า ASUS เอาไว้สวยงาม

dsc_1940

สำหรับส่วนของการระบายความร้อนจะใช้งานพัดลมแบบขนาดใหญ่สุดของฮิตซิงค์เลยทีเดียวและตัวใบพัดนั้นจะเห็นว่าใช้งานเป็นแบบใบขนาดใหญ่พิเศษเลยทีเดียว

dsc_1943

เรื่องของการเชื่อมต่อไฟเลี้ยงนั้นจะใช้งานเป็นแบบ 8 PIN จำนวน 1 ช่องด้วยกันพาเวอร์ซัพพลายที่ต้องการประมาณ 450+W ก็เพียงพอแล้ว dsc_1945

สำหรับทางด้านหลังของตัวการ์ดจอนั้นจะเปิดโล่งมองเห็นตัว PCB ตรงนี้อาจจะขัดใจเล็กๆที่ทาง ASUS ยังคงเลือกใช้งานเป็น PCB สีดำอยู๋ ดังนั้นมองเข้าไปในเครื่องก็จะมองเห็นเป็นโทนสีขาวดำ

dsc_1946

การเชื่อมต่อออกสู่จอภาพนั้นจะมีทั้งหมด 5 ช่องเลยทีเดียวโดยจะแบ่งเป็นช่อง DisplayPort จำนวน 2 ช่อง HDMI จำนวน 2 ช่อง และสุดท้ายจะเป็นช่อง DVI-D มาให้อีกหนึ่งช่อง

dsc_1949โดยแน่นอนว่าการติดตั้งการ์ดจอตัวนี้จะต้องใช้งานพื้นที่การติดตั้งทั้งหมด 2 สล๊อตด้วยกันเพื่อให้การ์ดจอติดตั้งเข้าไปในเคส

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า