รีวิว ASUS ExpertBook B1400CEPE-EK0386 โน๊ตบุ๊คสายทำงาน สเปคดี ราคาเข้าถึงง่าย

ASUS ExpertBook-series เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับสายทำงาน ทั้งแบบองค์กรหรือแบบบุคคลทั่วไป มีสเปคหลากหลายให้เลือกตั้งแต่ระดับราคาหมื่นกลางๆจนไปถึงสี่หมื่นกว่าบาท สำหรับรุ่นที่ผมรีวิวคือรุ่น ASUS ExpertBook B1400 ที่มาสเปคจะคล้ายๆกันคือขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ความละเอียด FHD สามารถกางใช้งานได้แบบ 180 องศา โดยผมจะอิงรุ่น ASUS ExpertBook B1400CEPE-EK0386 เป็นหลักนะครับสำหรับรีวิวนี้ โดยค่าตัวอยู่ที่ 22,590 บาท

SPEC ASUS ExpertBook B1400CEPE-EK0386

  • หน้าจอ IPS ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด FHD 1920×1080 พิกเซล
  • CPU Intel® Core™ i5-1135G7 Processor 2.4 GHz (8M Cache, up to 4.2 GHz, 4 cores)
  • RAM 8G DDR4 on board, Memory Max Up to:48GB
  • 256GB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 SSD
  • ระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home
  • Thunderbolt™ 4
  • Wi-Fi 6(802.11ax)+BT5.2 (Dual band) 2*2
  • 720p HD camera
  • ราคา 22,590 บาท รับประกัน 3 ปี

แกะกล่องเช็คของ

อุปกรณ์ภายในกล่องทั้งหมดมีดังนี้

  • ตัวเครื่อง ASUS ExpertBook B1400
  • Wireless optical mouse
  • Backpack
  • Adapter ขนาด 90W
  • ชุดติดตั้ง SSD 2.5
  • คู่มือการใช้งาน

วัสดุและการออกแบบดีไซน์

ASUS ExpertBook B1400 มาพร้อมกับหน้าจอ IPS-LCD ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด FHD 1920×1080 พิกเซล อัตราส่วน 16:9 ค่าความสว่างสูงสุด 250nits, NTSC: 45% กระจกหน้าจอแบบด้าน Anti-glare display พื้นที่สัดส่วนหน้าจอ Screen-to-body ratio:84%

บ้านบนขอบจอจะมีชุดกล้อง web cam 720p HD camera และมีสวิทซ์แบบใช้มือเลื่อนเพื่อปิดหน้ากล้อง เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น ด้านข้างจะมีไมค์สนทนา พร้อมระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้างมาให้(AI Noise-cancelling) เพิ่มความคมชัดของเสียงด้วย ASUS ClearVoice mic สามารถเข้าไปปรับตั้งค่าได้ที่โปรแกรม

ฝาหลังวัสดุโลหะ ผิวค่อนข้างด้านและมีโลโก้ของ ASUS ตรงกลาง ด้านในตัวเครื่องวัสดุพลาสติกพร้อมเกร็ดประกายเล็กน้อยดูสวยงามรอยนิ้วมือไม่เกาะติดครับคือดีมากๆ

บานพับสามารถกางได้ 180 องศา ตรงแกนบางพับถือว่าแข็งแรงทนทานครับ ตัวเครื่องผ่านมาตราฐานความแข็งแรงระดับ US MIL-STD 810H military-grade standard

ด้านหลังจะเจาะรูเพื่อระบายอากาศ และเป็นตำแหน่งของลำโพงซ้าย-ขวา

 

เมื่อแกะฝาหลังออก จะเจอด้านในมีช่อง HDD/SSD ขนาด 2.5″ ว่างหนึ่งช่อง ตัวเครื่องรองรับการอัพเกรดพร้อมีชุดติดตั้งมาให้เรียบร้อยภายในกล่องครับ และจะมี RAM DDR4 SO-DIMM ว่างหนึ่งช่องสำหรับการอัพเกรดเช่นกัน

ขนาดตัวเครื่อง 32.34 x 21.56 x 1.92 ~ 1.92 ซม. น้ำหนัก 1.45 กก. ถือว่าเล็กและเบา พกพาออกไปใช้งานข้างนอกได้สบายๆครับ

คีบอร์ดและทัชแพด

สำหรับคีบอร์ดค่าย ASUS ผมว่าทำออกมาดีอยู่แล้วครับ ตั้งแต่ตัวถูกยันตัวแพง ทั้งฟิลลิ่งในการกดและการวางตำแหน่งระยะของปุ่มต่างๆ รุ่นนี้ก็เช่นกัน และมีไฟ LED (backlit keyboard) มาให้พร้อม

ทัชแพด มาพร้อมกับฟีเจอร์ NumberPad 2.0 โดยจะเป็นแผงคีบอร์ดไฟเรืองแสงมาให้ ซึ่งใช้งานได้จริงและสะดวกสบาย การทัชของแผงทัชแพดถือว่าทำได้ดี

 

พอร์ตการเชื่อมต่อ

ASUS ExpertBook B1400 ให้พอร์ตมาแบบล้นมากๆ คือแทบไม่ต้องหาอแดปเตอร์แปลงเลยครับ เห็นเครื่องเล็กๆแบบนี้เดี๋ยวเราไปดูกันว่ามีอะไรใส่มาให้บ้าง

ฝั่งซ้ายจะมี ช่องไฟ AC power / พอร์ต HDMI 2.0 / Thunderbolt 4 (รองรับการชาร์จแบบ PD) / USB 3.2 Gen 2 ทั้งหมดสองช่อง

สำหรับ HDMI 2.0 และ Thunderbolt 4 รองรับการฉายภาพที่ความละเอียดสูง 4K  ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่ายังติดตั้งพอร์ต VGA มาให้ด้วยนะครับ เพราะบางสำนักงานยังใช้เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์แบบรุ่นเก่า ตัวนี้ก็รองรับพร้อมใช้งานได้เลย

ฝั่งขวาจะมีช่องล็อคตัวเครื่อง / พอร์ต Ethernet (RJ45) /  USB 2.0 Type-A และช่องหูฟัง 3.5

ประสิทธิภาพการทำงาน

อย่างที่แจ้งก่อนหน้านี้ครับว่า ASUS ExpertBook-series มีให้เลือกหลากหลายสเปคมากๆ ถ้าจะเอาใช้งานแบบครบๆ สเปคคุ้มๆแนะนำตัวที่มากับ Intel Core™ i5-1135G7 Processor จะให้สเปคมาค่อนข้างคุ้มกับเงินที่จ่ายออกไป แถมได้การ์ดจอแยก NVIDIA GeForce MX330 อีกด้วยครับ กับค่าตัวเพียงแค่ 22,590 บาท

หน่วยความจำ

  • RAM 8G DDR4 on board, Memory Max Up to:48GB
  • 256GB M.2 NVMe™ PCIe® 3.0 SSD

หรือถ้ามีงบมากขึ้นไปก็ค่อยจับตัว Intel Core i7-1165G7

ตัวเครื่องติดตั้งปุ่มสแกนลายนิ้วมือมาให้พร้อม ตรงบริเวณเดียวกับปุ่ม power รองรับการใช้งานร่วมกับ Windows Hello และพิเศษขึ้นไปอีกกับชิปดูแลความปลอดภัย Trusted Platform Module (TPM) 2.0 เพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้ยากยิ่งขึ้น

การเชื่อมต่อไร้สายจะมีทั้ง Wi-Fi 6(802.11ax)+BT 5.2

ตัวเครื่องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้มาให้พร้อมใช้งาน และมีโปรแกรมจัดการตัวเครื่องอย่าง MyASUS มาให้ สามารถเข้าไปดุข้อมูลตัวเครื่องพร้อมตั้งค่าต่างๆ รวมไปถึงการซิงค์ข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนแบบไร้สายด้วยโปรแกรมเดียว

แบตเตอรี่

ASUS ExpertBook B1400 ให้แบตเตอรี่มาที่ 42WHrs แบบ 3-cell Li-ion ส่วนของ Adapter ที่แถมมาในกล่องขนาด 90W ตัวเครื่องยังรองรับชาร์จแบบ PD ด้วยครับ ส่วนการใช้งานจริงจากโปรแกรมทดสอบการใช้งานสามารถใช้โหมดทั่วไปนานถึง 12 ชม.ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง สำหรับผมเกิน 8 ชม.ก้เกินพอสำหรับการใช้งานหนึ่งวันแล้วครับ

สรุป

สำหรับ ASUS ExpertBook B1400 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คที่น่าใช้งานมากๆเมื่อเทียบกับราคาค่าตัว พอร์ตการใช้งานครบครัน มีระบบรักษาความปลอดภัยหลายขั้นตอนตั้งแต่สแกนลายนิ้วมือจนไปถึง TPM 2.0 มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลเพราะเข้าถึงยากกว่าปกติ ขนาดหน้าจอกำลังดีแถมรองรับการกางใช้งานได้ 180 องศา

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า