[Review] Intel Optane H10 – หน่วยความจำลูกผสม SSD+Optane เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Notebook ของคุณ

เพื่อน ๆ คนไหนที่ใช้ซีพียูและเมนบอร์ดของ Intel น่าจะพอรู้จัก Intel Optane อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแคชภายนอก สำหรับการเก็บข้อมูลที่เรียกใช้บ่อย ๆ ด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกับ SSD จึงมีส่วนช่วยให้ไดรฟ์เก่า ๆ โดยเฉพาะ HDD สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ

และวันนี้ก็ได้เกิดการรวมร่างระหว่าง Intel Optane และ QLC SSD (ของ Intel เอง) เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการทำงานของโน้ตบุ๊กบางเบา ซึ่งมักจะมีพื้นที่สำหรับใส่อุปกรณ์บนสล็อต M.2 ได้เพียงตัวเดียว ทำให้คุณสามารถส่งผ่านข้อมูลและเรียกใช้ได้ดียิ่งขึ้นครับ

Introduction

สำหรับเจ้าตัวนี้ที่ผมได้มารีวิวนั้น มีชื่อว่า Intel Optane H10 รุ่นความจุ 32GB (Optane) + 512GB (QLC SSD) ฟอร์มแฟคเตอร์ M.2 2280 ทำงานบนอินเตอร์เฟส PCIe 3.0 x4 มีขนาดเล็กและบางเบา จึงเหมาะกับการใช้งานบนโน้ตบุ๊กนั่นเองครับ

ซึ่งในส่วนนี้ผมจะขอเน้นที่ตัว Intel Optane H10 โดยเฉพาะเลยละกันนะครับ เริ่มต้นกันที่สเปคคร่าว ๆ ของ SSD ลูกผสมนี้ก่อนเลยนะครับ เพราะจริง ๆ แล้วมันมีให้เลือกอยู่หลายความจุ ดังนี้

Intel Optane Memory H10 Specifications

Advertised Capacity

256 GB 512 GB 1TB
Form Factor

single-sided M.2 2280

NAND Controller

Silicon Motion SM2263
NAND Flash

Intel 64L 3D QLC

Optane Controller

Intel SLL3D
Optane Media

Intel 128Gb 3D XPoint

QLC NAND Capacity

256 GB 512 GB 1024 GB
Optane Capacity 16 GB 32 GB

32 GB

Sequential Read

1450 MB/s 2300 MB/s 2400 MB/s

Sequential Write

650 MB/s 1300 MB/s 1800 MB/s
Random Read IOPS 230k 320k

330k

Random Write IOPS 150k 250k

250k

L1.2 Idle Power

< 15 mW
Warranty

5 years

Write Endurance 75 TB
0.16 DWPD
150 TB
0.16 DWPD

300 TB
0.16 DWPD

เอาล่ะจดจำตารางนี้ไว้นะครับ จะได้ใช้เทียบในการทดสอบว่ามันสามารถทำงานได้ตรงสเปคหรือไม่

ในเรื่องของอายุการใช้งานนั้น Intel กล่าวว่า เราสามารถเขียนข้อมูลลงบน SSD ได้มากถึง 160 GB ต่อวัน และโดยตลอดอายุการใช้งานนั้น ตัวชิป NAND นั้น รองรับการเขียนข้อมูลซ้ำ ๆ ได้มากถึง 150 TB เลยทีเดียว แถมยังเคลมอีกว่าโอกาสที่ชิป NAND จะเกิดข้อผิดพลาดนั้น คือต้องเปิดใช้มากถึง 1.6 ล้านชั่วโมง ถึงจะผิดพลาดสักครั้งหนึ่ง โห!! สุด ๆ ไปเลย

ทีนี้โดยปกติแล้วการใช้งานตัว Optane ค่อนข้างจะมีความจำเพาะเฉพาะเมนบอร์ด เพื่อตัดปัญหาความเข้ากันได้ Intel จึงทำขายแบบ Built-in นั่นหมายความว่า คุณจะไม่สามารถหาซื้อได้แบบแยกกล่อง แต่ต้องซื้อโน้ตบุ๊กหรืออัลตร้าบุ๊ก ที่มาพร้อมกับ Optane H10 เท่านั้นครับ

Benchmark

เมื่อจัดการเปิดเช็คความจำที่ได้หลังจากลง Windows และโปรแกรมทดสอบอีกเล็กน้อย จะเห็นว่าเรายังเหลือพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลอีกเยอะพอสมควร ส่วนพื้นที่ของ Optane นั้น เราไม่ต้องไปจัดการมันนะครับ เดี๋ยวซอฟต์แวร์อันชาญฉลาดอย่าง Intel Rapid Storage จะคอยเลือกข้อมูลที่จำเป็นมาใส่ไว้ให้เอง

CrystalDiskMark

โปรแกรมตัวแรกที่ใช้ในการทดสอบ และเป็นโปรแกรมที่ Intel ใช้ในการระบุสเปคของตัว Optane H10 คือ CrystalDiskMark ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันสามารถอ่านเขียนได้สูงถึง 2408/1174 MB/s ในขณะที่การอ่านเขียนในบล็อก 4k จะอยู่ที่ 78.59/75.36 MB/s ครับ

AS SSD

อีกหนึ่งโปรแกรมที่ผมนิยมใช้ คือ AS SSD ซึ่งอันนี้ต้องบอกเลยว่า วิธีการวัดมันจะต่างจากของ CrystalDiskMark ในระดับของชนิดไฟล์ที่เอามาประเมิน แต่ในจุดที่ผมอยากให้โฟกัสคือค่าการอ่านเขียนบล็อก 4k ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงความเร็วในการทำงานร่วมกับไฟล์ขนาดเล็ก จะอยู่ที่ 65.05/94.27 MB/s ครับ

และนั่นแหละครับ จุดที่ผมอยากให้ทุกคนโฟกัสคือเรื่องของการอ่านเขียนไฟล์ขนาดเล็ก ส่วนใหญ่แล้วในชีวิตประจำวัน เราจะได้พบเจอการทำงานร่วมกับไฟล์ประเภทนี้ได้บ่อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเปิด Windows, การเปิดไฟล์เอกสาร Word, การใช้งานรูปภาพ, การโหลดไฟล์ฉากในเกม ซึ่งมักมีไฟล์ย่อย ๆ กว่าหมื่นไฟล์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นไฟล์ขนาดเล็กที่เราได้เจอกันบ่อย ๆ ครับ ดังนั้น Optane จึงมีส่วนช่วยในการจัดการไฟล์ของ SSD ได้เป็นอย่างดี

และยิ่งนำมาใช้งานในโน้ตบุ๊กบางเบา ที่สเปคอาจจะไม่ได้แรงมากนัก (เพราะฉะนั้น เราจะไม่ค่อยได้ใช้โน้ตบุ๊กกลุ่มนี้ทำงานเรนเดอร์วิดีโอใหญ่ ๆ ซึ่งจะต้องดูค่าอ่านเขียน Sequential แทน) การใช้ Intel Optane H10 จะช่วยให้เราทำงานต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

สรุป…

ผมคงบอกให้เลือกมันไว้ในดวงใจไม่ได้ เพราะอย่างที่กล่าวไว้ ว่ามันไม่มีการขายแยกกล่อง ดังนั้น หากใครกำลังมองหาโน้ตบุ๊กที่นำมาใช้ทำงานทั่ว ๆ ไป แต่ต้องการความเร็ว ผมแนะนำให้ลองมองหาเครื่องที่มาพร้อมกับ Intel Optane H10-series ซึ่งนอกจากจะประหยัดเนื้อที่แล้ว คุณจะได้พบกับความเร็วในการทำงานอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ SATA SSD หรือ HDD ทั่วไป ไม่สามารถเมียบได้อย่างแน่นอนครับ

นอกจากนี้ Intel ยังรับประกันเจ้าตัวนี้แยกถึง 5 ปี เรียกได้ว่าคุ้มค่าแน่นอน ใช้งานได้ยาว ๆ ได้ทั้งโน้ตบุ๊กบางเบา ทำงานเร็ว ทั้ง SSD ความจุเยอะ ๆ งี้ รับไว้พิจารณาด้วยนะครับ ^^

 

Related articles

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

แชร์ประสบการณ์สอบ TryHackMe PT1 – เจาะระบบสำหรับ Junior จริงหรือเปล่า?

เพิ่งสอบ PJPT ไปหมาด ๆ (อ่านรีวิว PJPT ได้ที่นี่) ผมก็ต่อใบเซอร์อีกค่ายเลย นั่นคือ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า