ลองเล่น LOL: Wild Rift เวอร์ชัน Closed Beta เมื่อ MOBA บน PC ลงมือถือ

เนื่องจากว่าเมื่อวานผมได้รับการแจ้งเตือนจาก Google Play ว่าได้รับเลือกให้เข้าเล่นเกม LOL: Wild Rift  Closed Beta เพราะฉะนั้นบทความในวันนี้ผมจึงขอนำตัวเกมมารีวิวให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันสักเล็กน้อยนะครับ

ต้องบอกก่อนว่าผมแทบไม่เคยเล่น LOL มาก่อน (เล่นแต่ DOTA 2) เลยต้องลองเข้าไปเล่นในคอมอีกครั้งนึง ในบทความนี้ผมจะขออธิบายเท่าที่ทราบนะครับ

 

Gameplay

LOL: Wild Rift นั้น ถือว่าเป็นการยกเอาเกม MOBA ยอดฮิตจากบน PC มาไว้ในมือถือ โดยอ้างอิงแชมเปี้ยน, สกิล และไอเทมต่าง ๆ จาก PC เกือบทั้งหมดเลย จะมีบางส่วนที่อาจจะปรับเปลียนไปบ้างเพื่อให้เหมาะกับการเล่นบนมือถือ แต่ถ้าใครเคยเล่นบน PC มาแล้ว สำหรับเกม Wild Rift ถือว่าปรับตัวได้ไม่ยากเลยครับ

เกมเพลย์ของ LOL: Wild Rift ไม่ได้แตกต่างไปจากเกม MOBA บนมือถือที่เราเล่นเกมมากนัก แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของ LOL (และขัดใจผมมาก) คือวิธีการเลือกซื้อไอเทมที่ไม่สามารถกดซื้อได้ทันที แต่จะต้องคอยวาร์ปกลับฐานเพื่อซื้อไอเทม

ด้วยความที่ผมติดการเล่น MOBA บนมือถือ ประกอบกับการเล่นเกม DOTA 2 บน PC มีร้านค้าริมทาง สามารถซื้อของบางชนิดได้บ้าง เลยทำให้รู้สึกขัดใจกับวิธีการนี้อยู่หน่อย ๆ แต่นั่นแหละครับ มันคือหนึ่งในการวางกลยุทธ์ของเกม คุณจะต้องคิดให้ดีก่อนที่จะวาร์ปกลับบ้าน เพื่อไม่ให้การดำเนินเกมเสียไปตามแผนที่วางไว้

นอกจากนี้ เกมเพลย์ที่น่าสนใจยังมีอยู่อีกมาก ได้แก่ การดึงและลากมินเนี่ยน เพื่อให้เราฟาร์มเลนได้ง่ายขึ้น หรือการปักวอร์ดที่แถมมาให้ 2 ชิ้นตอนเริ่มเกม แม้กระทั่งระบบช่วยล็อกเป้า ทำให้ Wild Rift เล่นได้ง่ายขึ้น แต่ต้องยอมรับว่ามันก็มีอุปสรรคในการเล่นอยู่บ้าง คือการใช้สกิลหรือกดใช้ไอเทมบางอย่าง มีระยะค่อนข้างกว้าง ถ้าใช้มือถือจอขนาดเล็กอาจจะควบคุมลำบากนิดนึงครับ

สิ่งที่ผมชอบมากอีกอย่างหนึ่ง คือเวลา Last hit พวกมินเนี่ยน มินเนี่ยนตัวไหนที่เราสามารถลาสได้ หลอดพลังชีวิตของมันจะเปลี่ยนสีขาว นั่นหมายความว่าถ้าตีมินเนี่ยนตัวนั้นเราจะลาสได้อย่างแน่นอนครับ

 

แชมเปี้ยนและสกิล

สำหรับแชมเปี้ยนจะมีอยู่ทั้งหมด 42 ตัว โดยจะมีเล่นฟรี 10 ตัว จากการปลดล็อกเลเวลจนถึงเลเวล 10 และได้ซื้อฟรีอีก 1 ตัวจากบัตรแลกฮีโร่ เมื่อจบโหมด Tutorial ซึ่งแชมเปี้ยนแต่ละตัว ก็ถอดแบบมาจากเกมเวอร์ชัน PC แต่ละตัวสวย ๆ ทั้งนั้น ขนาดว่ามือใหม่อย่างผมยังยอมรับเลยว่าเขาทำออกมาดีจริง ๆ

ทางด้านสกิลนั้นส่วนใหญ่จะเหมือนกับในเกมเวอร์ชัน PC จะมีแค่บางสกิลที่อาจปรับเปลี่ยนให้เข้ากับมือถือ และง่ายต่อการใช้ระบบล็อกเป้า จากที่ผมได้บอกไว้ข้างต้น เนื่องจากบางทีระยะร่ายสกิลต่าง ๆ มันต้องใช้ความต่อเนื่องและอยู่ในระยะที่ค่อนข้างไกล เวลาเล่นในมือถือจอเล็กอาจทำได้ยาก ต้องใช้เวลาฝึกฝน คิดว่าหากเล่นในแท็บเล็ตจอใหญ่น่าจะสบายกว่าครับ

ไอเทม, รูน และสเปล

เช่นเดียวกันกับตัวละคร ไอเทม, รูน และสเปลของ Wild Rift ได้ถอดแบบมาจากเวอร์ชัน PC เกือบทั้งหมด เริ่มต้นกันที่ไอเทมสักเล็กน้อย ผมยังไม่แน่ใจว่ามีชิ้นไหนที่แตกต่างไปจากเวอร์ชัน PC หรือไม่ และถึงแม้คุณจะต้องกลับฐานไปซื้อไอเทมอยู่บ่อยครั้ง แต่ระบบจะจัดไอเทมตามที่เราเรียงลำดับไว้ ให้เรากดซื้อได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกดเปิดเช็คคลังร้านค้า

ทางด้านของรูน ก็ไม่ต่างจากเวอร์ชัน PC เพียงแต่ผมแนะนำว่าให้เล่นจนถึงเลเวล 10 ก่อน รูนจะได้มีใช้แบบครบ ๆ จะได้จัดทีเดียวเลย ส่วนสเปลจะถูกปรับให้เข้ากับมือถือมากขึ้น โดยเฉพาะสเปลฟาร์มป่าอย่าง Smite ที่สามารถอัปเกรดได้จากเลเวล ไม่ต้องพึ่งมีดฟาร์มอีกต่อไป

กราฟิกและประสิทธิภาพ

กราฟิกระดับเกม LOL ผมว่าคงไม่น้อยหน้าใครอย่างแน่นอน ยอมรับว่าทำออกมาดีมาก ทั้งแชมเปี้ยน แผนที่ แสงสีและเงา ยิ่งปรับสุดยิ่งสวย สำหรับผมใช้ Huawei Nova 5T เล่น ซีพียู Kirin 980 ปรับ Ultra Setting และเปิดโหมด 60 FPS ก็เล่นได้ลื่น ๆ ไม่เคยเจออาการกระตุกในจังหวะบวกเลยครับ คิดว่าตัวเกมคงไม่กินสเปกมากนัก

เอาล่ะ ผมคิดว่าเพื่อน ๆ น่าจะเริ่มสนใจตัวเกมขึ้นมาแล้วนะครับ ไม่ว่ามือเก่าที่เคยเล่น LOL บนคอมมาแล้ว หรือมือใหม่ที่กำลังมองหา MOBA อื่น ๆ ในมือถือบ้าง ห้ามพลาดเกมนี้เลย LOL: Wild Rift ยังไงอดใจรอให้ Riot Games รีบเปิด Open Beta และตัวเกมเต็มเร็ว ๆ ละกันนะครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า