[รีวิว] Plextor M8VC 512 GB – SSD ประสิทธิภาพสูง ราคาประหยัด อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีจากผู้ผลิต

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมก็มี SSD อีกรุ่นมารีวิว โดยในครั้งนี้จะเป็น SATA SSD จาก Plextor รุ่น M8VC ซึ่งตัวที่ผมนำมารีวิววันนี้ จะเป็นรุ่นความจุ 512 GB จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปชมกันเลยครับ

สำหรับ Plextor M8VC เลือกใช้ชิปหน่วยความจำจาก Toshiba แบบ BiCS 64-layer แม้จะเป็นชิป TLC (Triple Level Cell) แต่ด้วยเทคโนโลยี LDPC หรือ Low Density Parity Check จาก Plextor จะช่วยยืดอายุการใช้งาน และประสิทธิภาพในการทำงานของ SSD ให้ใกล้เคียงกับชิปแบบ MLC เลยทีเดียว

นอกจากนี้ทาง Plextor ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะขึ้นมาใช้งานกับ SSD ช่วยให้การทำงานของ SSD มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่

PlexNitro – เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล

PlexCompressor – เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูล ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการใช้ และไม่รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

PlexTurbo – อีกหนึ่งเทคโนโลยีอันชาญฉลาด ที่เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของ SSD ด้วยการนำพื้นที่แรมบางส่วนมาไว้เป็นหน่วยความจำ Cache ให้กับตัว SSD

TrueSpeed –  เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ SSD จาก Plextor ยังคงความเร็วดั้งเดิมไว้ เหมือนของใหม่แกะกล่อง แม้จะใช้ SSD เป็นระยะเวลานาน หรือมีพื้นที่เหลือน้อย

 

โอ้โห! ฟีเจอร์จัดเต็มจริงๆ อยากแกะกล่องแล้วสิ แต่ก่อนแกะกล่องเรามาดูสเปค ที่เขียนไว้หลังกล่องกันก่อน ซึ่งรุ่นที่ผมใช้เป็นรุ่น 512 GB ตามสเปคเขียนไว้ว่า สามารถทำการอ่านด้วยความเร็วสูงสุด 560 MB/s และสามารถเขียนข้อมูลลงได้ที่ความเร็วสูงสุด 520 MB/s

อีกค่าหนึ่งคือค่า Random Read/Write ซึ่งจะเป็นค่าที่บอกถึงการสุ่มอ่านเขียนข้อมูลลงบนตำแหน่งใดๆ ของ SSD โดยค่าดังกล่าวจะบอกเป็นจำนวน IOPS (Input/Output Operation per Second) หรือปริมาณของไฟล์ที่ถูกอ่านเขียนทำ SSD สามารทำได้ใน 1 วินาที ซึ่งเจ้า Plextor ตัวนี้ มีค่า Random Read/Write อยู่ที่ 82,000/81,000 IOPS ตามลำดับครับ

 

นอกจากนี้ ข้อมูลบนเว็บไซต์ Plextor ยังบอกอีกว่า Plextor M8VC SSD ยังรองรับการเขียนข้อมูลได้สูงสุดที่ 280 Terabyte (เขียนแล้วลบ แล้วเขียนใหม่ เรื่อยๆ) ส่วนระยะเวลาในการใช้งานยังยาวนานกว่า 1,500,000 ชั่วโมง ต้องขอบคุณเทคโนโลยี LDPC ที่ช่วยให้ SSD ตัวนี้มอายุการใช้งานที่ยืนยาวครับ

 

เอาล่ะ เขียนสรรพคุณให้อ่านกันมาเยอะแล้ว เรามาแกะกล่องกันดีกว่า เมื่อเปิดกล่องออกมา ถาดพลาสติกที่ใส่เจ้า Plextor M8VC SSD ของเราไว้ หยิบออกมาก็จะพบกับคู่มือและรายละเอียดของ SSD ใครที่ซื้อมาใช้ ก็อย่าลืมอ่านกันด้วยล่ะ

 

Plextor M8VC SSD มีขนาด 2.5 นิ้วตามแนวทแยง ตัวกล่องสีเงินเงางาม เนื้อสัมผัสจะสากๆ มือเล็กน้อย จาก Texture บนตัวกล่อง ทำให้ดูพรีเมี่ยมมากขึ้น แถมยังมีตรา Plextor ตัวใหญ่มุมซ้าย การันตีประสิทธิภาพจากผู้ผลิตเลยล่ะครับ

 

ส่วนทางด้านหลังจะเป็น Condition และมาตรฐานต่างๆ ของ SSD ในรายละเอียดเราจะเห็นได้ว่า Plextor M8VC 512 GB ใช้ไฟขนาด 5V/2A

 

ทางด้านบน จะมีพอร์ตแบบ SATA อยู่ 2 ตำแหน่ง จุดแรกจะเป็นหัว 15-pin ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับสายจ่ายไฟจาก PSU ส่วนอีกจุด จะเป็นหัว 7-pin Data connector ใช้รับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 6Gb/s ตามมาตรฐาน SATA III แต่สามารถใช้งานร่วมกับสาย SATA 3Gb/s และ 1.5 Gb/s ได้ด้วยนะครับ

 

ทางด้านข้างจะเป็นพื้นที่เรียบๆ มีจุดให้ใส่น็อตยึดกับตัวเคสอยู่ด้วยกัน 2 จุด ที่บริเวณด้านบนและด้านล่างครับ

Benchmark

AS SSD

ว่าแล้วเรามาดูผลทดสอบกันบ้าง อันดับแรกจะเป็นผลทดสอบจากโปรแกรม AS SSD ซึ่งเป็นโปรแกรม benchmark สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่นิยมใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ โดยผมได้นำสเกลของข้อมูลมาให้ดู ทั้งแบบ MB/s และแบบ IOPS

ความเร็วที่ได้จากการอ่าน-เขียนแบบ Sequential พบว่า Plextor M8VC SSD ทำได้ 530.06 MB/s และ 495.11 MB/s ตามลำดับ ถือว่าทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว

สำหรับค่า IOPS จะบ่งบอกถึงจำนวนของไฟล์ที่ SSD สามารถจัดการได้ใน 1 วินาที เมื่อแปลงผลมาเป็นแบบ IOPS ลองดูที่ส่วน 4K-64Thrd จะพบว่ามีค่าการอ่าน-เขียนอยู่ที่ 88448 IOPS และ 49881 IOPS ตามลำดับ ซึ่งทำออกมาได้ดีเช่นกัน (ใครลืมสเปคที่ผู้ผลิตกำหนดมา ลองเลื่อนกลับไปอ่านดูข้างบนนะครับ)

 

AIDA64

โปรแกรมทดสอบตัวถัดมา คือ AIDA64 ซึ่งเป็นชุดโปรแกรมที่มี benchmark ของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมาให้ด้วย แต่จะมีเฉพาะประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลบน SSD เท่านั้นนะครับ

ผลที่ได้พบว่าการอ่านข้อมูล จะมีความเร็วอยู่ที่ 528-529 MB/s แม้จะไม่เร็วถึงจุดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ (560 MB/s) แต่ก็ไม่ได้น้อยจนเกินไป เท่านี้ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ

 

HD Tune Pro 5.70

ถัดมาเป็นผลการทดสอบจากโปรแกรม HD Tune Pro 5.70 ซึ่งผมจะทำการทดสอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ Benchmark, Extra tests, Random Access และ File Benchmark

ผลการทดสอบแรกจากส่วน Benchmark ตรงนี้ผมได้ผลมาแค่การอ่านข้อมูลของ SSD ซึ่งค่าที่ได้อยู่ประมาณ 390.9 MB/s บางคนอาจสงสัยว่าทำไมมันได้ค่าน้อย อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมแต่ละตัว มีการอ่านปริมาณข้อมูลขนาดไหนบ้าง ถ้าข้อมูลขนาดต่างกัน ผลทดสอบที่ได้ย่อมต่างกันนั่นเอง

ในส่วน Extra tests จุดที่ผมจะให้เพื่อนๆ นำไปเปรียบเทียบคือ Random seek/ size 8 MB ซึ่งเป็นการทดสอบที่คล้ายๆ กับโปรแกรม AIDA64 ใน HD Tune นี้ ผลการทดสอบ ได้ความเร็ว 528.228 MB/s ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับที่ทดสอบใน AIDA64 เลยครับ

ทางด้าน Random Access อันนี้จะเป็นความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล โดยโปรแกรม HD Tune จะมีการกำหนดขนาดข้อมูลที่จะอ่านต่างกันไป แน่นอนว่าเมื่อขนาดข้อมูลต่างกัน ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลก็จะแตกต่างกันไปด้วย แต่ผมที่ได้จากการทดสอบ Plextor M8VC SSD ทำได้ดีทั้งข้อมูลขนาดใหญ่และขนาดเล็กครับ

และสุดท้ายกับการทดสอบ File Benchmark จะเป็นส่วนที่มีทั้งการอ่านและการเขียน ผลการทดสอบที่ได้พบว่า การอ่าน-เขียนข้อมูลแบบ Sequential มีความเร็วอยู่ที่ 512.852 MB/s และ 470.826 MB/s ครับ

 

PCMark8

สำหรับโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตัวสุดท้าย PCMark 8 ต้องยกให้เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กัน เพราะมีความแตกต่างจากโปรแกรมทดสอบทั่วไป ตรงที่ PCMark 8 จะให้ผลค่อนข้างใกล้เคียงกับการใช้งานนโปรแกรมในความเป็นจริงนั่นเอง

แม้จะเป็น SSD แบบ TLC แต่ Plextor M8VC ทำให้เห็นว่าประสิทธิภาพไม่ได้ด้วยไปกว่า SSD รุ่นใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีชิปแบบ 64-layer ทำให้ได้ SSD ที่มีประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่า อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับพอร์ต SATA แบบเดิมๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยี LDPC จาก Plextor ทำให้ M8VC SSD มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว รองรับการใช้งานทั้งหนักทั้งเบา ถูกใจเหล่าเกมเมอร์อย่างแน่นอนครับ แถมยังมีประกันอีก 3 ปีเชียวนะ จะพลาดได้อย่างไร!

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า