Review: Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe SSD 256GB

Review: Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe SSD 256GB

 

อยากลอง NVMe สักตัวดีๆจังเลย เชื่อว่าคนที่ก้าวมาจาก HDD ขยับมาใช้งาน SSD หลายๆคนคงจะติดใจไม่น้อยกับประสิทธิภาพของตัว SSD เพียงหนึ่งตัวจะทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เราเพิ่มขึ้นมามากเลยใช่มั้ยละครับแน่นอนว่าพอใครได้ทดลองใช้งาน SSD ไปแล้วจะไม่อยากกลับไปใช้งานกับเจ้า HDD ไปเลยนอกจากเอาไว้เก็บข้อมูลธรรมดาๆเท่านั้น แต่พอมันมีเทคโนโลยี่ใหม่ที่ต่อยอดมาจาก SSD นั้นก็คือการเชื่อมต่อผ่าน NVMe หรือเป็น SSD ยุคใหม่เชื่อมต่อผ่านช่องทาง M.2 เพราะว่ามีความแรงมากกว่าตัว SSD อยู่หลายเท่าเลยทีเดียว สำหรับวันนี้ทางผมก็ได้รับ SSD M.2 NVMe จากทาง Plextor ครับ โดยเป็นตัว Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe SSD 256GB เอาใจคนชอบความแรงแบบสุดๆ เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

สำหรับตัว Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe  นั้นจะมีทั้งหมด 4 ขนาดความจุด้วยกันครับ โดยจะเริ่มต้นที่ 128 GB ไปจนถึง 1024 GB หรือ 1 TB ครับ โดยความแรงนั้นจะเพิ่มตามความจุ โดยวันนี้ที่เราจะทำกการทดสอบจะเป็นขนาด 256 GB

สำหรับการเชื่อมต่อนั้นอย่างที่บอกไปครับว่าความแรงจะมากกว่าการเชื่อมต่อแบบ Sata ที่แรงสุดได้เพียง 550 MB/s และเขียน 520 MB/s แต่สำหรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่เป็นแบบ NVMe นั้นจะผ่านช่องทาง PCIe Gen3x4 NVMe ครับ โดยความเร็วในการอ่านนั้นอยู่ที่ 2450 MB/s และความเร็วในการเขียนสูงสุดที่ 1000 MB/s โดยสำหรับตัวคอลโทรเลอร์นี้จะใช้งานเป็นของทาง Mavell 88ss1093 ครับ

สำหรับตัวแพ็คเกจนั้นทาง PLEXTORเลือกใช้งานเป็นสีน้ำเงิน มีลวดลายเป็นเส้นเหมือนกับฮิตซิงค์ของ M.2 ครับ โดยตรงลวดลายนี้ทาง PLEXTOR ได้บอกว่าออกแบบตามหลักการของลมวิ่งผ่านหรือ Aero Dynamic ครับ ทางด้านหน้ากล่องนี้มีเขียนบอกรายละเอียดเอาไว้

สำหรับทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นจะมีเขียนรายละเอียดเอาไว้ทั้งหมด โดยจุดที่น่าสำคัญคือสเปคความเร็วในการอ่านเขียนครับ โดยตัวที่ผมได้รับมาจะเป็นความจุ 256 GB ความเร็วอ่านอยู่ที่ 2400 MB/s และเขียนที่ 1000 MB/s ด้วยกัน

แกะกล่องออกมาในกล่องจะมีน๊อต 1 ตัวเท่านั้นพร้อมกับ Plextor PX-256 M8SeG  โดยตัวฮิตซิงค์นี้จะมีเหล็กหรืออลูมิเนียมติดตั้งมาไว้เพื่อช่วยระบายความร้อนขณะเราใช้งานได้เป็นอย่างดีโดยตัว M.2 นั้นจะมีสีดำสนิทและตัดกับสีฟ้าพร้อมมีโลโก้ PLEXTOR สกรีนเอาไว้อยู่ครับ

สำหรับทางด้านหลังนั้นจะมองเห็นตัว PCB สีเขียวครับ มีป้ายลาเบลแปะติดตั้งเอาไว้โดยเราสามารถดูความจุของตัว SSD ได้บนฉลากนี้ครับ

สำหรับการเชื่อมต่อนั้นจะผ่านช่อง M.2 บนเมนบอร์ดโดยตัวเมนบอร์ดนั้นต้องรองรับ NVMe ด้วยนะครับถึงจะใช้งานได้ สำหรับถ้าโน๊ทบุคมีช่องว่างเพียงพอก็ติดตั้งได้เช่นกันครับ

Related articles

[Review] สอบ CRTA ใบเซอร์สาย Pentest ระดับเริ่มต้น ลดราคาจาก $99 เหลือ $9

เห็นว่ามีเพื่อน ๆ สนใจการสอบ CRTA หลายคนเลยนะครับ และไหน ๆ แอดก็สอบผ่านแล้วเดี๋ยวขอมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังสักหน่อย เผื่อใครอยากจะลองซื้อมาเรียนและเตรียมตัวสอบ...

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า