รีวิว Asus Zenbook 14X Oled Space Edition โน๊ตบุ๊ครุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 25 ปีของแล็ปท็อป ASUS เครื่องแรกที่ถูกส่งไปในอวกาศ

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition เป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นพิเศษเพื่อ Asus Zenbook 14X Oled Space Edition ตั้งแต่ปี 1998-2022 โดยถูกออกแบบและมีลวดลายพิเศษในธีมอวกาศบนฝาเครื่องและคีย์บอร์ดในรูปแบบภาษามอร์ส ฝาหลังติดตั้งหน้าจอแสดงผล ZenVision ขนาด 3.5 นิ้วแบบจอ OLED มาให้ ซึ่งดูนำสมัยดีครับ

หน้าจอหลักขนาด 14 นิ้ว แบบ OLED อัตราส่วนภาพ 16:10 ความละเอียด 4K และมาพร้อมกับชิปประมวลผล 12th Gen. Intel โดยซีรี่ย์นี้จะมาพร้อมกับ Intel Core i7-12700H และ Intel Core i9-12900H ให้เลือกใช้งาน ส่วนรุ่นที่ผมรีวิวคือรุ่น Asus Zenbook 14X Oled Space Edition UX5401ZAS-KU721WS ที่มากับ Intel Core i7-12700H มาพร้อมกับค่าตัวที่ 53,990.-

SPEC Asus Zenbook 14X Oled Space Edition UX5401ZAS-KU721WS

  • หน้าจอ OLED ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด 4K 3840 x 2400 พิกเซล 100% DCI-P3 อัตราส่วน 16:10
  • CPU : Intel® Core™ i7-12700H Processor
  • GPU : Intel® Iris Xe Graphics
  • RAM : 16GB LPDDR5 on board
  • Storage : 1TB M.2 NVMe™ PCIe® 4.0 SSD
  • WiFi 6E
  • Bluetooth 5.2
  • Windows 11 Home
  • Office Home and Student 2021
  • Web Camera 720p
  • 2x Thunderbolt 4
  • แบตเตอรี่ 63WHrs, 3S1P, 3-cell Li-ion พร้อมที่ชาร์จ 100W AC Adapter
  • ราคา 53,990.-

แกะกล่องเช็คของ

จริงๆตัวกล่องจะมาแบบกล่องใหญ่บึ้มมากและจะมีกล่องเล็กแบ่งแยกเป็นสัดส่วน รายละเอียดของลวดลายบนกล่องมาในธีมอวกาศ ผมแกะออกมาก็จะประมาณนี้ อุปกรณ์ภายในกล่องทั้งหมดจะดังนี้

  • ตัวเครื่อง Asus Zenbook 14X Oled Space Edition
  • สติกเกอร์มากับธีมอวกาศ
  • 100W AC Adapter
  • ปากกา ASUS Pen 2.0
  • กระเป๋าซอง
  • Adapter USB-RJ45 gigabit ethernet adapter

วัสดุและการออกแบบดีไซน์

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition ตัวเครื่องได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์การเดินทางในอวกาศปี 1998 วัสดุเป็นโลหะเคลือบผิววัสดุด้วยสี Zero-G Titanium ชนิดพิเศษ จะขึ้นลวดลายแบบอักษรเหมือนภาษามอร์สทั้งฝาหลังและแผงด้านใน

ตรงส่วนฝาหลังจะมีหน้าจอ OLED ขนาด 3.5 นิ้ว มาให้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้

หน้าจอ OLED ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด 4K 3840 x 2400 พิกเซล ความสว่างสูงสุด 550nits ขอบเขตสี 100% DCI-P3 ความแม่นยำของสี PANTONE Validated สีสันสดใสและการรับรอง DisplayHDR True Black 500 พร้อมโหมดถนอมสายตามาให้รับรองจาก TÜV สำหรับการปล่อยแสงสีฟ้าต่ำ อัตราส่วนของหน้าจอที่ 16:10

หน้าจอรองรับการทัชสกรีนและรองรับการขีดเขียนผ่านปากกา ASUS PEN2.0

ด้านหลังจะมีช่องระบายความร้อนมาให้ภายในจะติดตั้งพัดลมระบายความร้อนมาให้ 2 ตัว และมีลำโพงซ้าย-ขวาอยู่แถวใต้เครื่อง ลำโพงปรับแต่งเสียงผ่าน Harman Kardon และมีแอมพลิฟายเออร์ช่วยเพิ่มขับเสียงพร้อมระบบเสียง Dolby Atmos มิติเสียงถือว่าดีมากๆเมื่อวางใช้งาน

ขนาดตัวเครื่องมีความบางและเบา ขนาดเครื่อง 31.12 x 22.11 x 1.59 ~ 1.59 ซม. น้ำหนัก 1.4 กิโลกรัม ตัวเครื่องมีความแข็งแรงทนทานผ่านมาตราฐาน US MIL-STD 810H military-grade standard

คีบอร์ดและทัชแพด

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition มากับคีบอร์ดแบบ Backlit Chiclet Keyboard พร้อมไฟแสงสีขาว ปุ่มขนาดใหญ่และระยะห่างของปุ่มที่ไม่ชิดกันมากเกินไปลดการพิมพ์พลาด ระยะยุบตัวที่ 1.4 มม. ในส่วนของทัชแพดจะใช้เป็น NumberPad 2.0 ได้เช่นกัน

ตรงปุ่ม POWER จะติดตั้งเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือมาให้

พอร์ตการเชื่อมต่อ

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition ติดตั้งพอร์ตมาให้ถือว่าครบครันมากๆ อันดับแรกที่ประทับใจคือ  Thunderbolt 4 มาให้ทั้งหมด 2 พอร์ต / HDMI 2.0b

ฝั่งขวาจะมี USB 3.2 มาให้หนึ่งช่อง และ Combo Audio Jack 3.5 มม. พร้อมกับช่องอ่าน Micro SD card reader

ประสิทธิภาพการทำงาน

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition รุ่นที่ผมรีวิวมาพร้อมกับชิปประมวลผลเจนใหม่ล่าสุดและใช้เป็น H ซีรี่ย์ตัวแรง

ตัวเครื่องติดตั้งโปรเซสเซอร์ใหม่ล่าสุด Intel Core i7-12700H แบบ 6P+8E Core / 20 Threads ความเร็วสูงสุด 4.70 GHz / กราฟฟิกการ์ด Intel Iris Xe Graphics

หน่วยความจำ

  • RAM : 16GB LPDDR5 on board
  • Storage : 1TB M.2 NVMe™ PCIe® 4.0 SSD

ทดสอบประสิทธิภาพตัวเครื่องผ่านโปรแกรมต่างๆ

ตัวเครื่องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 Home และ Microsoft Office Home&Student 2021 แท้มาให้พร้อมใช้งาน และยังมีโปรแกรม MyASUS สำหรับการตั้งค่าการใช้งานของตัวเครื่อง สามารถปรับตั้งค่าได้ละเอียดมากเลยทีเดียว

แบตเตอรี่

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition ติดตั้งแบตเตอรี่ 63WHrs, 3-cell Li-ion  พร้อมในกล่องแถมที่ชาร์จ 100W AC Adapter มาให้ จากที่ทดลองใช้งานมาระยะการใช้งานจริงอยู่ได้ราวๆ 8 ชั่วโมงสบายๆครับต่อการชาร์จหนึ่งรอบ

***สำหรับ ASUS Zenbook ทุกรุ่นในตอนนี้ มาพร้อมการรับประกัน ASUS Exclusive Care ครอบคลุมการบริการซ่อมถึงที่ (on-site service) 3 ปีประกันระหว่างประเทศ 57 ประเทศทั่วโลก และประกันอุบัติเหตุ (Perfect Warranty) 1 ปีเต็ม

สรุป

Asus Zenbook 14X Oled Space Edition มีความพิเศษเพราะเป็นรุ่นพิเศษฉลองครบรอบ 25 ปีของแล็ปท็อป ASUS เครื่องแรกที่ถูกส่งไปในอวกาศ ไม่ว่าจะการออกแบบลวดลายตัวเครื่องรวมไปถึงวัสดุที่นำมาใช้งาน ผิวสัมผัสดีมากๆ หน้าจอความละเอียดสูงและมีความแม่นยำของค่าสีสูง สเปคตัวเริ่มต้นที่ให้มาถือว่าพอเพียงสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้วครับ หรือถ้าอยากได้สเปคที่สูงขึ้นจะมีตัว Intel Core i9-12900H อีกรุ่นให้เลือกใช้งาน

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า