ส่องนิสัยการทำความสะอาดของคนไทย จากวิจัยของ Dyson คนไทยเกินครึ่งละเลยจุดเก็บฝุ่นในบ้าน

นักจุลชีววิทยาจาก Dyson เผยผลการสำรวจพบว่าถึงแม้จะผ่านช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่คนเกือบครึ่งยังทำความสะอาดบ้านเฉพาะตอนที่พบเห็นฝุ่นเท่านั้น โดยละเลยแบคทีเรียหรือฝุ่นที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พร้อมย้ำถึงความสำคัญของการทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ  

กรุงเทพฯ, 18 พฤษภาคม 2565 – Dyson เผยผลการสำรวจและวิจัย Global Dust Study ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ที่สำรวจเกี่ยวกับนิสัยการทำความสะอาดและความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นในครัวเรือน รวมถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในบ้าน

Dyson ได้สำรวจเจ้าของบ้านกว่า 3 หมื่นคนจาก 33 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ผลการสำรวจได้เผยว่าคนไทยมีนิสัยการทำความสะอาดเหมือนปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการให้บ้านสะอาดอยู่เสมอซึ่งเป็นผลพวงมาจากการระบาดของโรค COVID-19 ที่ทำให้หลายครัวเรือนหันมาสนใจเรื่องการทำความสะอาดบ้านมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลสำรวจพบว่าเจ้าของบ้านจำนวน 40% จะทำความสะอาดบ้านก็ต่อเมื่อพบฝุ่นที่มองเห็นได้เท่านั้น ตรงกับผลสำรวจในประเทศไทยที่พบว่าคนไทย 46% จะทำความสะอาดบ้านก็ต่อเมื่อพบฝุ่นที่มองเห็นได้

โดย Monika Stuczen นักจุลชีววิทยาที่ Dyson กล่าวว่า “นับว่าเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงที่ผู้คนจะทำความสะอาดบ้านก็ต่อเมื่อพบฝุ่นเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วยังมีฝุ่นที่มีขนาดเล็กที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเห็นฝุ่นในบ้านนั่นหมายความว่า มีความเป็นไปได้สูงที่บ้านของคุณจะมีตัวไรฝุ่นเต็มไปหมดแล้ว” 

จุดไหนในบ้านที่พลาดไป? ทำความสะอาดยังไงให้สะอาดจริง?

จากการเปรียบเทียบผลสำรวจแบบปีต่อปี เราจะเห็นถึงการพัฒนาด้านนิสัยการทำความสะอาดจากการที่มีคนจำนวนมากขึ้นที่ดูดฝุ่นบริเวณที่มักถูกละเลย อย่างฟูกรองนอนหรือโซฟา อย่างไรก็ตามยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังหลงลืมจุดเก็บฝุ่นที่สำคัญเหล่านี้ โดยการสำรวจพบว่า 53% ไม่ดูดฝุ่นบริเวณฟูกนอน ในขณะที่คนจำนวน 55% ไม่ได้ดูดฝุ่นบริเวณโซฟา

นอกจากปัญหาเรื่องฝุ่นในบ้านแล้ว จากสถานการณ์โรคระบาดยังทำให้มีอีกหนึ่งปัญหาเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือฝุ่นจากสัตว์เลี้ยงเนื่องจากการกักตัวอยู่ที่บ้านทำให้คนเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า 57% ของบ้านทั่วโลกมีสัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1 ตัว โดยในประเทศไทยพบว่า 72% ของครัวเรือนมีสัตว์เลี้ยงซึ่งนับว่าเป็นประเทศลำดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนั้นยังพบว่าคนไทย 2 ใน 5 ให้สัตว์เลี้ยงนอนร่วมเตียงเดียวกัน แต่ในทางกลับกันจำนวนเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ตระหนักถึงปัญหาเรื่องฝุ่นจากสัตว์เลี้ยงกลับมีน้อยในระดับน่าเป็นห่วง

  • 4 ใน 5 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าฝุ่นละอองสามารถถูกสะสมไว้บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 7 ใน 10 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าตัวไรฝุ่นสามารถอาศัยอยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 3 ใน 5 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงได้
  • 1 ใน 2 ของเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ทราบว่าแบคทีเรียและสะเก็ดผิวหนังสามารถถูกสะสมบนตัวสัตว์เลี้ยงได้

“คนส่วนมากคิดว่าปัญหาจากสัตว์เลี้ยงเกิดจากขนเพราะเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคนไม่ได้ตระหนักถึงฝุ่นหรือละอองอื่นๆ ที่สะสมอยู่บนตัวของสัตว์เลี้ยงเพราะว่าขนาดที่เล็กในระดับที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้”

โดยส่วนมาก คนทั่วไปจะคิดว่าอาการแพ้เกิดจากขนสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตามอาการแพ้สามารถเกิดได้จากฝุ่นละอองที่เกิดจากสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยง  เกือบครึ่งของเจ้าของสัตว์จะทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ 3 ใน 5 ทำความสะอาดโดยใช้แปรงหรือหวีเท่านั้น ซึ่งการหวีหรือแปรงทำได้เพียงลดขนที่หลุดร่วงของสัตว์เลี้ยง แต่ไม่สามารถกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กบนตัวได้ ทำให้เจ้าสัตว์เลี้ยงยังสามารถพาฝุ่นละอองไปยังบริเวณต่างๆ รอบบ้านได้

จากการวิจัยอย่างเข้มข้นที่ Dyson พบว่าการจัดการกับฝุ่นในบ้านที่ดีที่สุดคือการนำมันออกไปจากบ้าน และจากโครงการ Dyson Global Dust Study เผยว่าผู้คนคิดว่าเครื่องดูดฝุ่นเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการกำจัดฝุ่น แต่จากการสำรวจกลับพบว่าคนไทยใช้ไม้กวาดกับไม้ถูมาเป็นอันดับต้นๆ ที่ 68% ในขณะที่ใช้เครื่องดูดฝุ่นอยู่ที่ 47% เท่านั้น

การถูด้วยผ้าเปียกเป็นเรื่องที่ปกติ แต่ลำดับในการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การจบด้วยพื้นที่เปียกยิ่งทำให้ฝุ่นที่มองเห็นได้ยากขึ้นไปอีก นอกจากนั้นการทำพื้นให้ชื้นยังหมายถึงการสร้างสภาวะที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของตัวไรฝุ่นและเชื้อราด้วย เพราะฉะนั้นการทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพคือการดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่นให้ฝุ่นหมดก่อน จากนั้นจึงจะถูด้วยผ้า อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการเลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีเทคโนโลยีในการกักเก็บฝุ่นไม่ให้ฝุ่นหลุดรอดกลับออกมาภายในบ้าน

นี่คือเหตุผลที่ Dyson ใช้เวลากว่า 20 ปีในการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับฝุ่น เพื่อที่จะเข้าใจความซับซ้อนของฝุ่นในบ้านจริงๆ เพื่อที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของเราให้สามารถแก้ไขปัญหาที่พบในสถานการณ์จริง โดยทีมวิศวกรของเราใช้เวลาในการพัฒนาตัวกรองและระบบกันรั่วเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องดูดฝุ่นสามารถดูดได้ทั้งฝุ่นที่มองเห็นและที่มองไม่เห็น รวมถึงมั่นใจได้ว่าฝุ่นที่ดูดได้จะอยู่ในที่เก็บและไม่รั่วกลับไปยังบ้านของคุณ ทำให้บ้านสะอาดและปราศจากฝุ่นโดยแท้จริง

Monica ได้กล่าวปิดท้ายด้วยว่า “เราหวังว่าการวิจัยในครั้งนี้จะทำให้คุณพิจารณาเรื่องฝุ่นในบ้าน ว่าถึงแม้คุณจะไม่สามารถมองเห็นมันได้ไม่ได้แปลว่ามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่ฝุ่นอย่างสะเก็ดผิวหนังจากสัตว์เลี้ยงหรือตัวไรฝุ่นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เทียบเท่าหรือมากกว่าฝุ่นที่มองเห็นได้”

สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องดูดฝุ่นของ Dyson ได้ที่เว็บไซต์ หรือ Facebook Page Dyson

###

Related articles

[Review] สอบ CRTA ใบเซอร์สาย Pentest ระดับเริ่มต้น ลดราคาจาก $99 เหลือ $9

เห็นว่ามีเพื่อน ๆ สนใจการสอบ CRTA หลายคนเลยนะครับ และไหน ๆ แอดก็สอบผ่านแล้วเดี๋ยวขอมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังสักหน่อย เผื่อใครอยากจะลองซื้อมาเรียนและเตรียมตัวสอบ...

Write-Up (Reverse Engineering) : กิจกรรม SWU CTF แข่งขันชิงธงจาก มศว. สำหรับน้อง ๆ สาย Cybersecurity

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยอ่านเรื่องราวของผมมาบ้าง น่าจะพอทราบกันดีว่าปกติผมสอบใบเซอร์อย่างเดียว ไม่ได้เคยลองทำงานหรือลงแข่งในสนามจริงของ Cybersecurity มากนัก โดยเฉพาะฝั่ง Red...

แนะนำ 5 ดิสโทร Linux สำหรับมือใหม่โยกย้ายจาก Windows

เมื่อ Windows 10 กำลังจะหยุดการสนับสนุนในปี 2025 เรามีทางเลือกหลายทางเลือก (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากไปต่อกับ Windows...

5 ทางเลือกของคุณ เมื่อ Windows 10 หยุดซัพพอร์ต

14 ตุลาคมนี้ Microsoft จะยุติการซัพพอร์ต Windows 10 อย่างเป็นทางการนะครับ อาจมีเพื่อน ๆ...

วิเคราะห์ลิงก์ปลอม แจก Steam Gift ขโมย Username/Password ผู้ใช้ !!

นั่งคอมอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็มีแชตเด้งจากใน Steam ขึ้นมา เป็นลิงก์แจก Steam...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า